วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553
การสร้างรายได้ของประเทศ--"ซื้อ PTT วันนี้อีก 10 ปีรวยเละ"
เปรียบเทียบ GDP ประเทศไทย ตอนนี้ 508 billions(อันดับ 23 ของโลก) เงินสำรอง 143 billions(อันดับ 12 ของโลก)นั่นแสดงถึงโอกาสในประเทศไทยที่ได้จากการส่งออก และการลงทุน ซึ่ง จุดนี้ส่งผลโดยตรงต่อการเติบโตของประเทศ
--(จากตาราง)จะเห็นได้ว่าปัจจุบัน GDP ของจีน แซงญี่ปุ่น ขึ้นมาเป็น อันดับ 2 ของโลกแล้ว (แต่GDP ต่อหัว)ของจีนยังน้อยกว่าไทย(7900 /4900) แต่ถ้ามองในส่วนของอินเดียต่อหัวแค่ 2500 ซึ่งเท่ากับเวียดนาม ..แสดงว่าจีน ยังคงเป็นผู้ช่วยในการผยุงเศรษฐกิจทั้งเอเชีย
จากตัวเลข ผมมองว่าโอกาสที่เราจะเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ได้หลายประเด็น ตั้งแต่ที่ตั้ง และก็ ความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งเราก้าวไปไกลกว่าเพื่อนบ้านมาก -- ผมมองว่าถ้าเรา set up -- "Sovereign Wealth Fund"(แบ่งจากทุนสำรองมาบริหาร) โอกาสที่เราจะเป็นที่หนึ่งใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้-เป็นไปได้สูง -- ดูรวมๆศักยภาพเราอยู่ต้นๆของเอเชีย แต่กลายเป็นว่า "ตลาดหุ้น"เรากลับรั้งท้าย ไม่ไปไหน
ถ้าเรามองว่า ตลาดหุ้นมัก สะท้อนเศรษฐกิจที่แท้จริงแล้วล่ะก็ -- ผมขอฟันธงเลยว่า "หากการเมืองภายในสงบ" ตลาดหุ้นเราจะพุ่งขึ้นแบบฉุดไม่อยู่ ซึ่งโอกาสที่จะเห็น SET 1500 ไม่ใช่เรื่องยาก (จากนั้น จะเกิด การเข้ามาระดมทุนอย่างต่อเนื่องในตลาด )--ซึ่งแน่นอน ธุรกิจนำตลาดอย่าง PTT ต้องวิ่งนำตลาดอย่างแน่นอน --"ซื้อ PTT วันนี้อีก 10 ปีรวยเละ"
อ้างอิง : Rank ตำแหน่ง Country ประเทศ GDP (purchasing power parity) (Billion $)
1 United States ประเทศสหรัฐอเมริกา 13,820
2 China จีน 6,473
3 Japan ประเทศญี่ปุ่น 4,262
4 India ประเทศอินเดีย 2,816
5 Germany ประเทศเยอรมัน 2,816
6 United Kingdom สหราชอาณาจักร 2,154
7 France ประเทศฝรั่งเศส 2,074
8 Russia Russia 1,985
9 Italy อิตาลี 1,814
10 Brazil ประเทศบราซิล 1,794
11 Mexico ประเทศเม็กซิโก 1,494
12 Spain สเปน 1,337
13 Canada ประเทศแคนาดา 1,263
14 Korea, South เกาหลีใต้ 1,243
15 Turkey ไก่งวง 853.6
16 Indonesia ประเทศอินโดนีเซีย 810.9
17 Australia ออสเตรเลีย 752.2
18 Iran ประเทศอิหร่าน 733
19 Taiwan ไต้หวัน 672.9
20 Netherlands ประเทศเนเธอร์แลนด์ 635.9
21 Poland ประเทศโปแลนด์ 596.7
22 Saudi Arabia ประเทศซาอุดีอาระเบีย 535.1
23 Thailand ประเทศไทย 508.6
ส่วน GDP - per capita
Singapore 48,500 /United States 46,300 /Hong Kong 40,500 /United Kingdom 35,500
/France 32,800 /Taiwan 29,500 /Korea, South 25,800/Malaysia 14,200 /Mexico 13,900
/Brazil 9,400/Thailand 7,900/China 4,900 /Indonesia 3,500 /Philippines 3,100
/India 2,500 /Vietnam 2,500
"foreign exchange reserves ของไทยมีมากกว่า อเมริกาอีก"
อเมริกามี "foreign exchange reserves"แค่ 83 billions ในขณะที่ไทยมี 143 billions --หลายคนคง (งง) ว่าเป็นไปได้ไง ..ช่วงในหลายๆปีมานี้ ประเทศในเอเชีย มีการค้าเกินดุล มาตลอด ผนวกกับการลงทุนเข้ามาในเอเชียอย่างมากมายโดยเฉพาะ จีนและอินเดีย ส่งผลให้ เงินสำรองระหว่างประเทศของเอเชีย เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
(ดูจาก อันดับ ที่1ของโลกคือ จีน ,ญี่ปุ่น, รัสเซีย.. ไทยอยู่ในอันดับที่ 12 ของโลก (น่าทึ่งจริงๆ)
1 People's Republic of China 2,399,000 Dec 2009[1]
2 Japan 1,074,000 Nov 2009[2]
3 Russia 447,776 Nov 2009[4]
4 Republic of China (Taiwan) 352,729 Feb 2010[5]
5 India 279,708 Mar 2010[6]
6 South Korea 270,660 Feb 2010[7]
7 Hong Kong 256,300 Nov 2009[8]
8 Brazil 244,159 Mar 2010[9]
9 Singapore 189,618 Jan 2010[10]
10 Germany 189,484 Nov 2009[3]
11 Algeria 145,363 Apr 2009
12 Thailand 143,000 Jan 2010[11]
ซึ่งถ้าดูจาก foreign exchange reserves มันบ่งชี้ถึงการค้าขายของประเทศที่เกินดุล ซึ่งจุดนี้ชี้ให้เห็นได้ว่า ไทย ค่อนข้างจะมีอนาคตที่สดใส ..จะเห็นได้ว่าเราโตจริงๆ ไม่ใช่โตจากการเกร็งกำไร เหมือน "Asian Miracle"ครั้งก่อน
--- จากต้นปีที่ผ่านมาเงินไหลเข้า เอเชีย อย่างต่อเนื่อง เพราะนักลงทุนทั่วโลกคาดว่า เอเชียจะฟื้นตัวได้เร็วที่สุด ตามมาด้วยอเมริกา และยุโรป ส่วนญี่ปุ่น น่าจะรั้งท้าย... ซึ่งข้อมูลนี้สอดคล้องกับ ตัวเลขเงินทุนที่ไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง จนทำให้"เงินบาท" แข็งปั๋ง
--ช่วงนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย ก็เริ่มเข้าทำการแทรกแซงค่าเงินโดยการซื้อ เงินตราต่างประเทศ (จุดนี้ ยิ่งมองยิ่งไม่ make sense เพราะการที่เราจะพยุงค่าเงิน คือ เราต้องซื้อเงินต่างประเทศ ซึ่งแนวโน้มคือ เงินต่างประเทศจะอ่อนค่าลง เท่ากับว่า การพยุงค่าเงิน ทำให้ขาดทุนมหาศาล
-- ผมอ่านความเห็นนักวิชาการ ที่แนะให้ แบงค์ชาติ ซื้อ Bond ที่ออกโดย รัฐ ที่ออกเป็นเงินตราต่างประเทศ แล้วมัน make sense ไหมเนื่ย..-- ผมว่า ให้รัฐลดต้นทุนการส่งออกให้ผู้ประกอบการดีกว่า แทนที่จะแทรกแซงค่าเงิน ไป"ยกเว้นภาษี" ,ให้โควต้าต่างๆ คือ สรุปแทนที่จะเอา Reserve ไปละลายแม่น้ำ เอามาเสริมความแกร่งให้ผู้ประกอบการเราดีกว่า
ผมว่า Singapore หรือ พวกแขก หรือ แม้แต่จีนก็เริ่มทำแล้ว(Sovereign Wealth Fund) คือ แทนที่จะเอา Reserve มาซื้อแต่ พันธบัตรอเมริกา ซึ่งให้ผลตอบแทนแย่(ห่วยสุดๆ) ..ก็แบ่งเอาไปซื้อ สินทรัพย์ ซื้อบริษัท ในอเมริกาเลย เพราะจะได้กำไรมากกว่า
(ตอนนี้แบงค์ชาติ บริหาร Reserve ขาดทุนทุกปี ซึ่งถ้ามองให้ดี เงิน Reserve มหาศาลขนาดนี้น่าจะสร้างประโยชน์ให้เราอย่างมากมาย --โดยเฉพาะ การเอาไปซื้อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ ในจังหวะที่ความไม่แน่นอนสูง เยื่ยงนี้
-- ถ้าให้ Value Investor บริหารผมว่า ทำสักพัก Wealth Fund เราน่าจะใหญ่กว่า Singapore ซะอีก เมื่อเวลานั้นมาถึง ก็ควรไปซื้อ ADVANC กลับมา เพราะมือถือ ควรเป็นของ "คนไทย" (อย่างประเทศจีน เขาถือว่า Telecom เป็นความมั่นคงของประเทศ ซึ่งเขาไม่ยอมให้ต่างชาติเข้ามายุ่งเลย)....
(note: อย่างไรก็ตามไม่ว่า ชาติไหนจะมี Reserved มากเท่าใดก็ตาม ตัวเงินจะต้องเปลี่ยนเป็นสกุลเงิน ดังนั้น อเมริกา กับ Euro ก็ยังคงได้ประโยชน์ จากการเป็นเงิน Reserved ของโลกอยู่ดี ..ขนาดจีนที่มี Reserved เยอะ ส่วนใหญ่ก็ยังอยู่ในรูปของ Dollar อยู่ดี)
วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553
"จีน" กับ "อินเดีย" โตแบบไหนดีกว่ากัน
ถ้าเทียบ 2 ประเทศนี้ ผมชอบจีน มากกว่า เพราะจีน ถึง แม้จะมีความแตกต่างระหว่าง "คนรวย"กับ "คนจน"มาก แต่ก็ไม่มากเท่าอินเดีย เพราะจีน เนื่องจากประเทศคุมโดยรัฐบาล คอมมิวนิสต์ ดังนั้น การใช้รัฐบาลเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อ กลุ่มผู้มีอำนาจ จึงไม่มากนัก ซึ่งต่างจาก อินเดียที่ คนรวยยิ่งรวย เพราะการ คอรับชั่น ทำได้ง่าย
--ส่งผลให้เกิดสองมาตรฐานแบบสังคมไทย แต่อินเดียนี่แย่ กว่า เพราะนอกจากความรวยที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้ว ยังมี ชนชั้นวรรณะที่แบ่งกันสุดขั้วอีกด้วย
ถ้ามองการพัฒนาที่แท้จริง ผมมองว่า ตัวเงินหรือความรวย มันเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ (ลองนึกภาพคุณมี หมื่นล้าน แต่อยู่ในชนบท --จะ Shopping ก็ไม่มี ถนนก็เป็นดิน คุณจะไปซื้อ Ferrari มาก็ไม่มีถนนวิ่ง รอบข้างคุณมีแต่สลัม ไฟฟ้าก็ไม่ค่อยดี
--ผมถามหน่อย ไอ้หมื่นล้านคุณ --จะไปใช้อะไร.."นี่แหละสภาพที่แท้จริงของคนอินเดียที่รวย คือ ไม่มีที่ใช้ ต้องย้ายทุนออกนอกไปลงทุนต่างประเทศ เพราะในประเทศมีข้อจำกัดมากมายในทุกเรื่อง") ต่างกับจีน ที่เอาความมั่งคั่งมาสร้างเป็น infrastructure เป็นถนน ประปา ไฟฟ้า การขนส่ง สนามบิน รถไฟ คือ สร้างสิ่งที่จับต้องได้
--ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ความรวยของจีน เป็นอะไรที่"จับต้องได้" ส่วนความรวยของอินเดีย "เหมือนรวยกระดาษ" -- ซึ่งถ้าถามว่า เลือกอะไร ผมว่า แบบจีน ดีกว่ามาก เพราะเอาเงินไปสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ถึงมีปัญหา ก็ยังมี สิ่งที่สร้าง เช่น ถนน และสาธารณูปโภค หลงเหลืออยู่ แต่ถ้ามีปัญหาอะไรเกิด อินเดีย จะเหลือแต่ความว่างเปล่า
ตรงนี้ผมว่า เป็นจุดที่เตือนสติ เพราะหากเรารวย ในขณะที่ประเทศจน "มันก็ไร้ค่า".........
ทำไมบางคนเป็นถึง CEO แต่ส่วนใหญ่(ไปไม่ถึงไหน..)
ผมว่า ประเด็นนี้มันอยู่ที่ "ความเสี่ยง" เช่นเคย -- การที่เรามองว่า หลายคน ก้าวไปถึงขั้น CEO ในบริษัทใหญ่ๆทั้งที่เขาเหล่านั้น "อาจไม่ค่อยเก่งเท่าไหร่" จริงๆแล้ว ผมว่า "ความเสี่ยง" มีส่วนเข้ามากำหนดบทบาทและทางเดินของชีวิตคนเราค่อนข้างมาก
อย่างเช่น คนที่ใหญ่ๆในองค์กร ทั้งที่ไม่ค่อยเก่ง ก็เป็นไปได้ เพราะถ้าสมมุติ (คุณไปทำงานในองค์กรเล็กๆ ที่กลายเป็นองค์กรใหญ่ การที่คุณเข้าไปเป็นพนักงานเบอร์ต้นๆของบริษัท ก็ย่อมดันให้คุณก้าวไปเป็นผู้บริหารได้(ถ้าคุณไม่โง่ จนเข็นไม่ขึ้นนัก)
-- ถ้าสังเกตุจะเห็นได้ว่า "คนที่ทำงานในองค์กรเล็กๆที่ขยายไปใหญ่ ก็คือ การเริ่มทำงานในองค์กรเล็กๆ -- สมมุติว่า "คุณ"กับ"เพื่อน" จบมหาลัยเดียวกัน "คุณเก่งกว่า" ได้เกรดดี ส่วน"เพื่อน"จบแค่พอผ่าน
--ในช่วงแรกคุณมีโอกาสเลือกที่จะ ทำงานในองค์กรใหญ่ๆ หรือ องค์กรขนาดเล็ก ในขณะที่ เพื่อนคุณ(ที่คะแนนไม่ดี) ต้องจำใจทำงานบริษัทเล็ก
--ครั้นเมื่อเวลาผ่านไป องค์กรใหญ่ๆ ก็ยังใหญ่เหมือนเดิม แต่คุณก็ค่อยๆไต่เต้า ไปอย่างช้าเหมือน"เต่าคลาน" เพราะคนเยอะการแข่งขันก็สูง
--ต่างกับเพื่อนของคุณ ที่ทำในองค์กรเล็ก แต่พอธุรกิจเริ่มขยาย เขาก็ใหญ่ตามธุรกิจ จนในที่สุด เพื่อน(ที่ไม่เก่ง) ของคุณ กลายเป็น ผู้บริหารใหญ่โตในองค์กรขนาดใหญ่ (เพราะธุรกิจเล็กๆที่คุณเคยมองข้าม ได้เติบโตอย่างก้าวกระโดดกลายเป็นบริษัทใหญ่ในที่สุด) ส่วนคุณ ก็ยังเป็นพนักงาน "กระจอก" ในบริษัทใหญ่ที่คุณเลือก ตามเดิม
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า "คนฉลาด มักตกเป็นเหยื่อของคนโง่" --(อ้าว! ไหง..เป็นงั้นไป )---เพราะทั้งที่คุณมีโอกาสเลือกได้ก่อนแต่คุณกลับเลือกทางเดินที่ไม่ไปไหน
---กลับมาที่ประเด็น(ความเสี่ยง) จริงๆแล้วต้องมองว่า สังคมส่วนใหญ่เดินไปทางไหน ให้เราเลือกเดินอีกทาง เพราะเหตุที่ "คนส่วนใหญ่ ไม่ประสบความสำเร็จ" ดังนั้น หากคุณอยากประสบความสำเร็จ ..คุณจะต้องเลือกเดินอีกทางนึง (ซึ่งแน่นอนมันเป็นทางที่มืดและขรุขระ แต่มันกลับเป็นทางผ่านที่นำคุณไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งยวด)
--ดังนั้น บางครั้งการเรียนดีเรียนสูงมากๆ กลับกลายเป็นตัว "สกัดความก้าวหน้า" ของคุณได้ เพราะการ"การเรียนดีเรียนสูงมากๆ"จะทำให้คุณ ปิดกลั้นความล้มเหลว และนั่นก็ คือ การปิดกั้น"โอกาส"ที่จะเข้ามาในชีวิตคุณด้วย
ดังนั้น ไม่แปลกเลย ที่(หลายคน)อาจสงสัยว่า ไอ้เพื่อน"คนนี้" ตอนเรียน "ไม่เอาไหนเลย" ทำไมตอนนี้กลับเป็นใหญ่เป็นโต --ส่วนฉัน"ยังอยู่ตรงนี้ กับแก-- ((ไอ้สามี(ภรรยา)!!!บ้า.. "คู่ชีวิตคุณ"ถึงกับ(งง)--มาลงอะไรกับ"ตู"))
-- เอาเป็นว่า นี่แหละครับ ระบบ "ทุนนิยม" หากคุณเลือกความแน่นอน คุณก็จะ"จนแน่นอน" แต่ถ้าคุณ กล้าที่จะเดินต่าง "กล้าเสี่ยง" โอกาสย่อมมีให้คุณ ได้ไขว่คว้าเสมอ.....
อย่างนี้แหละครับ ไม่มีใครได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ คือ ถ้าใคร(ทะนง)อยากยิ่งใหญ่ โชคชะตาก็จะเหยียบคุณจมดิน แต่ถ้าใครอยากเล็ก "ชะตา" กลับดัน ให้มันไปอยู่ในจุดยิ่งใหญ่ที่"ไม่มีความสุข" คือ ไม่ว่า"ใครก็ไม่สุขทั้งนั้น" มันอยู่ที่ว่าคุณ จะเลือกทุกข์แบบ(พนักงานกระจอก)เล็ก หรือ ทุกข์แบบ CEO (โตแต่เครียด) ..ก็ตามใจ.....
เติบโตแบบ "ซามูไร" (แนว"แก่รวยกระจุกตัว")
ผมพยายามศึกษาการพัฒนาประเทศของญี่ปุ่น ซึ่งพบว่า เป็นรูปแบบที่แปลกและน่าสนใจ --ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาก้าวไกลมา ส่งผลให้รายได้ต่อหัวของประชากรอยู่ในระดับสูง แต่มันสูงพร้อมๆ กับจำนวนคนที่"ฆ่าตัวตาย" ..จุดนี้มันชี้ให้เห็นถึงความกดดันของสังคมต่อคนในประเทศ ซึ่งมีนัยว่า "รวยขึ้น แต่เครียดขึ้น
--จุดนี้บ่งชี้ถึงความมั่งคั่งของญี่ปุ่นที่ ไม่ได้ทำให้คนมีความสุขขึ้น" --ถ้าดูในส่วนของตลาดหุ้นของญี่ปุ่น Peak เมื่อ 20 ปีที่แล้ว จากนั้นตลาดหุ้นก็ไม่เคยกลับไปที่จุดสูงสุดเลย หลายคนให้ข้อสังเกตว่า ญี่ปุ่นเป็นสังคมที่ลึกลับ ทุกอย่างไม่มีการเปิดเผย ส่งผลให้ปัญหาที่เกิดไม่เคยได้รับการแก้ไข ..จุดเริ่มจาก Real Estate พัง(ซึ่งคล้ายกับ Subprime ในอเมริกา ขณะนี้ --แต่ที่ต่างคือ การเข้ามาแก้ปัญหา ไม่เหมือนอย่างอเมริกาที่รัฐบาลเข้ามาประคองอย่างรวดเร็ว)
จากวิกฤต เป็นต้นมา เงินของญี่ปุ่นก็ไหลออก ไปลงทุนในต่างประเทศ เพราะค่าเงินแข็งขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับ อัตราดอกเบี้ยเป็น 0 เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน (ซึ่งสอดคล้องกับแรงกดดันให้เงินไหลออก) -- เนื่องจากความกดดันในด้านต่างๆ ทำให้การขยายตัวของประชากรลดลงอย่างมาก ปัจจุบัน สังคมญี่ปุ่น มีแต่คนแก่"และจะแก่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ" ..จุดนี้ผนวกกับค่าเงินแข็ง ทำให้ไม่มีต่างชาติเข้าไปลงทุน (ต่างกับจีนที่ ค่าเงินต่ำกว่าความจริง คนจึงอยากไปลงทุน เพราะมีแนวโน้มจะได้ทั้งกำไรค่าเงินที่น่าจะสูงขึ้นในอนาคต กับกำไรธุรกิจ"สองเด้ง") กลับกัน ค่าเงิน"เยน"ที่สูงจน หลายคนกลัวว่า มันจะตกลงในอนาคต ซึ่งสวนทางกับจีน
ปัญหาอีกอย่างคือ คนรวยยิ่งรวย เพราะคนที่ได้ประโยชน์จากค่าเงินที่แข็งคือ บริษัทขนาดใหญ่ในญี่ปุ่น ที่สามารถไปลงทุนในต่างประเทศได้ง่าย เพราะค่าเงิน"เยน"ที่สูง จึงทำให้การลงทุนในต่างประเทศเป็นสิ่งที่ดึงดูด (อย่างในไทยญี่ปุ่น เข้ามาลงทุนเป็นอันดับ 1 ส่วนแรกก็ต้องการโควต้าส่งออกของแต่ละประเทศนั่นเอง อีกทั้งการเคลื่อนย้ายฐานการผลิตเพื่อลดต้นทุน)
-- ถ้าดูโดยรวย อุตสาหกรรมญี่ปุ่นได้เข้ามาฝังรากลึก ทั่วทั้ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้น มองได้ว่า คนที่รวยในญี่ปุ่นก็ยิ่งรวย แต่คนในประเทศก็ยิ่งแย่ เพราะการบริโภคหดตัว งานต่างๆก็มักถูกสร้างในต่างประเทศ ส่งผลกับPosition ต่างๆในประเทศลดลง
ความเหลื่อมล้ำ ทางรายได้ แม้จะยังไม่ชัดเจนแต่ในอนาคตเมื่อ Baby Boomer เข้าสู่เกษียณมากขึ้น ความแตกต่างรายได้ของคนญี่ปุ่นก็จะทวีความรุนแรงขึ้น สาเหตุมาจาก คนรวยที่เป็นเจ้าของกิจการเมื่อเกษียณก็ยิ่งจะมีรายได้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ในขณะที่ลูกจ้างเมื่อเกษียณก็จะไม่มีรายได้ --จุดนี้อาจส่งผลกระทบถึงการใช้จ่ายบริโภคในประเทศหดตัวอย่างรุนแรง
นี่เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาในประเทศที่ได้ชื่อว่า "พัฒนาที่สุดในเอเชีย" --ประเด็นแท้จริงของปัญหาอยู่ที่การปรับตัวไม่ทันของสังคมและเศรษฐกิจ ผนวกกับพื้นฐานของระบบ"ทุนนิยม" ที่เสริมสร้าง ให้เกิดความแตกต่างระหว่างคนรวยกับจน ให้ต่างขึ้นเรื่อยๆ --ปัญหาที่ญี่ปุ่นประสบก็คล้ายๆกับสิ่งที่ "ยุโรป"กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ -- ความรวยขึ้น มิได้ ยกระดับ"ความสุข"ให้เพิ่มขึ้น --
การขยายตัวของ "ซามูไร" เป็นการสร้างและกระจายเงินทุนในเอเชีย ซึ่งเปรียบญี่ปุ่นเหมือน "นายทุน" ของเอเชีย ดังนั้น การเติบโตของหุ้นจะต้องดูญี่ปุ่นเป็นสำคัญ ปัญหาของบริษัทใหญ่ในญี่ปุ่นคือ ความสามารถในการระดมทุน มีแค่ภายในประเทศ ซึ่งจำกัดอยู่ในวงแคบเพราะไม่ค่อยมีใครอยากไปลงทุนในญี่ปุ่น
ในอีกมุม หากญี่ปุ่นเริ่ม เปลี่ยนรูปแบบการระดมทุน ออกมาในต่างประเทศ โดยนำบริษัทย่อยต่างๆที่ เข้าไปลงทุนในเอเชีย เข้าระดมทุนในประเทศนั้นๆ จะเป็นการเติมน้ำดี ให้กับตลาดหลักทรัพย์ "เรียกได้ว่า เอาหุ้นดีๆเข้าตลาด ก็จะทำให้นักลงทุนต่างชาติสนใจเอเชียมากขึ้น"
-- ดังนั้น การพัฒนาของเอเชีย ต้องทำแบบคู่ขนานกับญี่ปุ่น ถึงจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการโตแบบกระจัดกระจาย(ต่างคนต่างทำแบบงูๆปลาๆ) และการระดมของแต่ละตลาดหุ้นในประเทศด้อยพัฒนา(รวมถึงไทย) ที่ส่วนใหญ่มีแต่ของเน่าๆ .. จะเห็นได้ว่าการที่ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรา ยังไม่สามารถดึงดูดการลงทุน ได้เท่ากับจีนและอินเดีย เป็นเพราะตลาดเรา "ไม่มีของดี"ให้เขาลงทุนนั่นเอง....
วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553
"Mutual Funds "ในบ้านเราน่าลงทุน(จริงหรือ)
ผมค่อนข้างไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ เพราะปัจจุบัน Mutual Fund กินค่า Fee จากเงินต้น --(เน้นว่า จากเงินต้น) แสดงว่า ไม่ว่าจะขาดทุน เราก็ต้องจ่ายค่า Fee ซึ่งถ้าตลาด ไม่วิ่งไปไหน แสดงว่าในระยะยาว ค่า Fee จะกินผลตอบแทนทั้งหมด -- ผู้ลงทุน เหมือนโดนหลอก ส่วนผู้จัดการกองทุนก็นั่งยิ้มกิน Fee สบายๆ
... ผมมองว่าในปัจจุบันแม้คนที่ได้ประโยชน์ลดหย่อนทางภาษี 30% ดีไม่ดี ยังไม่คุ้มเลย หากเงินที่คุณ ลงทุนในวันนี้ จะไม่เพิ่มมูลค่า หรือ ลดลง เมื่อเราถอนออกมาตอนเกษียณ (จาก Performance ของกองทุนในบ้านเรา ผมมองว่า แย่กว่า เราหลับตาเลือกเอง แล้วทิ้งไว้เฉยๆ เสียอีก)
ผมว่า กองทุน ทุกกองที่คิดค่า Fee จากเงินต้น เป็นอะไรที่ ไร้สาระ และ หลอกลวง ซึ่งทั้งหมดในกองทุนบ้านเรา เป็นเช่นนี้ --ผมจึงหวังว่าวันนึง ผู้ลงทุนทุกคนจะตาสว่างกับ Scam ของกองทุนทั้งหมด -- และเมื่อเวลานั้นมาถึง กองทุนที่คิดค่า fee จากกำไร จะเกิดขึ้น อย่าง Warren Buffet เขาไม่คิดค่า Fee แม้แต่ บาทเดียว ถ้าเขาทำกำไรต่ำกว่า 6% --คิดดูซิครับ แสดงว่า Buffet ต้องสร้างกำไรสูงกว่า พันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนสูงทีสุดในตลาด เขาจึงจะคิดค่าบริหาร --"make Sense มาก"
กองทุนบ้านเราควรเล่นจากปัจจัยพื้นฐาน และลงทุนในระยะยาว ไม่ใช่วิ่งเข้าออกอย่างนี้ เพราะความสำเร็จของการลงทุน ไม่ได้อยู่ที่ "ดวง" หากแต่มันอยู่ที่การวิเคราะห์และเข้าลงทุนในจังหวะที่ "หุ้นถูก" และก็ขายหุ้นออกไปเมื่อ "หุ้นแพง" อย่างนี้ซิถึงจะเรียกว่า "ฝีมือ" ไม่ใช่อย่างปัจจุบัน(เกือบทุกกองทุนที่ขายอยู่ในบ้านเรา)ซื้อขายทุกวัน --ผมถามว่า คุณเอาปัจจัย อะไรมาเปลี่ยน ทุกวัน คงปัจจัยเดียว ก็คือ "ปัจจัยการพนัน" ฮิ ฮิ
หลายคนบอกว่า ราคาหุ้นในปัจจุบัน มีราคาสูงเกินไปแล้ว จากการที่หุ้นขึ้นอย่างต่อเนื่อง มาเป็นเวลานาน --ประเด็นนี้ถ้ามอง
ในตลาดอเมริกา ก็ถือว่าใช่ เพราะขึ้นมานานแล้ว ดังนั้น โอกาสที่จะปรับฐานเป็นเวลานานย่อมเป็นไปได้สูง แต่ถ้าหากมองหุ้นบ้านเราซึ่งปรับฐานมาตั้งแตปี 1997 และ ยังไม่ได้ไปไหน
ผมว่า เที่ยวนี้ เราจะวิ่งนำตลาด อเมริกาอีกครั้ง และครั้งนี้ น่าจะเป็น "ช่วงก้าวกระโดด"ของเอเชียอีกครั้ง อีกประเด็นที่น่าจะเป็นแรงผลักให้หุ้นเอเชียขึ้นไปอีก ก็คือ Baby Boomer ที่ทยอยเกษียณอายุ ซึ่งถ้ามองให้ดีแล้วจะเห็นได้ว่า เป็นกลุ่มที่ใหญ่มาก ซึ่งพอเกษียณแล้วย่อมมีความกังวลสูง "กลัวว่ารายได้จะไม่พอ" ซึ่งช่วงแรกน่าจะกระทบการลดลงของการใช้จ่าย(คือช่วงนี้นั่นเอง) ซึ่งจุดนี้น่าจะกระทบตลาดหุ้นเป็นเวลาพอสมควร
และหลังจากนั้น กลุ่มคนเหล่านี้จะเริ่มเข้าสู่นักลงทุนหลังวัยเกษียณเต็มตัว (สาเหตุที่เข้า ผมมองว่า อาจจะไม่ได้เข้าโดยตรง แต่น่าจะเข้าผ่าน เครื่องมือ ลดความเสี่ยง อย่างตราสาร CDO ..พวกที่ การันตีความเสี่ยง ที่เละเทะ อยู่ในอเมริกาและยุโรปในตอนนี้ ซึ่งจริงๆ มันเสี่ยงกว่าหุ้นเป็นไหนๆ)--และเมื่อเวลานั้น มาถึงคงปฎิเสธไม่ได้ว่า ตลาดหุ้นย่อมต้องเป็นหนึ่งในตลาดที่ดึงดูดนักลงทุน
---เมื่อดูให้ดีแล้ว ภาพในระยะยาวก็ยังคงชี้ให้เห็นว่า ตลาดหุ้น ยังไงก็ยังจะคงเป็น สัญลักษณ์ ควบคู่ไปกับทุนนิยมตลอดไป เพียงแต่ในบางครั้งอาจมีสะดุดบ้าง แต่ท้ายสุด ตลาดก็ยังคงสะท้อน การก้าวพัฒนาไปข้างหน้าของทุนนิยมนั่นเอง ( หลักตายตัวของ "ทุนนิยม" คือ เงินสดลดมูลค่า และ สินทรัพย์เพิ่มมูลค่า ---ใครไม่เข้าใจ ก็คงเป็น"เหยื่อ"ของคนที่เข้าใจ)
มองตลาดไทย (SET) ในระยะยาว
มาถึงจุดนี้แล้ว เรียกได้ว่า ตลาดทุนของเราเข้าสู่วัย"แรง" คือ อายุ 30 กว่าขวบ -- ถ้าเทียบกับตลาดอเมริกาตอนอายุ 30 ปี ก็ถือเป็นช่วงที่ปรับตัวแรงเช่นกัน คือ ตอนนั้น ตลาดหุ้นตกกว่า 90% และหลังจากนั้นก็วิ่งขึ้นตลอด 60 ปี (ใครซื้อไม่ขายอย่าง Value เรียกได้ว่า "รวยทั้งบาง")
ตอนนี้ตลาดไทย เข้าสู่หัวเลี้ยวหัวต่อ แต่ถ้ามองปัจจัยรวมจะเห็นได้ว่า สถานการณ์เนื้อในของบริษัทจดทะเบียนค่อนข้างแกร่ง ดูได้จากผลประกอบการที่ทำได้ดี และ การปันผลตอบแทนผู้ถือหุ้นที่สูง
คำถามที่เกิดขึ้น ขณะนี้คือ ตลาดเราสามารถจะยกระดับ จากตลาดที่มีขนาดเล็ก (บริษัทบางบริษัทในจีน มีมูลค่ามากกว่าทั้งตลาดบ้านเราเสียอีก) สามารถพัฒนาไปสู่ตลาดทุนขนาดใหญ่ที่สะท้อนภาพเศรษฐกิจที่แท้จริงหรือไม่
-- ซึ่งในปัจจุบันตลาดเราเน้นน้ำหนักที่ "พลังงาน"เป็นหลัก ส่วนบริษัทดีๆในอุตสาหกรรมอื่น ก็ไม่ยอมที่จะเข้าตลาด เพราะ P/BV ที่ต่ำขนาดนี้ การเป็นบริษัทที่อยู่นอกตลาดย่อมดีกว่า (คือ ตอนนี้ตลาดเล็ก ไม่คุ้มที่จะเข้าตลาดนั่นเอง)
-- แต่อย่างไรก็ตาม หากการไหลเข้าของทุน ที่เข้ามาในเอเชีย ที่เพิ่มขึ้นในรอบนี้ จะเป็นการสร้าง "กลุ่มผู้ชนะ" (คือ บริษัทที่จดทะเบียนเดิม) ได้ประโยชน์จากมูลค่าที่เพิ่มขึ้น ก็จะทำให้บริษัทดีๆ ที่อยู่นอกตลาด อยากที่จะเข้ามาระดมทุนมากขึ้น...ซึ่งถ้าจุดนั้นมาถึง ตลาดบ้านเราจะพัฒนาไปอีกขั้น
--ณ ระดับตลาดในวันนี้ก็เปรียบเมือนเรายังอยู่ชั้น มัธยมต้น ซึ่งเราได้ผ่าน ชั้นประถม และ อนุบาล มานานแล้ว ..ขั้นต่อไปก็คือ พัฒนาไปสู่ ชั้นปริญญา อย่างประเทศพัฒนาแล้ว
ส่วนตัวผมยังคงเชื่อมั่นว่า ตลาดเราในช่วง 10 ปีนี้ คือ การก้าวผ่านสู่การเป็นตลาดชั้นนำในภูมิภาค เพราะสาเหตุที่ ต่างชาติ ยังคงมีความเชื่อมั่นต่อปัจจัยพื้นฐานในระยะยาว (แม้ในระยะสั้น จะผันผวนมาก) ทั้งนี้ผมมองว่า ไม่ว่าเรื่องอะไรจะเกิดขึ้น เราก็สามารถผ่านไปได้ทุกครั้ง และครั้งนี้ผมก็เชื่อว่า ไม่ได้ต่างไป -- เราจะข้ามผ่านไปได้อย่างแน่นอน.........
(จ๊าก).. ราคาตกต่อเนื่อง ทำไงดี???
ช่วงนี้ปัจจัยพื้นฐานใหญ่ ยังไม่มีอะไรเปลี่ยน คือ "ตลาดยังคงฟื้นเรื่อยๆจากจุดต่ำสุด" ดังนั้น การปรับฐานของตลาดในช่วง ไม่ได้มีอะไรที่น่ากลัว เพราะท้ายสุดแล้วรอบนี้ หุ้นจะไม่กลับไปแตะที่ต่ำกว่า 700 จุด (เพราะเงินลงทุนที่ต่างชาติเข้ามากว่า 4 หมื่นล้าน คงไม่ได้เอาละลายเล่นๆ หรือ เอามาเป็นหมูแน่นอน ดังนั้น เรามี 4 หมื่นล้านเป็น Cushion รองรับให้ราคาไม่ตกมาก --"ไม่ต้องกลัว") จากนั้นเมื่อปรับฐานเสร็จ ผมยังคงเชื่อว่า ตลาดจะวิ่งไป เกือบ 900 จุดก่อนที่จะปรับฐานใหญ่ และปิดรอบปลายปี ที่ 800 ต้นๆ
สิ่งเดียวที่น่ากลัวของตลาดหุ้น ไม่ใช่การเมือง แต่เป็นปัจจัยภายนอก เพราะ ภายในมักเป็นผลกระทบในระยะสั้นเท่านั้น แต่ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นแรงๆในต่างประเทศ จะกระทบอย่างแรง เพราะตลาดเราถูกกำหนดโดยนักลงทุนฝรั่ง ที่มีทิศทางการซื้อขายที่แน่นอน ไม่ใช่ "สถาบัน กับ รายย่อย" บ้านเรา ที่เล่น แนว "แมลงเม่า" คือ ((พัดหวือไปหวือมา)) ตามแรงลม (งี่เง่าจริงๆ ..ไม่รู้จะบรรยายอย่างไร)
ตอนนี้ ฝรั่งมอง ถึงการปรับตัว ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถ้า ต่างประเทศไม่มีอะไร แรงๆมาเปลี่ยน ก็จะทำให้ตลาดเราวิ่งขึ้น อย่างต่อเนื่อง และน่าจะเห็น 900 จุด ในปีหน้าอย่างแน่นอน (แต่ที่พูดไม่ใช่ ตลาดจะวิ่งทีถึง 900 จุด ในเดือน หรือ สองเดือน แต่จะเป็นในลักษณะของการขึ้นลงเป็นรอบๆอย่างนี้ไปเรื่อย)
ผมมองว่าสำหรับคนที่เล่นยาว(ถือหุ้นที่ P/BV ต่ำปันผลดี) ให้ถือไว้เลย ไม่ควรขาย เพราะแนวโน้มใหญ่ยังคงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนใครเล่นสั้น ก็วัดดวงแบบ "บ่อน" ตามใจท่านๆๆ ละกัน.....
โอกาสในการลงทุนหุ้น "ADVANC" (กำไรบนความเสี่ยง)
ก่อนอื่นผมขอบอกกว่าผมถือหุ้น ADVANC (ค่อนข้างมากใน Port) --ถ้าจะมองในส่วนของ ADVANC ในช่วงนี้ ถือว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่เข้ามากระทบกับความรู้สึกของนักลงทุนมาก ไม่ว่าจะเป็น..กรณีพาดพิงคดี คุณทักษิณ .. ประเด็น 3G .. ประเด็นการหมดอายุสัมปทานในปี 2015 ..
--ซึ่งในระยะสั้น(แน่นอน) ว่าหุ้นจะผันผวนอย่างมาก แต่ผมคาดว่าคนที่ซื้อในช่วงนี้ ยังสามารถทำกำไรอย่างเป็นกอบเป็นกำ ทีเดียว จาก
1. ปันผลที่น่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะการที่บริษัท ใกล้หมดอายุสัมปทาน (ซึ่งเครือข่ายทั้งหมด จะตกเป็นของ"รัฐ"ใน 2015)
จึงฟันธงได้ว่า ADVANC จะลดการลงทุนในเครือข่ายลงเรื่อย ซึ่งจะทำให้กำไรสูงขึ้น --จะทำให้ปันผลสูงขึ้นตาม (เพราะผู้บริหารมี ESOP ทำให้ผู้บริหารนั่งอยู่มุมเดียวกับผู้ถือหุ้น--จุดนี้"ชอบมากๆ")
2. บริษัท น่าจะเป็นผู้ประมูล 3G ได้ ซึ่งจุดนี้จะเกิดการเก็งกำไรอย่างสูงในหุ้น (ดังนั้น ช่วงที่ประมูล 3G ได้ จึงน่าจะเป็นช่วงที่ ขายทำกำไรในระยะแรก
-- จากนั้นก็ถอยออกมาดู สถาณการณ์ในรอบใหม่ ) ทั้งนี้ ถ้าพิจารณาจาก Technology ใหม่ๆ -กว่าที่จะทำกำไรได้ ต้องผ่านช่วงที่ "สร้างตัว"ก่อน เช่น "มือถือระบบปัจจุบัน" กว่าจะทำกำไรมหาศาล ก็เป็นช่วง(ปลาย)ของ สัมปทานแล้ว ดังนั้น ไม่แปลกที่ 3G ก็น่าจะทำกำไรมหาศาล หลังจากผ่านช่วงต้นของสัมปทานไปแล้ว
ในส่วนของราคาประมูล 3G เป็นที่มองข้ามไม่ได้ เพราะอย่างในยุโรป 3G ค่อนข้าง Fail เพราะราคาประมูล Licensed สูงเกินไป ซึ่งจุดนี้ต้อง ดูอย่างใกล้ชิดเช่นกัน
อย่างไรก็ตามในระยะยาว ผมก็ยังเชื่อว่า หุ้น ADVANC ยังเป็นหุ้นที่ดี(เพราะบริษัทมี Know How และ คนที่เก่ง) และตัวหุ้นเองก็ปันผลสูงมาก(ทำให้ลดความเสี่ยงของ port ในภาวะที่เราไม่ทราบว่า ตลาดจะทำ Double dip หรือไม่)สามารถทำกำไรเป็นช่วงๆ ตามสถานการณ์ ดังนั้น คนที่เข้าลงทุนในหุ้น ADVANC ควรมีความเข้าใจในธุรกิจ สัมปทาน และ Cycle ของการลงทุน พอสมควร มิเช่นนั้น อาจกลายเป็น"แมลงเม่า" เฝ้าดอย เป็นครั้งคราวไป ฮิ ฮิ...
หลายคนฟังแล้วกลัว --"ไม่ต้องกลัว" เอาเป็นว่า ถ้าหุ้นตัวนี้ "ตกหนักๆ เมื่อใด" ให้รีบเข้าซื้อ ส่วนถ้าหุ้นวิ่งขึ้นมากๆเมื่อใด ให้รีบขาย แต่ไม่ใช่เข้าออกๆ คือ ต้องถือ อย่างน้อย 1 ปี ขึ้นไป เพราะจะได้ปันผลที่มหาศาล เป็นรางวัล ด้วย...
วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553
หุ้น IPO ในตลาดตอนนี้ จริงๆเป็นหุ้น(ถูก) หรือ (แพง)
จากที่ผ่านมา BLA กับ IVL เป็นหุ้นที่ขึ้นร้อนแรงมาก เข้าตลาดไม่กี่เดือนหุ้น วิ่ง 70 -80 % ..ถามว่าจริงๆหุ้นเหล่านี้มัน (ถูก) หรือ (แพง) --- ถ้าดูจากตลาดโดยรวมตอนนี้ P/BV อยู่ประมาณแค่ 1 เท่า แต่อย่าง BLA ตอนนี้อยู่ที่ 4 เท่าของ P/BV ..ส่วน IVL ก็ยังไม่ ประกาศเลยว่า ตอนนี้ หุ้นมี Book Value เท่าไหร่ ปล่อยให้คาด คะเน ดันราคาขึ้น ปั่นกันอย่างเมามัน..
((จริงๆแล้วถ้ามา(นั่งนิ่งๆ)ตั้งสติ))..คุณจะพบว่า หุ้น IPO ทั้งหลาย ไม่มีอันไหน (ถูก) เพราะแน่นอน เจ้าของบริษัทหากขายหุ้น ขาดทุน (ต่ำกว่า P/BV คือ ขาดทุน) เขาจะ IPO หาสวรรค์ วิมาณ อะไร!!! -- ดังนั้น หุ้น IPO ต้องแพงแน่นอน อยู่ที่ว่า ตอนนี้จะแพงแค่ไหน ถ้าตลาดโดยรวม IPO 1 เท่า คุณจะออกมา 2-3 เท่า ก็เรียกว่าแพงแล้ว เพราะนักลงทุนสามารถซื้อตัวอื่นๆที่อยู่ในตลาดที่ P/BV ต่ำกว่า (ไม่ดีกว่าหรือ)
แต่สาเหตุที่ทำให้หุ้น IPO ราคาขึ้นอย่าง (หวือหวา) เพราะเป็นหุ้นใหม่ คนยังไม่รู้จัก ดังนั้น การจะสร้างข่าว บอกว่า อย่างนั้น อย่างนี้ แล้วก็ซื้อปั่นราคาขึ้น ก็ทำได้ง่าย -- อย่าง PTT ถ้าคุณจะปั่นราคา คุณคงต้องมีสัก แสนล้าน (จึงจะปั่นราคา PTT ได้) ..ดังนั้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ไอ้หุ้น IPO ที่วิ่งอย่าง หวือหวา ล้วนแต่ "แพง" ทั้งนั้น --- ใครที่ได้กำไรอยู่ก็รีบๆถอยก่อนจะออกไม่ทัน เพราะถ้าคุณจะมองเป็นการลงทุนระยะยาว สู้ไปลงตัวที่ P/BV ต่ำๆ ปันผลดีๆ จะเสี่ยงน้อยกว่ามาก --- แต่พอผีพนัน เข้าสิง ผมว่าใครทักก็ ไม่ฟังแล้ว .. ปล่อยเขาไปเถอะ (แล้วประสบการณ์จะสอนเขาเอง --"กูไม่น่าเล้ยยย."
อย่างปลายปีมีข่าว ว่าจะมีอีกหลายบริษัทเข้ามาจดทะเบียน อย่างเช่น Star Petro,ธนาคาร และอื่นๆ ..ซึ่งถามว่า ซื้อหุ้นเหล่านี้ จะกำไรหรือไม่ --"ผมเชื่อว่ากำไร" (แต่ในระยะสั้น!!) คือ ใครชอบทำกำไรระยะสั้น ผมมองว่า IPO ปี 2553 นี้น่าสนใจ แต่ไม่แนะนำให้ซื้อยาวครับ...
"ประสบการณ์และความล้มเหลว" ต่างหาก ที่เป็นบันไดก้าวไปสู่ความสำเร็จอย่างแท้จริง
หลายปีมานี้ผมได้ ค้นคว้า ประวัติ และแนวทางสู่ความสำเร็จ คือ "ทางสู่ความร่ำรวย"นั่นเอง -- สิ่งที่ผม ค้นพบคือ ทางสำเร็จของแต่ละคน "ไม่มีทางเหมือนกัน" เช่น หลายปีมาแล้วหนังสือ "Rich Dad,poor Dad" ขายดีมากๆ ผู้เขียนแนะนำให้ลงทุน Real estate คือ ซื้อบ้าน ซื้อบ้าน ซื้อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แล้วปล่อยเช่า กู้แล้วก็ซื้อ แล้วก็สร้าง Port ให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ตราบใดที่ ค่าเช่า ยังสามารถจ่ายดอกเบี้ย ก็ซื้อบ้าน ซื้อตึก เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
--ซึ่งในอเมริกา แนวคิดนี้มีคนทำตามอย่างแพร่หลาย ในที่สุด Subprime ที่ระเบิดขึ้น พวกนี้ล้มละลาย เจ๊ง!! กันเละเทะไปหมด .. มันทำให้ผมกลับมาดูว่า (แล้วที่ Rich dad พูดมัน ผิดตรงไหน? )--ปรากฏว่า ไม่ใช่แนวคิดที่ผิด เพราะแนวคิดนี้ได้ทำให้ คนเขียน รวย เพราะเขาซื้อบ้านในช่วงที่ราคาบ้านยังไม่แพง จนเขาสำเร็จมีเงินมาก ราคาบ้านก็ขึ้นมาแพงแล้ว
-- พอคนไปอ่าน Rich Dad ก็อยากทำบ้าง แต่ "ต่างกันที่เวลา และ Cycle ของ Real estate" ทำให้พังได้ ดังนั้น การดูแนวคิดต่างๆ ไม่ใช่เราจะหลับหูหลับตาทำตามแล้วจะสำเร็จบ้าง เพราะเมื่อเวลาต่าง ปัจจัยที่เป็นตัวแปรสู่ความสำเร็จก็ย่อมแตกต่างไป
-- ซึ่งถ้า สิบปีก่อนทำให้ Warren Buffet รวยมหาศาล มันก็แสดงว่า สิบปีที่ผ่านมาราคาหุ้นขึ้นไปสูงกว่า ช่วงที่ Warren Buffet ซื้อมาก ดังนั้น ถ้าใครคิดจะทำแบบ Buffet ก็ย่อมไม่สำเร็จอย่างเขา -- ดังนั้น ความสำเร็จ คุณต้องเป็นคนคิดเอง โดยมองหา "ช่องว่าง" หรือ โอกาส ณ ช่วงเวลานั้นๆ
อย่าง Real estate หลังจากที่ตกต่ำจาก Subprime ราคาย่อมถูกลงกว่า 5 ปีที่แล้วมาก --จุดนี้หลายคนอาจมองว่าเป็นโอกาส แต่หลายคนก็กลับมองว่าเสี่ยง ยกตัวอย่างว่า อีก 10 ปีข้างหน้า ราคาบ้านพุ่งขึ้นไป 10 เท่า จากราคาในปัจจุบัน ..คนที่ตัดสินใจซื้อในวันนี้ ก็จะรวย ส่วนคนที่ไม่ซื้อในวันนี้ก็ไม่รวย
--ครั้นพอผ่านไปแล้ว 10 ปี คนที่ไม่ได้ซื้อ มองเห็นคนที่ซื้อ 10 ปีที่แล้ว รวยก็ อยากรวยบ้าง (ในใจคิดว่า วิธีการได้รับการพิสูจน์แล้วน่าจะไม่เสี่ยง จึงตัดสินใจซื้อบ้าน .. จากนั้น ราคาบ้านกลับตกลง อย่างเละ) --สรุปว่า คนที่กลัวเสี่ยงรอดูว่า คนอื่นสำเร็จก่อน ค่อยทำตาม ครั้นพอทำตาม ราคาบ้านก็ขึ้นไปสูงแล้ว กลายเป็นว่า เขาเจ๊งในที่สุด (-ตลาดบ้านมี Cycle ฉันใด ตลาดหุ้น และการลงทุนทั้งหมดล้วนมี Cycle ฉันนั้น-) ดังนั้น หากใครเลือกลงทุน ในจังหวะที่ถูกต้อง ถึงจะประสบความสำเร็จได้ -- "ไม่ใช่การเห็นคนอื่นสำเร็จ เลยทำตาม --ก็เลยเป็นที่มาของ "แมลงเม่าการศึกษาสูง"ไงล่ะครับ...
สิ่งที่สอนเราให้จำได้ดีที่สุด ก็คือ "ประสบการณ์และความล้มเหลว" แต่ถ้าพลาดแล้วต้องจำ ต้องไม่พลาดอีก และนี่แหละคือ บทเรียนชีวิต ที่ทำให้คนแต่ละคนแตกต่างกัน จึงไม่แปลกเลยที่ ถ้าพ่อแม่เก่ง แต่ร่ำรวยมาอย่างยากลำบาก จึง เลี้ยงลูกมาอย่าง "ไข่ในหิน" สุดท้าย ลูก ก็กลายเป็นคนที่ไม่เคยเรียนรู้ ไม่เคยล้มเหลว ทำให้ท้ายสุด เมื่อพ่อแม่ ยกกิจการให้ลูกสืบทอด ก็กลายเป็น "ไม่มีความสามารถ" กิจการก็จึงไม่เคย สืบต่อเกิน 3 Generation ได้ (มันมิใช่คำสาบ) --มันเป็น "ประสบการณ์และความล้มเหลว" ต่างหาก ที่พ่อแม่ ไม่ได้ถ่ายทอดให้ลูกๆได้ เพราะสิ่งเหล่านี้มันไม่ได้เกิดจากห้องเรียนหรือมหาลัยดังๆ หากแต่มันเกิดในชีวิตจริง และเรียนรู้ได้จากการปฏิบัติเท่านั้น
"ประสบการณ์และความล้มเหลว" หากเปรียบ ก็เหมือนกับ "วัคซีน" แต่เป็น "วัคซีน" ที่ต้องสร้างขึ้นเองเท่านั้น ... (ผมว่าพวกรุ่น 3 ของตระกูล คงอยากวิ่งหา "วัคซีน"ที่ว่านี้มาฉีด แต่ขอโทษครับ (ไม่มีขาย) คุณต้องสร้างขึ้นเอง หรือ ไม่ก็ปล่อยให้กิจการของตระกูลค่อยๆเจ๊งไป -- ก็แค่นั้นเอง!!!!!..........
หลายคนถามผมว่าเรียนต่อ "ปริญญาโท-เอก" ดีไหมล่ะ??
สมัยก่อนจบปริญญาตรีพอแล้ว เดี๋ยวนี้โทยังไม่พอ ต้องเอก (เดี๋ยวนี้เอกก็ยังเกลื่อนเลย)
ยิ่งคิดก็ยิ่งเหนื่อยนะครับ --กับการอยู่ในสังคมทุกวันนี้ "สมัยก่อนจบปริญญาตรีพอแล้ว เดี๋ยวนี้โทยังไม่พอ ต้องเอก (เดี๋ยวนี้เอกก็ยังเกลื่อนเลย)" แล้วพอเอาเข้าจริงๆ บางคนจบเอก จากมหาลัยดังๆ มาแล้ว "ตกอับ" ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตก็ มีถมไป
.. จริงๆแล้วผมว่า หลายคนอาจหลงประเด็น นึกว่า การเรียนให้สูง หรือ จบในมหาลัยดังๆ จะเป็น "ตัว Guarantee" ว่าเราจะประสบความสำเร็จ -- แต่ไม่ใช่เลย เพราะแท้จริงแล้ว การเรียนก็เป็นเหมือน"บัตรผ่านประตู"ที่จะเปิดประตูให้เราได้เข้าสู่โอกาส แต่หลังจากที่เราก้าวผ่านประตูไปแล้ว มันอยู่ที่ตัวคุณเองว่าจะสามารถไปสู่ความสำเร็จได้หรือเปล่า
"บัตรผ่านประตู"ที่พูดถึง จะนำเราไปสู่ห้องที่ประสบความสำเร็จจริงหรือ??? -- ตรงนี้ผมว่ามันต้องถามกลับว่า "ความสำเร็จที่คุณต้องการคือ อะไร" เพราะถ้าหากคุณตอบว่า "ความร่ำรวยมหาศาล คือ สิ่งที่ต้องการ" ดังนั้น ผมก็ตอบได้เลยว่า "บัตรผ่านที่คุณมีมันกำลังนำคุณไปผิดห้อง" เพราะการเรียนที่สูงในมหาลัยที่ดัง มักนำคุณสู่ความ"ไม่เสี่ยง" นั่นก็คือ "งานที่มั่นคง เงินเดือนสูง" และสิ่งนี้เอง มันจะกลายเป็นตัวผูกมัดที่ทำให้คุณ ก้าวไปไม่ถึง จุดหมาย "แห่งความมั่งคั่ง"ที่หวังไว้
โลกแห่งทุนนิยม -- จะให้รางวัลแก่ความเสี่ยง และลงโทษ ความมั่นคง(ไม่เสี่ยง) ยกตัวอย่างถ้าคุณเอาเงินฝากธนาคาร (มั่นคงสูงมาก) เงินก้อนที่ว่านี้ก็ไม่มีทางที่จะเพิ่มพูนให้ผลตอบแทนอะไรมากมาย -- ในทางกลับกัน ถ้าคุณเอา เงินนั้นไปเล่นหุ้น คุณก็จะมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่สูงมาก หรือ ก็อาจขาดทุนได้เช่นกัน --และนี่แหละคือ "ความท้าทายในโลกแห่งทุนนิยม" ทุกอย่างถูก แปลเปลี่ยนและวัดค่าเป็นจำนวน"เงิน" -- ดังนั้น การเรียนสูงๆ ในสถาบันดีๆ อาจทำให้คุณได้งานที่มั่นคง เงินเดือนเป็นแสน แต่ถ้าคุณเอาเงินนั้นฝากธนาคาร(ไม่เสี่ยง) คุณก็ไม่สามารถที่จะมีทางมีเงินเป็น ร้อย เป็น พันล้านได้ ... ดังนั้น หนทางเดียวที่จะพาคุณสู่ความมั่งคั่งก็คือ "ความเสี่ยง" แต่ความเสี่ยงมีหลายระดับ ยิ่งคุณมีประสบการณ์มากขึ้น ความเสี่ยงคุณก็จะลดลง-- จึงมีหลายคนที่สามารถพูดได้ว่า "เขาสามารถลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง บนความเสี่ยงที่ต่ำได้" ทีแรกผม ก็ถึงกับ(งง) ว่า นี่มันขัดกับหลักของ "ทุนนิยม" นี่ --จะมีด้วยหรือ????
(มีครับ).. และมันก็คือ "การลงทุนในธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำ ในภาวะที่ไม่แน่นอนสูง" เพราะไม่ว่าการลงทุนดังกล่าว จะเป็นการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ หรือ นอกตลาดก็ตาม แต่มันก็เป็นหนทางเดียวที่จะทำให้คุณมีเงินเป็น ร้อย เป็นพันล้านได้
--- ดังนั้น ความรู้ที่ทำให้คุณมั่งคัง ก็คือ ความรู้ที่จะสามารถวิเคราะห์ ได้ว่า กิจการการใด มีความเสี่ยงต่ำ และช่วงเวลาใด เป็นช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนสูง --ซึ่งแท้จริงแล้ว สิ่งเหล่านี้ไม่ได้มีสอนอยู่ในตำรา เพราะคนสอนอย่างอาจารย์เอง ก็ไม่ได้มีความสามารถในการวิเคราะห์ตรงนี้เลย ...จึงไม่แปลกที่ว่า "ประสบการณ์และความล้มเหลว" ต่างหาก ที่เป็นบันไดก้าวไปสู่ความสำเร็จอย่างแท้จริง
คนเล่นหุ้นส่วนใหญ่ "อยากได้กำไรเยอะๆ เร็วๆ" ---คิดถูกหรือไม่?
คนส่วนใหญ่ "อยากได้กำไรเยอะๆ เร็วๆ" -- แต่คนส่วนใหญ่กลับ "เล่นหุ้นแล้วขาดทุน" ดังนั้น สองประโยคนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น .. ในตลาดหุ้น "ถ้าคุณไม่ได้คุณก็เสีย --ถูกไหม!! ดังนั้น ถ้าคนส่วนใหญ่ "เสีย" เพราะ "อยากได้กำไรเยอะๆ เร็วๆ" ดังนั้น ถ้าคุณทำตรงข้ามกับเขา คุณก็จะ "ได้เงิน" จริงไหม!!
สรุปว่า การที่จะได้เงินในตลาดก็คือ ทำตรงข้ามกับ "อยากได้กำไรเยอะๆ เร็วๆ" ก็คือ "ไม่อยากได้กำไรเยอะ และช้าๆ" (งง)ไหม... เพราะเมื่อเราเล่นหุ้นโดยมองที่ Capital Gain หรือ ราคาหุ้นเป็นหลัก ก็คือ คุณจะมุ่งให้ได้กำไรมากๆ(โดยการดูราคาหุ้นที่วิ่งขึ้นเป็นหลัก)
ดังนั้น โอกาสที่คุณจะได้กำไรมาก กลับมีน้อยลง เพราะ เมื่อคุณเห็นราคาวิ่งขึ้นแรง (คุณคำนวณเป็นตัวเงินที่ได้..จากนั้นคุณก็จะโลภอยากขาย).."แล้วคุณก็เลยขาย" (ขายหมู) จากนั้น แทนที่คุณจะได้กำไรมากตามที่คิดและวางแผนไว้ (เช่น คูณซื้อตอนหุ้นอยู่ที่ 0.5 เท่าของ P/BV และคุณ จะขายเมื่อ 2 เท่าของ P/BV แต่พอเอาเข้าจริง หุ้นวิ่งไปที่ 1 เท่าของ P/BV --คุณกลับรีบขายทิ้งไป ทำให้คุณเสียโอกาสที่จะทำรายได้อีกเยอะ... ) สาเหตุหลักมันอยู่ที่คุณ ไม่ทำตามแผน คุณกลับไปมองที่ "Capital Gain" และเกิดโลภ --จึงกำไรน้อยนั่นเอง
ส่วนที่บอกว่า "เร็วๆ" ก็คือ คุณใจร้อนรีบขายหุ้นก่อนเวลาอันควร --เพราะแท้จริงแล้ว ตลาดหุ้น จะขึ้นลงมากๆ ไม่ใช่ใช้เวลาเพียงวันเดียว หรือ เดือนเดียว ถ้าเป็นอย่างนั้น คุณไป "บ่อน"เลยดีกว่า .. ตลาดหุ้น คือ สิ่งที่สะท้อนสภาพเศรษฐกิจที่แท้จริง
--ถ้าปีไหนเศษฐกิจไม่ดี ตลาดหุ้นก็จะไม่ดี ส่วนถ้าปีไหนเศรษฐกิจดี ตลาดหุ้นก็จะดีเช่นกัน ดังนั้น ไม่มีทางเลยที่เศรษฐกิจจะดีและไม่ดีในเวลา 1 วันหรือ 1 เดือน --มันต้องอาศัยเวลาที่นานพอสมควร เป็นปี หรือหลายปี ดังนั้น การเล่นหุ้นก็เช่นกัน ไม่ใช่เข้าๆออกๆ เพราะราคามันยังไม่ได้สะท้อนตัวเลขทางเศรษฐกิจเลย คุณก็ขายไปแล้ว
-- ยกตัวอย่าง ในปัจจุบัน เศรษฐกิจ มีความไม่แน่นอนสูง ดังนั้น ตลาดหุ้นก็ยังไม่ดี ดังนั้น ไม่ว่า หุ้นจะวิ่งไปเท่าไหร่ในปีนี้ มันก็ยังคงอยู่ใน ราคาหุ้นที่สะท้อนเศรษฐกิจที่ไม่ดี --ในเมื่อเป็นเช่นนี้ ทำไมคุณไม่ถือหุ้นต่อไป รับปันผลไปเรื่อย(ได้เยอะกว่าเงินฝากตั้งเยอะ) แล้วคุณก็ค่อยไปขายในปีที่เศรษฐกิจดีแล้ว และราคาหุ้นก็จะขึ้นสะท้อนภาพเศรษฐกิจที่ดีตาม (ซึ่งแน่นอนว่า ราคาหุ้นจะต้องสูงกว่าตอนนี้มากๆ ) ..จริงไหมครับ ...
ทำไมเรามัก"ขายหุ้น"ในเวลาที่ไม่ควรขายที่สุด
นี่เป็นเรื่องปกติ "ขายในเวลาที่ไม่ควรขายมากที่สุด" ก็เพราะเรา "เป็นมนุษย์" นั่นเอง --- ดังนั้น การซื้อขายจึงใช้อารมณ์เป็นตัวตัดสินโดนส่วนใหญ่ --ยกตัวอย่างในตลาดหุ้น บางครั้งหุ้นตกน้อยๆ เราก็มองว่าไม่เป็นไรถือต่อ(เดี๋ยวมันก็ขึ้น) -- ((พอหุ้นตกต่อ)) เราก็ยังคงไม่ขาย และยังเชื่อว่า (เดี๋ยวมันก็น่าจะขึ้น)..(((พอหุ้นตกต่อไปอีก))) เราก็ยังคงไม่ขาย และยังเชื่อว่า (เดี๋ยวมันก็อาจจะขึ้นนะ(ลังเลหนักขึ้นเรื่อยๆ))..(((((พอหุ้นตกต่อ"หนัก"เข้าไปอีก))))) --ในที่สุด (ราคาหุ้นลงไปต่ำมาก) เราก็ตัดสินใจขาย เพราะกลัวว่ามันจะตกต่อไปอีก -- (พอเราขายเท่านั้น!!! -- หุ้นก็เริ่มวิ่งกลับไป วิ่งขึ้น และก็วิ่งขึ้นไป เลยราคาก่อนตกไปเสียอีก) --"นี่คือ ตัวอย่างปกติที่ ผมว่า คนเล่นหุ้น ทุกคนเคยเจอกับตัวเอง--(แต่ไม่เคยจำ)"
ดังนั้น ถ้าเราไม่อยาก "ขายในเวลาที่ไม่ควรขายมากที่สุด" เราต้อง "ตัดอารมณ์ความรู้สึกออกไป แล้วใช้ข้อมูลและเหตุผลมาวิเคราะห์เท่านั้น" -- เช่น ถ้าเราวิเคราะห์ว่า ตลาดในประเทศไทยตอนนี้ (ถูกกว่าตลาดเพื่อนบ้าน) แถมยังให้ผลตอบแทน ปันผล ดีกว่าตลาดอื่นๆ --(คุณก็ไม่ควรขายจริงไหม) เพียงแต่รอให้ตลาดปรับตัวกลับมาที่จุดที่น่าจะเป็น "เราก็รวยแล้ว"
(เพิ่มเติม) ในปัจจุบันตลาดเรายังมีหุ้นที่ราคาถูกมากมาย สาเหตุเพราะตั้งแต่ปี 1997 "ต้มยำกุ้ง" ทุกคนยังเข็ดขยาด โดยเฉพาะคนไทย "นักลงทุนรายย่อย" ที่เคยเสียจนหมดตัวในคราวนั้น ต่างให้คำมั่นกับตัวเอง ว่า"ชีวิตนี้เขาจะไม่เล่นหุ้นอีก และสอนลูกหลานว่า "ไม่ให้เล่นหุ้น"
-- มีคำพูดจากนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ กล่าวว่า "เมื่อทุกคนไม่สนใจ และหนีจากตลาดหุ้น --- นี่แหละคือเวลาที่ควรเล่นหุ้นมากที่สุด " ผมขอฟันธง ณ วันนี้ เลยว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า ตลาดจะกลับขึ้นไป เหมือนก่อนที่เราจะเกิดต้มยำกุ้งอีกครั้ง (และเมื่อนั่น เหล่า"แมลงเม่า" ลูกหลานของคนที่เคยเจ๊ง จะเข้ามา ซ่า และในที่สุดแล้ว คนเหล่านี้ก็จะ เจ๊ง เหมือนกับ "แมลงเม่ารุ่นพ่อ"ของเขานั่นเอง ฮิ ฮิ.).. ตลกดี....(ไม่ขำเลย)...
วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553
ซื้อกองทุนดีหรือไม่ (ทำไม “กองทุน” ส่วนใหญ่แพ้ตลาด)
ปัญหาของกองทุนคือ ต้องแสดงผลงานทุกไตรมาส หรือ ทุกปี --ในกรณีนี้ถ้าเปรียบเทียบ การบริหารถ้าต้องการโชว์กำไรในระยะเวลาสั้น นั่นหมายถึง การต่อสู้กับความผันผวนที่มหาศาลของตลาดหุ้น
-- อย่างที่เราทราบกันตามสถิติว่า ในระยะยาวตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนที่ดีเหนือการลงทุนอื่นๆ แต่ในระยะสั้นตลาดหุ้นผันผวนไม่ต่างกับ บ่อนการพนันดีๆนี่เอง
ดังนั้น กองทุน ก็ทำหน้าที่บริหารเงินของคุณ เหมือนการพนัน ซึ่งจะเห็นได้ว่า กองทุนส่วนใหญ่แพ้ตลาด แต่ส่วนน้อยเท่านั้นที่ชนะตลาด ก็เหมือนกับ นักพนัน ส่วนใหญ่ที่เสีย และส่วนน้อยเท่านั้นที่ได้กำไรจากบ่อน
นอกจากนี้ ค่า Fee ที่เก็บเป็นค่าบริหารกองทุน "ก็เก็บอย่างคงเส้นคงวา ..คิดจากเงินต้น ไม่ได้คิดจากกำไร" เท่ากับว่า จะบริหารห่วยแตกเพียงใด ก็เก็บค่าบริหารได้อยู่ดี (ผมว่าให้ผมบริหารเองจะดีกว่า...หุ หุ)
ในบ้านเรา คนทำงาน Office มักซื้อ กองทุนผ่าน RMF/LTF ซึ่งเป็นการประหยัดภาษี แต่ถ้า "กองทุนยังใช้วิธีบริหารเงินยาว แบบเงินสั้นอย่างนี้ ผมว่าไอ้ที่คุณประหยัดภาษี มันจะคุ้มจริงหรือเปล่า" ..ไม่งั้น สู้(ไม่ประหยัดภาษี) เอาเงินนั้นไปซื้อหุ้นดีๆที่ปันผลมั่นคงแล้วไม่ขายเลย (ผมว่าถ้าคิดดีๆ ..ซื้อเองได้ผลตอบแทนสูงกว่าอีก)
สรุปเลย-- นี่แหละครับเป็นคำตอบที่ว่า ทำไม “กองทุนส่วนใหญ่ให้ผลตอบแทนแพ้ตลาด” (ก็เพราะ Strategy ของ”กองทุน” ก็เหมือนกับ “นักพนัน” นั่นเอง) -- ตราบใดที่ “กองทุน” ไม่มองระยะยาว และต้องโชว์ผลงานระยะสั้น ก็ไม่มีทางที่กองทุนจะให้ผลตอบแทนที่ดีได้-- ใช่ไหมครับ…กองทุน !!!
“ใจแข็ง = รวย” ส่วนใจโลเล ก็เป็น “แมลงเม่า”
ผมมี Case Study มายกให้ดู
--สมมุติว่าคุณซื้อหุ้น โรงกลั่น เช่น ESSO ปกติถ้าเศรษฐกิจดี ราคาหุ้นโรงกลั้นจะอยู่ที่ประมาณ 3 เท่ากว่าๆของ Book Value แต่ตอนที่คุณซื้อ เกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ แถมเกิดปัญหา มาบตาพุต ยำให้ราคาหุ้นต่ำติดดิน สรุปว่าคุณ ซื้อหุ้น ESSO ที่ราคา 0.5 เท่า P/BV คือ ที่ 7 บาท (แสดงว่า Book Value อยู่ที่ 14 บาท ดังนั้น คุณกะจะถือเอาไว้ขายที่ 3 เท่าของ Book --คุณลองคำนวณและดูว่า Book Value จะโตประมาณ 5% ต่อปี ทำให้คุณคาดว่าในอีก 5 ปี Book Value จะอยู่ที่ 18 บาท ดังนั้นราคาที่คุณจะขายคือ 54 บาท
“”เริ่มจากปีที่1 เศรษฐกิจเริ่มดีหุ้นขึ้น วิ่งจาก 7 บาทไปที่ 12 บาท(ถามว่าคุณอยากขายไหม --แน่นอนอยาก) จากนั้น ตลาดปรับฐานหุ้นตกลงไปที่ 9 บาท (คุณ เซ็งมากเพราะคุณ คิดว่าน่าจะขายที่ 12 บาท)
ปีที่ 2 หุ้นวิ่งจาก 9 บาท ไปที่ 15 บาท (คุณเริ่มดีใจ ที่คุณไม่ขายไปที่ 12บาท) หุ้นวิ่งต่อไปที่ 18 บาท จากนั้นหุ้นก็ปรับฐานถอยมาปิดที่ 14 บาท(คุณ เซ็งมาก คุณคิดในใจว่า น่าจะขายที่ 18 บาท)
ปีที่ 3 หุ้นวิ่งจาก 14 บาท ไปปิดที่ 20 บาท (คุณดีใจที่คุณไม่ขายไปตอน 18 บาท) จากนั้นหุ้นวิ่งต่อไปที่ 25 บาท (คุณอยากขายมาก เพราะต้นทุนคุณแค่ 7 บาท ถ้าขายตอนนี้ คุณจะรวยขึ้น 3 เท่าทีเดียว สรุปคุณไม่ขาย) จากนั้น หุ้นตก เพราะบริษัทมีข่าวไม่ดี ตกลงมาเหลือ 15 บาท (คุณใจเสียจนแทบฆ่าตัวตาย เพราะถ้าขายไปที่ 25 บาท ป่านนี้คุณก็สามารถมาช้อนซื้อที่ราคาถูกได้เพิ่มอีก คุณคิดในใจว่า ตัวเองโง่จริงๆ)
ปีที่ 4 บริษัทสามารถแก้ไขวิกฤต หุ้นปรับขึ้นไปที่ 20 บาท (คุณยังเซ็งต่อ คิดว่าน่าจะขายที่ 25 บาท)
ปีที่ 5 เศรษฐกิจดีมากหุ้นวิ่งทั้งตลาด หุ้นESSO วิ่งจาก 20 บาทไป แตะ 54 บาท (ตามเป้าที่วางไว้ -- คุณขายทิ้งทั้ง port สรุป 5 ปี คุณลงทุน 7 ล้าน คุณขายไปที่ 54 ล้าน บวกกับปันผลอีก 10% ต่อปี)”””
----- รวยสุดๆ จาก 7 ล้าน ห้าปี เป็น 54 ล้านบวกปันผลเป็น 60 ล้านถ้วน (ผมถามว่า ถ้าคุณเจอสถานการณ์ ที่ผมยกมา คุณอาจขายตั้งแต่ที่แรก หรือปีที่สองแล้ว --จริงไหม)
ดังนั้น ถ้าใจไม่แข็ง คุณไม่รวยหรอก…. หรือ อีกอย่างคือ “ไม่ดู” ปล่อยหุ้นมันทำงาน และนี่แหละ “Warren Buffet” นักลงทุนที่ไม่ต้องมี Internet ไม่ต้องดูราคาหุ้น….. คุณทำได้ไหมล่ะ..
ดร.นิเวศน์ (Thailand Value Investor) เริ่มลงทุนมี 10 ล้าน 12 ปีต่อมามี 800 บาท ทำอย่างไร
ตอนแรกผมก็สงสัยว่า ไอ้สิบล้านจะเป็นแปดร้อยล้านได้อย่างไรในสิบปี (บ้าไปแล้วหรือ)-- แต่พอมาศึกษาวิธีการ Value investor ก็ทำให้ผม “ถึงบางอ้อ”
--คือ อย่างแรกคือ คุณดูว่าบริษัทที่จะลงทุนมีความมั่นคง (นี่สำคัญที่สุด) คือ เติบโตอย่างต่อเนื่องและให้ปันผลที่ดี เราเรียกบรษัทเหล่านี้ว่า”ความเสี่ยงต่ำ”
-- จากนั้นคุณต้องรอ จังหวะ(อย่างอดทน) เพื่อเข้าซื้อหุ้นเหล่านี้ในราคาถูก (ถ้าถูกกว่า Book Value ยิ่งดี) เราเรียกสถานการณ์ที่ว่านี้ว่า “ความไม่แน่นอนสูง” เนื่องจากบริษัทที่ดี จะราคาตกมากก็ต่อเมื่อมีความไม่แน่นอนสูงเกิดขึ้น เช่น คดีมาบตาพุต กับเครือ PTT เป็นต้น
ลองนึกดูซิครับ สมมุติว่าในภาวะปกติ กิจการโรงกลั่นจะมี ราคาหุ้นอยู่ประมาณ 2 เท่ากว่าของ Book Value แต่พอเกิดภาวะอย่าง มาบตาพุต หุ้นตกลงไปราคาต่ำกว่า Book Value ยกตัวอย่าง “บางจาค” ตอนหุ้นตกราคาหล่นไปเหลือ 0.6 ของ Book Value ถ้าคุณถือเอาไว้จนเหตุการณ์ดีขึ้น ราคากลับมาที่2.4 เท่า
--นั่นหมายความว่าคุณกำไร 400% (ถูกไหม) แสดงว่า ถ้าสมมุติใช้เวลา 10 ปี ในการรอให้หุ้นขึ้นจาก 0.6 เท่า ไปเป็น 2.4 เท่า แสดงว่าคุณได้ผลตอบแทนกว่า 40% ต่อปี
ถ้าคุณลอง เริ่มจาก 2 ล้าน คำนวณ 35% compounding เป็นเวลา 10 ปี คุณจะได้เป็น 400 ล้าน -- เห็นไหมครับว่า ความรวยอย่างมหาศาลที่ ดร.นิเวศน์ สร้างใน สิบปี เป็นเรื่องที่ทำได้
-- เพียงแต่คุณต้องหาหุ้น อย่างที่ผมบอก คือ ในระยะเวลาปกติสมมุติว่าขายกันที่ 3 เท่าของ Book พอมันตก ต่ำกว่า Book ก็ให้คุณซื้อไว้ (แค่นี้เอง) แล้วก็ไปขายที่ 3 เท่า ในอีก 4- 5 ปี ซึ่งถ้ามองให้ดีในตลาดก็จะมีหุ้น ถูกแพงวิ่งเป็น Cycle ไปเรื่อย
--รอให้คนโชคดี มาซื้อตอนถูกแล้วก็ขายตอนแพงอย่างคุณและผมไง….. ฮิ ฮิ….. (ดังนั้น ถ้าคุณไปเล่นหุ้นตามคนอื่น เห็นใครเล่นก็เล่นตาม ไม่ได้ศึกษามูลค่าที่แท้จริง คุณก็เป็นได้แค่แมลงเม่าเท่านั้นแหละครับ --จำไว้นะครับ”ซื้อหุ้นที่มีความเสี่ยงต่ำ ในสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนสูง” คือ กฏแห่งความมั่งคั่งอย่างแท้จริง)
"ผมว่าการลงทุนในหุ้นบ้านเราต้อง"วัดเมื่อขาย" ไม่ใช่วัดเมื่อซื้อ"
"ผมว่าการลงทุนในหุ้นบ้านเราวัดเมื่อขาย ไม่ใช่วัดเมื่อซื้อ" ก็ตอนนี้หุ้นทั้งตลาดยังถูกอยู่เลย คือ ค่า P/E ประมาณ 5 เท่า P/BV ต่ำกว่า 1 เท่า และปันผล 10% -- ผมว่า ยังมีเยอะ
-- ประเด็นมันคือ ตอนนี้ "หุ้นไทย" มันถูกอยู่ ใครๆก็สามารถซื้อหุ้น ถูก ได้ทั้งนั้น
--ดังนั้น "ถ้าคุณสามารถซื้อหุ้น (ได้ราคาถูก) ตอนนี้ไม่ได้วัดว่า คุณเก่งหรือเป็น Value Investor ได้เลย"
ถ้าใครเก่งจริง มันอยู่ที่ว่าคุณขายได้เท่าไหร่ต่างหาก
-- อย่าง PTT (ผมถามหน่อยว่าคุณ จะขายที่เท่าไหร่ -- ผมว่าคนส่วนใหญ่ที่ขายต่ำกว่า 400 บาท ก็"ขายหมู" ทั้งนั้น ((((อย่าง PTT ปกติหุ้นซื้อขายกัน 3 เท่าของ Book ถ้าอีก 5 ปี Book = 200บาท ดังนั้นถ้าเศรษฐกิจดี หุ้นจะขายกันที่ (200 * 3 เท่า = 600 บาทต่อหุ้น)
--หลายคน (งง) เลยนึกว่า ไอ้ที่ขายไปกำไรมา 50 บาท "นึกว่าแจ๋วแล้วล่ะซิ.. ฮิ ฮิ...))))-- เพราะขายไปแล้ว ก็ต้องวิ่งกลับมาซื้อใหม่ --"ตลกเด็กสิ้นดี"
-- ผมบอกได้เลยใครกำหนดราคาขายได้ถูก ถึงจะเป็นผู้ชนะ ในการลงทุนต่อจากนี้ไปอีก 5 ปีข้างหน้า
"วัดกันที่ราคาขาย" --- จริงไหมล่ะครับ...........
"ตลาดหุ้น สอนอะไรเรา"
ผมว่าหากเราเงี้ยหูฟัง เราจะพบกับสิ่งมากมายที่ตลาดหุ้นพยายามจะสอนเรา "ตลาดหุ้น คือ ตัวแทนที่จะสอนถึงความโลภของมนุษย์" เพราะยิ่ง คุณ อยากได้เงิน มากเท่าไร และ รวดเร็ว เท่าไหร่ --"ความเสี่ยง และโอกาสที่คุณจะเสียเงินก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น" จะเห็นได้จาก ระยะสั้นตลาดหุ้นผันผวนขึ้นลงอย่างรุนแรง คนที่เล่นหุ้นในระยะสั้น มีสถิติผลลัพธ์การได้เสีย แย่ยิ่งกว่า "นักพนัน"เสียอีก
ตรงกันข้ามกับ "นักลงทุน หุ้นในระยะยาว" กลับมีผลตอบแทนที่ดี และส่วนใหญ่ชนะตลาด --- ที่เป็นเช่นนั้น เพราะ ราคาหุ้นที่ขึ้นลง (ในระยะสั้น)ถูกกำหนดด้วยอารมณ์ความรู้สึก --(เวลาที่ตลาดกำลังขึ้น ทุกคนจะรู้สึกโลภ และอยากจะเข้าไปซื้อเพื่อทำกำไร (เพราะคิดว่า เข้าไประหว่างขึ้น ยังไงก็น่าจะกำไร)
แต่ปรากฏว่า พอทุกคนคิดอยากเข้าซื้อเหมือนกัน ราคาหุ้นก็ยิ่งพุ่งสูงขึ้นไปอีกตาม demand ความต้องการของตลาด ส่งผลให้ราคาหุ้นพุ่งขึ้นไปเกินกว่าพื้นฐานความเป็นจริงมาก (ดังนั้นเมื่อถึงจุดนึงที่ทุกคนรู้สึกกลัว) ราคาหุ้นก็จะ ดิ่งตกลงมาอย่างรุนแรง เพราะทุกคนคิดว่า ราคาจะตกต่อ ก็ยิ่งรีบเทขาย ส่วนคนที่รอซื้อก็รอต่อ เพราะคาดว่าหุ้น น่าจะตกต่อไปอีก (เมื่อทุกคน ไม่มีใครอยากถือหุ้น) ราคาก็จะดิ่งตก เกินกว่าความเป็นจริงมาก
จะเห็นได้ว่า การเล่นหุ้นตามตลาดอย่างมี เหตุมีผล ไม่ได้ทำให้เรากำไรได้เลย - "กลับทำให้ทุกคนกลายเป็น(แมลงเม่า) และขาดทุน" --(คำถามคือ แล้วใครล่ะ ที่ได้กำไร)
คนที่ได้กำไรกลับเป็นคนที่ซื้อหุ้นในระยะยาว เนื่องจากเขาเหล่านั้น ไม่ได้ต้องการเงินมาก ในเวลารวดเร็ว (อย่าง Value Investor เขาซื้อหุ้น โดยแทบจะไม่คิดที่จะขายเลย เขาซื้อในช่วงกิจการมีความไม่แน่นอนสูง ได้หุ้นราคาถูก แล้วก็ถือไว้ ไม่เคยขาย ซึ่งถ้าเราสังเกตราคาหุ้นเหล่านั้น ในระยะสั้นก็ผันผวนอย่างมาก เช่น บางวัน Port เขาอาจขึ้นไป 10 ล้าน บางวันจาก 10 ล้าน ก็ลดลงมาเหลือ 5 ล้าน แล้ว อาจวิ่งไปเป็น 15 ล้าน ท้ายสุดก่อนออกขึ้นไปเป็น 30ล้าน
ซึ่งแน่นอนเมื่อเขาไม่สนที่จะเอากำไรระยะสั้น(ถ้าสนระยะสั้น เขาคงขายไปตั้งแต่ขึ้นน้อยๆแล้ว) เขาจึงไม่เคยขาย --พอขายเขาก็ขายเมื่อกิจการสูงกว่าความเป็นจริงมากเกินไปแล้ว "ทำให้เขาได้กำไรสูงกว่า นักลงทุนทั่วไปมาก"
-- (เพราะเขาไม่คิดที่จะได้นั่นเอง))เขาจึง ไม่ได้ซื้อๆขายๆ ทำให้เขาไม่เสียค่านายหน้า อีกทั้งราคาก็ค่อยๆขึ้นไปเรื่อยๆ สุดท้ายก็สามารถชนะตลาดอย่างไม่ยากเย็น -- "ดังนั้น คนที่ไม่คิดอยากได้ จะเป็นคนที่ได้" "คนที่กลัว จะเป็นคนที่เสีย"
ตลาดสอนให้เราอดทน และสอนให้เรารู้จักแพ้ และนี่แหละคือสิ่งที่ตลาดหุ้นพยายามจะบอกเรา ((( ชนะ เพราะไม่คิด เอาชนะ ))) ซึ่งเป็นแนวทางเดียวของการเล่นหมากล้อม ของ "ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ " สุดยอดนักวางกลยุทธ์ ประธานซีพีออลล์ --ผู้นำ 7-11 ชนะในเกม "ค้าปลีก" โดยไม่ คิดเอาชนะ....
"เล่นหุ้นอย่างไรที่ความเสี่ยงต่ำ แต่ผลตอบแทนสูง"
เพื่อนร่วมงานในออฟฟิศที่ธนาคารกรุงเทพ ถามผมว่า"เล่นหุ้นอย่างไรที่ความเสี่ยงต่ำ แต่ผลตอบแทนสูง" ผมก็นั่งนึกอยู่แป๊ปนึง -- ผมคิดว่า นี่น่าจะเป็นคำถาม ยอดฮิตสำหรับ "ทุกคน" ที่จะเริ่มเล่นหุ้นอยากถาม -*- ที่ว่า "เสี่ยงต่ำ แต่ผลตอบแทนสูง" ก็ขัดต่อหลักการที่เขาสอนอยู่ใน Textbook ของ Business School แล้ว
(แต่)--- "ไม่ใช่ ไม่มี (มันมีครับ) --"ไอ้ที่ความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนสูง""
--- ไอ้หุ้นที่ว่า ก็คือ "หุ้นที่มี P/BV ต่ำๆ ต่ำกว่า 1 เท่า และให้ปันผลสูงๆ (7-10%ขึ้นไป)"
--- (ทำไมน่ะเหรอ)ก็เพราะหุ้นที่มี P/BV ต่ำๆ แสดงว่า เป็นหุ้นที่นักลงทุนไม่ค่อยเล่น ดังนั้น ความผันผวนจะไม่มาก หรือ "ไม่หวือหวา" ดังนั้น หุ้นจะไม่วิ่งขึ้นลง จนหน้าซีด เหมือนกับหุ้น "ยอดนิยมที่มี P/BV สูงๆ อย่าง PTT , SCC, ADVANC , PTTEP เป็นต้น"
ในเมื่อ P/BV ต่ำ (ความผันผวนต่ำ) แต่ให้ผลตอบแทนสูง --คุณก็จะได้หุ้นที่ปันผลอย่างสม่ำเสมอ --"ดีไหมล่ะครับ"
(อีกประเด็นที่คุณอาจจะสนใจ)คือ "หุ้นที่ว่ามา" มีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นสูงหรือไม่ เพราะเหตุใด? -- (มีครับ เช่น CPALL) คือ เดิมหุ้นเหล่านี้เป็นบริษัทเล็กๆ ยังไม่มีคนสนใจ ราคาหุ้นจึงถูกคือมี P/BV ต่ำมากๆ แต่เนื่องจาก กิจการดีขึ้นเรื่อยๆ ทำให้นักลงทุนเริ่มสนใจ และเมื่อกิจการเติบโต ขนาดของกิจการก็ใหญ่ขึ้น จนสามารถดึงดูดนักลงทุนรายใหญ่ได้ในที่สุด
ซึ่งใครสามารถซื้อกิจการเหล่านี้ตั้งแต่ หุ้นยังถูก -- จะได้กำไรแบบมหาศาลทีเดียว และนี่ก็คือ "แนวคิดการลงทุนอีกแบบของ Value Investor นั่นเอง"
และหุ้น CPALL ก็เป็นหุ้นที่ทำเงินให้ ดร.นิเวศน์ อย่างมหาศาลทีเดียว เพราะแกซื้อไว้ตั้งแต่ P/BV ต่ำมากๆ ตอนนี้วิ่งขึ้นไป 4-5 เท่า (จะไม่ให้แกรวยมหาศาลได้อย่างไร)
-- ตอนนี้แกแอบเก็บ BCP อยู่ (ผมแอบกระซิบแค่นี้) ที่เหลือให้คุณไปศึกษาต่อ (อีกห้าปีมาวัดกันว่า รอบนี้ BCP จะทำให้ ดร.นิเวศน์ รวยขึ้นอีกเท่าไหร่????)
"ซื้อหุ้นแพง" กับ "ขายหุ้นถูก(ขายหมู)" มันก็แย่พอๆกัน
บางครั้งผมว่า เรามองอะไรด้านเดียว สิ่งที่ผมเริ่มมีคำถามขึ้นมาในใจคือ ""ซื้อหุ้นแพง" กับ "ขายหุ้นถูก(ขายหมู)" มันก็แย่พอๆกัน " ใช่หรือไม่ --- (ผมว่าใช่นะ)
และส่วนใหญ่ ก็จะเป็นอย่างนั้น เพราะเวลาซื้อหุ้น เราก็จะ รอ (รอ) และก็ (รอ) ให้มันตกถึงสุดๆก่อน --แต่จนแล้วจนเล่าเราก็ซื้อไม่ทัน ราคาวิ่งขึ้นไปก่อน(ตกรถไฟ) ----พอราคาขึ้นไปหน่อย เราก็มักจะกลัวว่าหุ้นจะตกกลับลงไป (ก็รีบขาย)--สรุป"ขายหมู"
ดังนั้น ผมว่าการเล่นหุ้นที่ดี จะต้องตัดอารมณ์ความรู้สึกออกไป -- เหลือไว้แต่ "เหตุผล" และข้อเท็จจริงเท่านั้น
--- ถ้าเราตัดความตื่นเต้นออกไปผมว่า ภาพต่างๆที่เราวิเคราะห์จะชัดเจนขึ้น ผมเชื่อว่าในเบี้องต้น ทุกคนศึกษา "พื้นฐานหุ้น"เป็นจุดแรกอยู่แล้ว ดังนั้น ผมว่าทางที่ดีคือ เราควรจะ "Stick to the Plan" ไม่ใช่วิ่งเข้าออกตามอารมณ์
ยกตัวอย่างของ "Value Investor Strategy" คือ ซื้อหุ้นเมื่อ"หุ้นในบริษัทที่มีความเสี่ยงต่ำ เข้าสู่สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน"
ดังนั้น ราคาหุ้นจะแกว่งลงมา โดยมากจะลงต่ำกว่า Book Value (นั่นมีความหมายโดยนัยว่า ทุกๆ 1 บาทที่เจ้าของเอามาลงทุนในบริษัท -คุณสามารถซื้อหุ้นได้ถูกกว่าเจ้าของ เสียอีก" จากนั้น ก็รอรับ"ปันผล" และถือไปเรื่อยๆ "จนสถาณการณ์ ไม่แน่นอน ผ่านไป" หุ้นก็จะวิ่งกลับไปที่เท่าเดิม เช่น 2-3 เท่าของ P/BV
--จะเห็นได้ว่า คุณสามารถทำกำไรได้คราวละ 200 -300% เลยทีเดียว (ทั้งนี้ขึ้นอยู่ที่ว่า หุ้นตัวนั้นๆ ใช้เวลาเท่าไหร่ในการผ่านสถานการณ์วิกฤต ซึ่งอาจใช้แค่ 1 ปี 2 ปี 5 ปี หรือ ถึง 10 ปี คุณก็ยังคุ้ม --"เพราะถึง 10 ปี ยังคิดเป็นผลตอบแทนประมาณ 20% ซึ่งนับว่าสูงมาก")
วันพุธที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2553
โห --หุ้นช่วงนี้แรงจริงๆ สวนกระแสการเมือง
โบราณว่า "น้ำเชี่ยวอย่างขวางเรือ" ถ้าขวางเรืออาจคว่ำได้ -- ปีที่แล้ว ทุกคนมองตลาดว่า Bear Rally จึงกล้าๆกลัวๆ ผมก็คนนึงล่ะ ที่กลัว -- คือพอตลาดขึ้นผมหันเรือขวางทันที คือ "ขายทิ้งทั้ง Port"
--สรุป เรือคว่ำ ที่ขายไปคือ "ขายหมู" ตลาดวิ่งต่อไปอีก level เลย จากที่เทกระจาดหมูตอน SET 600 ต้นๆ ผมต้องกลับไปซื้ออีกทีตอน SET 700 เรียกได้ว่าผมคือ "แมลงเม่าขั้นเทพ"ดีๆนี่เอง
ปีนี้ตลาดวิ่งมาถึง ปากเหวให้ ตัดสินใจอีกแล้ว -- "ช่างโหดจริง" คือ ผมลองย้อนนึกว่าไอ้ที่ SET 600 ผมไม่เทขายกระจาดหมู นี่ เวลานี้ผมคงไม่ต้องมาเหนื่อยลุ้นรอบนี้อีกแล้ว
อาทิตย์นี้ผม จับตัวเลข เริ่มเห็นฝรั่งเริ่มขายทำกำไรบ้าง แต่พอสิ้นวันก็ยังเป็นซื้อสุทธิต่อ
-- ตอนนี้ถ้าให้เดาใจพวก สถาบัน กับ Broker ผมว่า พวกนี้เริ่มใจเสียแล้ว เพราะเริ่มเทกระจาดหมู ตั้งแต่ก่อนชุมนุมเสื้อแดง ตอนSET 690 ตอนนี้ยิ่ง สถาบันและ Broker เทกระจาดหมูเท่าใด ตลาดก็ยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ ตอนนี้จะแตะ SET 800 แล้ว (ถ้าให้ผมทาย อีกไม่นาน พวกสถาบัน กับ Broker ต้องกลับมาซื้อสุทธิ และกลับกัน ฝรั่งก็จะเริ่มทยอยทำกำไร) จากนั้น พอตลาดขึ้นไป 800 ปลายๆ ผมว่าฝรั่งน่าจะเทขายออกมาทำกำไรอย่างแน่นอน
-- คุณลองเดาซิครับว่า ตอนฝรั่งปล่อยหนักๆ แล้วใครจะเข้าไปรับ
"ถูกต้องแล้วครับ" พอตลาดวิ่งไป เกือบ 900 ฝรั่งก็จะเทขายอย่างหนัก ตลาดอาจตกรูดที่ 50 -60 จุด
-- จากนั้นครับ "แมลงเม่า" ก็รายย่อย นี่แหละ จะเข้าไปรับ
--ในใจหวังเพียงว่า เมื่อเขารับที่ SET800 ต้นๆ จะเป็นอะไรที่ถูกมาก ซึ่งเขาก็จะลุ้นต่อไปว่า เมื่อใดโชคดีฝรั่งก็จะมาเล่นต่อ (แต่ถ้า สถานการณ์พลิก เศรษฐกิจโลก เริ่มท่าทางไม่ดี กลายเป็นไอ้ที่หวังว่าฝรั่งจะมารับต่อ ก็ไม่เป็นเช่นนั้น
--- "สรุป "แมลงเม่า" ติดดอยตามเคย")
แต่ก็ไม่แน่ครับ ถ้าทุกตัวเลข ออกมาดี ฝรั่งก็จะกลับมารับจากรายย่อย แล้วก็จะปั่นขึ้นอีกรอบ เช่น เขารับมาที่ 800 เขาก็จะปั่นไปให้ถึง 1000 จุด แล้วค่อยปล่อยออกให้รายย่อยมารับที่ประมาณ 900 จุด (เฮ้อ.. เหนื่อยแทนรายย่อย ไหมครับ สรุปทุกๆรอบ คนที่เข้ามารับรายสุดท้าย (ในใจคิดว่าได้ของถูก) กลับกลายเป็นว่า ถ้าสถานการณ์เปลี่ยนทาง "รายย่อย" ติดดอยทุกที
เมื่อเป็นเยี่ยงนี้แล้ว --"คุณจะเลือกเป็น ฝรั่ง หรือ รายย่อย ละครับ" -- คุณรู้ไหมมีนักลงทุนอีกกลุ่มที่เขาเรียกตัวเองว่า Value Investor เขาไม่ได้ บ้าตามทั้งฝรั่งและรายย่อย เขามอง "รายย่อยกับฝรั่ง" เป็น "ตาอินกับตานา" คือ เขาซื้อตั้งแต่หุ้นราคาถูกๆ แล้วปล่อยให้พวกบ้า(ทั้งฝรั่งและรายย่อย)" โยนกันไปโยนมา สรุป "ตาอยู่" กลับเป็นคนที่รวยที่สุด --- "อยากเป็นตาอยู่จังครับ!!!!
"เกมหุ้น" ยิ่งเล่นยิ่งโง่
ตลกดีนะครับที่ เกมหุ้นที่พยายามสนับสนุนให้คนเข้ามาเล่นหุ้น ที่พยายามพลักดันกันแข่งขัน ทั้งของ Broker ต่างๆ และของ ตลาดหลักทรัพย์เอง
-- "เกมหุ้น" จริงๆแล้วไม่ได้สร้างนักลงทุน แต่กลับสร้างนักพนันมากกว่า เพราะเกมส่วนใหญ่กำหนดระยะเวลาการเล่นที่สั้นมาก เช่น 1 เดือน หรือ 3 เดือนอย่างมาก
ลองคิดในความเป็นจริงซิครับว่า สถิติของตลาดคือ ในระยะยาว ค่อนข้างแน่นอนคือ ให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนอื่น แต่ในระยะสั้น ไม่ต่างกับการพนันดีๆนี่เอง
(ดังนั้น การให้คนมาทดลอง จะสร้างคน 2 แบบ แบบที่ 1 นักพนัน ส่วนแบบ 2 คือ พอเล่นเสร็จเห็นความผันผวน ทำให้เขายิ่งกลัวตลาดหุ้นเข้าไปอีก สรุปได้ว่า พอเล่นเกมเสร็จ ไม่เกิดนักลงทุนเลย)
แต่ก็จะไปโทษ Broker ไม่ได้ เพราะเขาทำเงิน จากการเข้าออก ดังนั้น ถ้าเขาสร้าง "นักพนัน" และ Trader ได้มากเท่าใด นั่นหมายถึงกำไรที่มากขึ้นนั่นเอง-- ดังนั้น "อย่าหลงกล" ฮิ ฮิ...
วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2553
เราอ่านประวัติคนที่สำเร็จ แล้วทำบ้าง แต่แล้วเราก็ไม่เห็นสำเร็จ
ผมนี่แหละชอบอ่านประวัติคนที่สำเร็จ แล้วพยายามทำบ้างท้ายสุดกลับไม่สำเร็จ ตอนสมัยที่ผมทำร้านอาหารที่ Australia ผมขายดีมาก จึงคิดว่าผมน่าจะสำเร็จแบบ Macdonold บ้างจึงรีบขยายร้าน
แต่สุดท้าย ขยายไป เศรษฐกิจแย่พอดี ผมเลยไปไม่ไหว ต้องปิดร้านที่ขยายแล้วกลับมาทำที่ร้านเดิม (เรียกได้ว่าเกือบเจ๊ง) แต่ก็ทำให้เห็นมุมที่ว่า “ความสำเร็จของคนหนึ่ง จะเอามาเรียนแบบกันไม่ได้” เพราะเมื่อเวลาต่าง Cycle ของธุรกิจก็ต่างไป
ผมเห็นพวกผู้ใหญ่แนะนำว่าให้ ซื้อที่ดิน -- ลงทุนในที่แล้วจะรวย แต่เอาเข้าจริง พอเราทำตามกลับแย่ เพราะถ้ามองย้อนเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ที่ดินถูกมาก ตอนนั้นใครซื้ออาจกำไรเป็น 100 เท่า แต่ปัจจุบัน จะหวังให้ขึ้น สักเท่านึงยังยากเลย ดังนั้น คนที่ประสบความสำเร็จ อย่างราชาที่ดิน สมัยก่อนเขาอาจกำไรเยอะมากจนทำให้กิจการใหญ่โต Margin สมัยก่อนสูงมาก แต่พอมาปัจจุบัน Margin เหลือนิดเดียว ทำให้ ทำอย่างไร เราก็ไม่สามารถจะสำเร็จเหมือนในอดีตได้
อย่างซื้อหุ้นก็เหมือนกัน ถ้าผมซื้อหุ้นPTT 10 ปีก่อน หุ้นละ 30 บาท พอตอนนี้หุ้นขึ้นเป็น 900 บาท ทำให้ผมรวยมากในตอนนี้ ถ้าใครมาซื้อแล้วหวังจะได้ผลตอบแทนเหมือนผมย่อมเป็นไปไม่ได้(เพราะราคาหุ้นขึ้นไปสูงแล้ว)
ดังนั้น ทางเดียวที่จะทำให้คุณ รวยได้ คือ ต้องหาช่องทางของตัวเอง ซึ่งผมมองว่าอย่างในอดีตคนที่ซื้อหุ้นธนาคารตอนปี 2000 ก็รวย แต่มาตอนนี้มองไปข้างหน้า ผมว่า ต้องเป็นพลังงาน
-- แต่สิ่งที่ผมพูดยังไม่ได้รับการพิสูจน์ ดังนั้น ต้องรออีก 10 ปีข้างหน้าถึงจะรู้ว่าผมพูดถูก ซึ่งถ้าถูกเวลานั้นผมก็จะรวย ส่วนคนที่ไม่เชื่อ ก็ย่อมพลาดโอกาสนั้นไป (ขอบอกว่า 10 ปี มันนานมาก ดังนั้น ไม่ต้องสงสัยว่า ทำไมการลงทุนจึงมีคนที่ประสบความสำเร็จน้อยมาก)
อยากรวยเร็วทำอย่างไร
ก่อนอื่น ข้อแตกต่างระหว่างรวยเร็วกับรวยช้า มันต่างกันอย่างไร -- แต่เท่าที่เห็นคือ ใครก็อยากรวยเร็วทั้งนั้น ยกตัวอย่างในตลาดหุ้น เกือบทั้ง 100 % อยากรวยหุ้นเร็วๆ เลยต้องรีบซื้อรีบขาย ผลปรากฏว่า คนรวยกลายเป็น Broker เพราะได้ค่าธรรมเนียมไปเต็ม แต่คนเล่นหุ้นกลับเจ๊ง เพราะซื้อไปซื้อมา ทุกวัน สรุปพอขายไป แล้วก็ซื้อหุ้นตัวเดิม แพงขึ้นเรื่อยๆ บางครั้งเล่นตั้งแต่ P/BV ต่ำกว่า 1 เท่า ซื้อและก็ขายจน P/BV ขึ้นไป 4 เท่า สรุปท้ายสุดหุ้นตก ราคากลับมาที่ P/BV ต่ำกว่า 1 เท่า เท่าเดิม
(ตัวอย่างที่ผม พูดถึงเป็นเรื่องปกติของตลาดเลยครับ) ผมอ่านหนังสือเล่นนึงชื่อว่า “Black Swan” เขาเขียนได้โดนใจผมมาก เขาบอกว่า นักลงทุนส่วนใหญ่เลือกที่จะได้กำไรทีละน้อย แต่เสียทีละมากๆ -- ตลกดีครับ ก็คือ ซื้อขายหุ้นทุกวันได้กำไรวันละนิดหน่อย(ส่วนใหญ่ Brokerได้) ท้ายสุดตลาดตก กลับติดบนดอย นี่แหละครับ
-- แต่อย่าง Black Swan เขาเสนอว่า ของเขาเล่นแบบ สมมุติว่า 1 ปี คือ เขาเล่นเสียวันละนิด แต่พอวันสุดท้ายเขาได้มหาศาล กลับ อีกคนได้วันละนิด แต่วันสุดท้ายของปี เสียทั้งหมด -- ถามว่า คุณอยากเป็นแบบไหน -- แน่นอน คุณคงอยากได้มหาศาลวันสุดท้าย แต่ในความเป็นจริง นักเล่นหุ้นกว่า 99% ในตลาด เลือกที่จะได้วันละนิด แต่สุดท้ายติดดอย --ทำไมน่ะเหรอครับ -- ก็เพราะว่าธรรมชาติสร้างให้เราคิดและทำอย่างนั้น ดังนั้น โอกาสที่คุณจะรวยก็คือ ต้องลงทุนสวนความรู้สึก
ดังนั้น กลายเป็นว่า “คนที่อยากรวยเร็ว กลับรวยช้า” ส่วน “คนที่อยากรวยช้าๆ กลับกลายเป็นคนที่รวยเร็ว และชนะในที่สุด” ผมว่าคล้ายๆกับ นิทานกระต่ายกับเต่านะครับ ซึ่งเรามักมองข้ามเสมอ
จุดนี้ทำให้ผมนึกคิดถึงแง่ ที่ว่า หากเราไม่อยากได้ เรากลับมีโอกาสได้สูง -- ดังนั้น คนที่อยากได้ กลับมีโอกาสที่เสียสูง -- พูดไปแล้วเหมือนธรรมชาติลงโทษ แต่มันคือ หลักธรรมชาติ ที่ไม่มีใครฝืนได้ ดังนั้น การมุ่งเป็นนักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จ เราจะต้องมองในมุมที่กลับด้านกับคนอื่น (เป็นไง งง ไหมครับ -- แปลกแต่จริง --นี่แหละตลาดหุ้น -- ตลาดที่ทำให้คนที่มีความรู้สูงกลายเป็นแมลงเม่า -- จริงไหมครับ)
คนชั้นกลาง กำลัง หดตัวลง --คุณจะปรับตัวอย่างไร ให้คุณไม่จนลง เหมือนคนอื่น
ทุกวันนี้มีการพูดกันอย่างมาก เกี่ยวกับการที่กลุ่มชนชั้นกลาง กำลังหดตัวลง ผมว่า Trend นี้เห็นได้ชัดๆ จากประเทศพัฒนาแล้ว เพราะการขยายตัวของประชากรลดลงเรื่อยๆ ทำให้กลายเป็น “สังคมคนแก่” ปัญหาคือคนแก่ไม่ทำงานทำให้การสร้างรายได้ไม่เกิด ก็ส่งผลให้ เกิดภาวะเงินฝืด
(แต่ถามจริงเถอะ คุณคิดว่า มันจะเป็นอย่างที่พูดกันจริงหรือ -- คือ สรุปว่า ถ้าคุณแก่ตัวลง คุณก็จะหยุดทำงาน นอนรายได้ลดอยู่กับ บ้าน วันๆนั่งดูเงินตัวเอง ลดลงเรื่อยๆ -- จริงหรือ) สำหรับผม ผมไม่คิดอย่างนั้น ผมคิดว่า การทำงานของคนจะเริ่ม Shift จากการทำงานที่เกษียณอายุที่ 60 กลายเป็นทำงานจนตาย (เพราะแต่่ก่อนที่กำหนดให้คนเกษียณที่ 60 เพราะอายุขัยของคนในขณะนั้น ไม่เกิน 70 แต่ถ้าตอนนี้การแพทย์ดี อยู่ได้ถึง 100 ผมว่าก็ควรจะเกษียณที่ 90 ปี ถึงจะไม่ก่อให้เกิดปัญหา เศรษฐกิจหดตัวอย่างที่ทุกคนคาด)
ส่วนแนวทางในการพัฒนาไปสู่การเกษียณที่นานขึ้น ต้องเริ่มจาก การสร้างงานในอุตสาหกรรมที่”คนแก่” ทำได้ดีกว่าคนหนุ่ม นักวิทยาศาสตร์แบ่งให้ คนเรามี 3 ช่วง
ช่วงแรก “วัยจำ” คือ การเรียน คนที่จำเก่งก็จะเรียนดี
พอถึงวัยรุ่น จะเริ่ม”วัยจินตนาการ” จะเห็นว่า คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ เช่น งานออกแบบ คนหนุ่มจะทำได้ดีกว่าคนแก่
พอมาถึงช่วงสุดท้าย คือ “วัย วิจารณญาณ” เป็นช่วงที่ประสบการณ์ต่างๆที่หล่อหลอมเป็นปัจจัยที่สำคัญ ซึ่งส่งผลให้ คนแก่ ทำได้ ดีกว่า คนหนุ่ม เช่น การลงทุน
(คนที่ผ่านเหตุการณ์ต่างๆมามากมาย ย่อมตัดสินใจในการลงทุนได้ดีกว่า คนหนุ่มที่ไม่มีประสบการณ์)
--ดังนั้น สำหรับผม ผมมองว่า อุตสาหกรรมการลงทุน และการเงิน(รวมถึง Consulting)เป็นสิ่งที่คนแก่ทำได้ดี ดังนั้น โอกาสที่อุตสาหกรรมเหล่านี้ จะรองรับ”คนแก่” ย่อมเป็นไปได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าแตกต่างจาก “ผู้ใช้แรงงาน” แน่นอน (พวกนี้ทำงานใช้สมองรายได้สูง)
จากมุมมองที่ผมกล่าวมา ผมเชื่อ เศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนฐานความรู้ จะขยายตัวอย่างมหาศาลโดยเฉพาะ การเงินและการลงทุน ถ้าพูดในทางอ้อม ที่หลายคนคาดว่า อีกหน่อยโลกเราจะพัฒนาสู่ภาวะเงินฝืด จึงไม่น่าจะเป็นไปได้ สิ่งที่น่าจะเป็นมากกว่าคือ “เงินเฟ้อ” เพราะการขยายตัวของเศรษฐกิจความรู้ ตั้งอยู่บน “White Collar” ซึ่งก็คือ ชนชั้นกลางที่มีการศึกษาดี ดังนั้น ผมฟันธงได้ว่า “คนชั้นกลางกำลังขยายตัว ไม่ใช่หดตัว” ในประเทศพัฒนา ส่วนประเทศที่กำลังพัฒนาอย่าง จีน อินเดีย บลาซิล ก็ไม่ต้องสงสัย เพราะ ประเทศเหล่านี้มีการขยายตัวของ คนชั้นกลางอย่างมหาศาลเช่นกัน
คำถามที่เกิดขึ้น แล้วเราจะได้ประโยชน์อะไร จากการที่กลุ่มชนชั้นกลางจะขยายตัวอย่างมหาศาล --- ฮิ ฮิ ใช่แล้วครับ จะเกิดการบริโภคที่เยอะกว่าหลายสิบปีที่ผ่านมา นั่นหมายถึงความมั่งคั่งโดยรวมของโลกที่ก้าวไปอีกระดับหนึ่ง (จากที่ปัจจุบัน หลายคนพูดกันว่า โลกเรามาถึงจุดสูงสุดแล้ว ต่อไปจะต่ำลง หุ้นจะมีแต่ลง
-- ผมว่าใครเชื่ออย่างนั้นก็ตามใจท่าน แต่ท่านจะจนลง เพราะท่านจะเอาเงินฝากธนาคารซึ่งโดน เงินเฝ้อ กินไปเรื่อยๆ น่าสงสารจริงๆ) สำหรับผม เศรษฐกิจโลกจะ พุ่งขึ้นอย่างมหาศาล อย่างที่เราไม่เคยเจอมาก่อน ดังนั้น การเข้าลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจย่อมให้ผลตอบแทนที่น่าทึ่งอย่างแน่นอน
-- ผมจะยกตัวอย่างบริษัท PTT ให้เห็น คือ เมื่อ 9 ปีก่อน เพิ่งเข้าตลาด ราคา BOOK อยู่ที่ประมาณ 20 บาทต่อหุ้น ส่วนราคาหุ้น IPO ที่ราคา 30 บาท ถ้าเทียบก็คือ ตอนนั้น ใครก็ว่าหุ้นไม่ถูก แต่ใครจะคาดคิดว่า ถ้าถือหุ้นไว้ 8 ปี ราคาจะขึ้นเป็น 440 บาท แถมปันผลต่อปีก็เกิน 5% ลองนึกซิครับว่า ถ้าปี 2001 คุณเอาเงินสัก 30 ล้านมาซื้อหุ้น PTT จากนั้น 8 ปี เงินคุณจะเพิ่มกว่า 500 บาท กลายเป็นโคตรรวยเลย ฮ่า ฮ่า
-- ถ้าถามว่าโอกาสอย่างนี้มีอีกไหม ผมเชื่อว่า มันยิ่งกว่านี้อีก ในอีก 10 ปีข้างหน้า แต่ประเด็นคือ คุณเลือกหุ้นถูกตัวหรือไม่ (ฮ่า ฮ่า ไม่ง่าย ถ้าง่าย มันรวยทุกคนแล้วครับ)
ทางรอดของเศรษฐกิจโลก ดอลลาห์ หรือ หยวน
อเมริกาในตอนนี้ผมว่าไม่ต่างกับไทยตอน “ต้มยำกุ้ง” ดีไม่ดีจะยืดเยื้อกว่าไทยอีก เพราะเราปล่อยสถาบันการเงินล้ม พอพังสุด การฟื้นก็เร็ว แต่ในกรณีอเมริกาคือ ไม่ปล่อยพังดังนั้น การฟื้นก็จะช้า แต่อย่างไรก็ต้องฟื้นแน่นอน ณ วันนี้ เศรษฐกิจได้เจอ Bottom ไปแล้ว
แต่ตลาดในปัจจุบันก็พุ่งกลับไปเร็วกว่า เศรษฐกิจที่ฟื้น ทำให้หลายคนมองว่า ตลาดหุ้นจะกลับไปเป็น Double Dip จริงๆแล้วถ้าคุณเป็น Investor ไม่ใช่ Trader แล้ว ผมว่าจะ Double Dip หรือไม่ มันไม่ใช่ประเด็น เพราะในมุมมองของ Investor คือ ซื้อหุ้นที่ราคาถูก (ซึ่งตอนนี้ก็คือถูก) จากนั้น ก็รับปันผลไปเรื่อยๆ รอจนตลาดฟื้นค่อยไปขาย ตอนหุ้นแพง
ทุกวันนี้ผมมองว่า อเมริกา พยายามเบี่ยงเบนความสนใจ โดยการกดดัน จีน และประเทศต่างๆ ซึ่งระหว่างนี้ ก็ค่อยรอให้เศรษฐกิจจริงๆค่อยๆปรับตัว ซึ่งแม้ช้าหน่อย แต่มันก็กำลังขึ้น -- การโจมตี ค่าเงินหยวนในปัจจุบัน ผมมองว่าไม่ใช่สาระหลัก เพราะแท้จริงแล้ว ในเดือนมีนานี้ เขาคาดกันว่าประเทศจีนเริ่มขาดดุลการค้าแล้ว เพราะการนำเข้าที่สูง ในขณะที่การส่งออกหดตัว
ดังนั้น ถ้าจีนปล่อยให้เงินหยวนเพิ่ม จะยิ่งทำให้การนำเข้าขยายตัวสูงขึ้นไปอีก และ การส่งออกลดลงไปอีก ประเด็นนี้ผมมองว่า จะคล้ายๆกับไทยช่วง Asian Miracle ที่คนไทยรวยและฟุ้งเฟ้อมาก ชอบซื้อ Brand Name ส่งผลให้การนำเข้าสูงสุดๆ ซึ่งตอนนี้จีนก็เข้ามาสู่กับดักความหรูหราของ “คนรวยใหม่” ที่เพิ่งรวยก็อยากซื้อของต่างชาติมาใช้
ถ้าเอาไทยเป็นบทเรียนจะเห็นได้ว่า จีนยังสามารถโตต่อไปอีกหลายปี แม้จะเริ่มขาดดุลการค้าก็ตาม(แต่ในที่สุดต้องระเบิด เหมือน”ต้มยำกุ้ง”ของเรา) แต่ก่อนที่จีนจะระเบิด ผมมองว่า เศรษฐกิจอเมริกาจะกลับมาดีแล้ว พร้อมๆกับการเริ่มเกิดอุตสาหกรรมใหม่ ซึ่งน่าจะเป็น Clean Energy ที่เริ่ม Boom ขึ้น
-- เมื่อเวลานั้นมาถึง โอกาสที่ Commodity อาจกลับเข้าสู่ขาลงอีกครั้ง หลังจากที่ขึ้นมาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น ใครที่คิดว่าราคาทองจะขึ้นไปเรื่อยๆ ผมว่า คุณควรระวังเอาไว้ เพราะทองก็คือ Commodity อย่างนึง เวลาเศรษฐกิจดีทองจะแย่และแย่มากๆด้วย ในส่วนของหุ้นที่อิง Commodity ต่างๆก็ถือว่าจะน่าเป็นห่วง (แต่ที่ผมพูดมันยังไม่ใช่ตอนนี้ มันอีกเป็น 10 ปีข้างหน้า)
ดังนั้น ถ้ามองให้ดี ก่อนที่จะแย่ตลาดย่อมวิ่งขึ้นไป Peak เสมอ กลายเป็นโอกาสให้เข้าลงทุน Commodity ในรอบนี้ ซึ่งผมก็เป็นหนึ่งในกลุ่มคน ที่ใจถึง เสี่ยงดู อันนี้อีก 2 ปี จะรู้ว่า หมู่หรือจ๋า ฮิ ฮิ ….. หลังจากที่ Commodity Peak ควรเป็นโอกาสให้เข้าสู่ Clean Technology จะว่าไปแล้วบ้านเรายัง เพิ่งเริ่ม จะเห็นก็มีแต่ BCP นี่แหละที่เริ่มก่อน (ใครเล่นยาวเก็บเลย)
ในส่วนของเม็ดเงินลงทุน ในรอบใหม่ผมเชื่อว่า เอเชีย จะดึงดูดเงินลงทุนมากกว่า อเมริกา และ ยุโรป--- อย่างไรก็ตาม อเมริกาก็ยังคงเป็นอเมริกา ซึ่งท้ายที่สุด ก็ยังคงเป็น Power ที่ต้องกลับมา (ไอ้พวกที่บอกว่า อเมริกา และ ดอลล่าห์ จะหายไป ผมว่า ตลกมากกว่าครับ) ส่วนเงินหยวน และจีน แม้จะดีในการเก็งกำไรระยะสั้น แต่กว่าที่จีนจะก้าวมาเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจของโลกได้ ผมเชื่อว่า ตลาดจะต้องพังอย่างน้อยหนึ่งรอบก่อน ซึ่งเมื่อจีนพัง ไทยก็ย่อมไม่เหลือ ผมมองปี 2557 เป็นปีที่เสี่ยงของจีน แต่หลังจากนั้น เราน่าจะกลับเข้าสู่ยุคเฟื่องฟูของโลกที่ เติบโต บนความยั่งยืนตามมา
โอกาสเก็บหุ้นถูกในตลาด(ยังมี)
ในตอนนี้ตลาดหุ้นขึ้นไปจะแตะ SET 800 จุด เข้ามาทุกที -- ซึ่งผมก็ค่อนข้างยิ้มเพราะPort ผมให้น้ำหนักกลุ่มพลังงาน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ฝรั่งซื้อซะด้วย เลยยิ้มเป็นธรรมดา แต่ที่ว่า “ค่อนข้างยิ้ม” ก็คือ ไม่ได้ยิ้มเต็มที่ เพราะในใจผมรู้ดีว่า การที่ฝรั่งเข้ามารอบนี้ ผมเชื่อว่าเข้ามาเก็งกำไรระยะสั้น
แต่อย่างไรก็ตาม ถ้ามองจากปีที่แล้วที่ฝรั่งเข้ามาเก็งกำไรระยะสั้น เก็บปันผลตลอดปีประมาณอีกกว่า 5% รวมกับอิ่มหนำกับ Capital Gain เกือบ 60% และกว่า 100% (ในหุ้นตัวใหญ่ที่ราคาถูก เช่น IRPC, PTTAR) จากนั้น ฝรั่งก็ทิ้งหุ้นออกไปนอนตีพุง ปลายปี --จะเห็นได้ว่ารอบปีที่แล้วที่ฝรั่งเข้ามาเก็งกำไรระยะสั้น ส่งผลให้ตลาดขึ้นมากว่า 60% ดังนั้น ในปีนี้ก่อนที่ฝรั่งจะออก ผมว่าต้องเห็น ตลาดวิ่งขึ้นไปอีกพอสมควร
อย่างไรก็ตามถ้ามองในตลาดขณะนี้แม้ว่า หุ้นส่วนมากจะเริ่มวิ่งแล้ว แต่หุ้นที่ยังราคาถูกยังมีอีกเยอะ -- ตัวไหนถูกล่ะ -- ครับให้ดูที่ P/BV ให้ต่ำกว่าหรือประมาณ 1 เท่า ประกอบกับ P/E ต่ำ ยิ่งต่ำกว่า 10 เท่า ยิ่งดี
และที่สำคัญ ต้องปันผลไม่ต่ำกว่า 3 – 5 % ถ้าเข้าข่ายที่ผมว่ามา คุณซื้อทิ้งยาวได้เลย (เช่น CFRESH , KK , TCAP , PL , ASP , TTA , BCP , ESSO , THCOM , EGCO , JMART , SIRI ยังมีอีกหลายตัว ที่สำคัญสุดๆเลยผมว่า เงินปันผลต้องให้ เพราะถ้าตัวไหนให้ปันผลดี ผมถือว่ามี Margin of Safety สูง เพราะยังไงคือ ตลาดขึ้นไม่ขึ้น คุณก็รับปันผลไปเนอะๆแล้ว )
อย่างบางตัวผมชอบ แต่ราคาหุ้นตอนนี้ก็ไม่ถูกแล้ว อย่าง ADVANC คือ ปันผลปีนี้ 10 กว่า เปอร์เซ็นต์ แต่ราคาขึ้นไป สามเท่ากว่า ของ Book Value แต่อย่างไรก็ตาม ผมมองว่า ถ้า 3G เกิด ย่อมต้องมีการลงทุนอีกมาก ดังนั้น โอกาสโตของ Book Value ก็มีสูง และยิ่งหุ้น ADVANC โดยปกติเป็นหุ้นที่เล่นกันที่ 4 – 5 เท่าของ Book อยู่แล้ว ดังนั้น หุ้นตัวนี้แม้ไม่เข้าตา Value Investor แต่ผมชอบ เพราะมันยังไปต่อได้อีกเยอะ แถมผมได้ปันผลเรื่อยๆเป็นการลดความเสี่ยง คือถ้าตลาดตกลงไปอีกผม ก็ไม่กลัว ก็เอาปันผลนี่แหละซื้อเพิ่มให้ Port ผมถูกลงไปอีก
ดังนั้นในแนวทางที่ผมลงทุนจะต่างจาก Value Investor นิดหน่อยตรงที่ผมจะเน้น ปันผลมาประกอบด้วย เพราะถือว่า เป็น Room ที่ผมจะได้เงินสด เพื่อลดความเสี่ยงของ Port ลงได้ -- คือ มุมนึง ที่ผมมองก็คือ อย่าง หุ้น PTT หลายคนมองว่าแพงแล้ว แต่ผมว่า ยังถูกอยู่มาก
เพราะจริงๆ PTT จะเป็นหุ้นยอดนิยมคล้ายๆกับ SCC ซึ่งตอนนี้ถ้าดู SCC ตอนนี้ 3 เท่าของ Book ขณะที่ PTT ยังอยู่เท่ากว่าๆ ซึ่งถ้าไม่ติด มาบตราพุต ป่านนี้ PTT ต้องซื้อขายกันที่ไม่ต่ำกว่า 3 เท่าของ book ( ผมคาดว่า Book Value ของ PTT ในอีก 5 ปี จะอยู่ที่ประมาณ 200 บาท ถ้า 3 เท่าของ book ก็คือ 600 บาท
-- ลองคิดซิครับว่า คุณซื้อวันนี้ประมาณ 250 บาท รับปันผลประมาณ 3 – 4 % ต่อปี แล้วไปขายที่ 600 บาท อีกห้าปีข้างหน้า -- คุณลองหาการลงทุนที่ดีกว่านี้มาให้ผมดูหน่อยซิครับ ผมว่ายาก-- ดังนั้น PTT ผมชอบ) ในระยะสั้นผมชอบ PTTAR เพราะถ้ารอบเข้ากับ IRPC ผมว่า Capital Gain จะได้ในเวลาไม่นาน พอรวมกัน ผมก็ขายทิ้ง ได้เงินสด มารอซื้อ ตัวที่ถูกต่อไป
จะเห็นได้ว่า การจัด Port ต้องมีการคิดตลอดเวลา ไม่ใช่คิด เข้าออกจากตลาด แต่เป็นการคิดเปลี่ยนระหว่างหุ้น คือ ถ้าตัวไหนแพงแล้ว ก็ลดความเสี่ยงไปยังตัวที่ถูกกว่า --- ต้องไม่ลืมว่าปีที่แล้วปีนี้ และปีหน้า ยังอยู่ในปีที่น่าซื้อหุ้นอยู่ เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่กลัว แสดงว่า ตลาดยังไม่ได้ Peak แปลว่า หุ้นยังขึ้นได้อีก
แต่ถ้าหลังจากปีถัดจากปีหน้าไป ผมว่า เศรษฐกิจ น่าจะเริ่มดีทั่วโลก และเมื่อเวลานั้นมาถึง ผมว่าควรจะเป็นเวลาที่คุณลด Port คือ ทยอยขายตัวที่แพง P/BV สูงๆ ออกไป แล้วก็โยกไปตัวที่ต่ำกว่า แต่ถ้าไม่มี ก็กลับมาที่พันธบัตร หรือ เงินฝาก ซึ่งถ้าเวลาเศรษฐกิจดีๆ เงินฝากก็ย่อมสูงขึ้น อาจเกิน 5%
(ลองนึกให้ดีครับว่า สิ่งที่ผมพูด Make Sense หรือไม่ “จงซื้อหุ้นในเวลาที่คนอื่นกลัว และขายหุ้นในเวลาที่คนอื่นโลภ) (ที่สำคัญสำหรับกฏนี้คือ คุณต้องถือไม่ต่ำกว่า หนึ่งปีขึ้นไป )--ไม่งั้นคุณก็ขายหมูอยู่ดี -- เพราะกลายเป็นว่า คุณซื้อหุ้นในปีที่หุ้นถูก แต่คุณก็ได้ขายไปในปีที่หุ้นยังถูกอยู่ -- ผมถามว่าทำไมคุณไม่ถือต่ออีกนิด แล้วค่อยไปขายในปีที่หุ้นแพง ระหว่างที่คุณถือ คุณก็รับปันผลไปด้วย อย่างนี้ไม่ดีกว่าหรือครับ
World Billionaires วัดความรวยกันที่ไหน
ผมหยิบ Forbes เล่มใหม่ เกี่ยวกับ World Billionaires อ่านก็รู้สึกว่าที่ Editor พูดว่าเดี๋ยวนี้ คนรวยวัดกันที่ US DOLLAR คือ อย่างในปัจจุบัน US DOLLAR อ่อน เศรษฐีในเอเชียก็ติด Chart มากหน่อย เพราะค่าเงินเอเชียแข็งกว่า DOLLAR เลยทำให้เราดูรวยขึ้น
--อย่างตอนต้มยำกุ้ง เงินบาท ลดค่าไปครึ่งนึง เลยทำให้เศรษฐีไทยตกกระป๋องไปเลย เพราะจริงๆนับตั้งแตปี 1997 เป็นต้นมา ค่าเงินเราก็ยังถูกกว่าสมัยก่อนมาก อย่างแต่ก่อนเปลี่ยนค่าเงินผมจำได้ว่า 1 ดอลล่าห์ เท่ากับ 25 บาท -- ตลกไหมว่าตอนนี้พอเงินบาทแตะ 32 บาทต่อ 1 US ออกมาร้องกันบอกเงินบาทแข็ง (ยิ่งแข็งยิ่งทำให้คนไทยรวยขึ้น จริงไหม --ผู้ส่งออกบอกไม่จริง ผมว่าการที่ค่าเงินเราอ่อนมานาน ทำให้ผู้ส่งออกเคยตัว เลยไม่ต้องเร่งพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต เอาแต่ใช้ค่าเงินพยุงให้ขายของได้ มิน่าบ้านเราเจริญช้า)
ถ้าอยากบีบให้ เราพัฒนาผมว่า ให้เงินบาทแข็งถึงจะดี จริงไหม ฮิ ฮิ... ตอนนี้เวียดนามมาอีแบบเดียวกับเรา พอแข็งไม่ไหวรีบลดค่าเงินดอง ของส่งออกจะได้ขายได้ (ตัดราคากันเข้าไป นี่หนาคนเอเชีย) จีนก็ไม่ยอมปล่อยค่าเงิน -- ถ้าผมเป็นจีนนะ ผมจะปล่อยให้ค่าเงินสูงขึ้น เป็นการบีบให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรม แต่ปล่อยให้ค่าเงินหยวนค่อยๆขึ้นช้าๆ พัฒนาไปกับการตั้งกองทุนแบบ RMF/LTF อย่างบ้านเรา แต่ให้ไปลงทุนต่างประเทศให้หมด คือ พอค่าเงินหยวนแพง ก็ซื้อหุ้นต่างประเทศ หรือ Asset ได้ถูก แล้วค่อยๆเร่งให้การลงทุนต่างประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผมว่าเน้นลงมันกลับไปในอเมริกานี่แหละ อยากมาบีบให้ขึ้นค่าเงินดีนัก ก็ซื้อสินทรัพย์ของอเมริกาไปเลย ดีกว่าซื้อพวก Treasury Bill เป็นไหนๆ
กลับมาที่บ้านเรา ผมว่าในอนาคตเงินบาทควรแข็งขึ้นเรื่อยๆ และก็เน้นให้กองทุนเราไปเล่นในต่างประเทศมากขึ้นโดยให้ Incentive ทางภาษี อย่างนี้ถึงจะทำให้คนไทยรวยขึ้น เมื่อเราเป็น Inter มากขึ้น เราก็จะดูดีในสายตาต่างประเทศ ทีนี้เขาก็จะขนเงินกลับมาลงทุนบ้านเราเพิ่ม ---ตรงนี้ส่งผลดีต่อตลาดหุ้น ทำให้หุ้นเราขึ้นไปในราคาที่ควรจะเป็น(ตอนนี้ SET ถูกเกินไป มีที่ไหน Dividend สูงอย่างบ้านเรา แสดงว่าจริงๆไส้ในบริษัทของเรามันดีกว่าที่ต่างชาติคาด ) ตอนนี้ผมว่าเขาเริ่มจะรู้แล้ว ตลาดเลยเริ่มวิ่ง -- เพราะถ้าเทียบเพื่อนบ้านเราควรอยู่ที่ 1000 จุดไปแล้ว (ไม่ใช่อยู่แค่นี้)
สรุปไปมาก็คือ ตลาดเราต้องไปอีกมาก จึงจะสะท้อนความมั่งคั่งที่แท้จริงของคนไทย (อีกไม่นาน ต่างชาติต้องเข้าใจ) แล้วเรา(คนถือหุ้น)ก็จะรวยขึ้น (เราในที่นี้คือ คนที่มีหุ้นอยู่ในครอบครอง ส่วนคนที่ถือเงินสดไว้ ก็รอกินแต่แห้วละกันครับ ฮิ ฮิ)
"ให้ลงทุนในธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่มีความไม่แน่นอนสูง"
"ให้ลงทุนในธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่มีความไม่แน่นอนสูง" เป็นคำแนะนำจากหนังสือ DHANDHO INVESTOR โดย Mohnish Pabrai
-- ผมได้อ่านคำพูดนี้แล้วรู้สึกว่าโดนมาก เพราะเขาบอกว่า เศรษฐีของโลก อย่าง ลักษมี มิลตาล เจ้าของ Mittel กิจการเหล็กที่ใหญ่ที่สุดในโลก หรือ แม้แต่ Carlos Slim (คนที่ล้มแชมป์รวยสุดในโลกจาก Bill Gates ในปีนี้)เองก็มีแนวคิดที่ว่านี้เช่นเดียวกัน
-- ทีแรกผมก็ไม่เข้าใจ พออ่านๆไปจึงถึงบางอ้อ ว่า สาเหตุที่ควรลงทุน "ในธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่มีความไม่แน่นอนสูง" เพราะการที่เราจะได้ซื้อหุ้นราคาถูก ย่อมเป็นช่วงที่นักลงทุนคนอื่นสงสัย ลังเล ไม่แน่ใจ สถานการณ์ ซึ่งแน่นอน เวลาที่หุ้นตกย่อมหมายถึง วิกฤตในขณะนั้น เช่น กลุ่ม PTT ช่วงที่มาบตราพุต โดนระงับ , กลุ่ม Telecom ช่วงที่มีการพาดพึงคดี เอื้อประโยชน์ คุณ ทักษิณ
แน่นอน การเข้าลงทุนในช่วงเวลาดังกล่าว ถือว่าไม่แน่นอน (กลัวกิจการเจ๊ง) แต่หากเราเข้าใจว่า แท้จริงๆแล้ว ธุรกิจที่เราลงทุนมีความเสียงต่ำ เราก็สามารถที่จะลงทุน
-- อย่าง PTT ถ้ามองให้ดี คือ ผู้ผูกขาดพลังงานของประเทศ ดังนั้น ไม่ว่าวิกฤตจะแรงแค่ไหน PTT ก็จะผ่านไปได้(เรียกว่ามีความเสี่ยงต่ำ) หรือ อย่างในกรณีของ ADVANC ผู้ให้บริการมือถือที่ใหญ่ที่สุด มีผู้ถือหุ้นมากมาย และมีเครือข่ายที่ใหญ่ และสำคัญที่สุดในประเทศ ก็คือ ความเส่ยงต่ำ
ดังนั้น ไม่ว่าเหตุการณ์จะเลวร้าย ก็น่าจะผ่านไปได้ --- การเข้าซื้อในกิจการที่มีความเสี่ยงต่ำ ในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน(วิกฤต) ย่อมได้ ซื้อหุ้นในราคาที่ถูกมากๆ และเป็นโอกาสที่จะได้กำไรสูงสุดนั่นเอง
คำถามที่เกิดขึ้นคือ "คุณกล้า ไหมล่ะ"
ตลาดหุ้นขึ้นใครรวยที่สุด
2 สัปดาห์ที่ผ่านมา นักลงทุนฝรั่งเข้าอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ Market Cap. เพิ่มจาก 5.8 ล้านล้านบาท เป็น 6.1 ล้านล้านบาท --- ตลาดเพิ่มขึ้น 3 แสนล้าน แต่เงินที่ไหลเข้าตลาด Net(สุทธิ)จริงๆ ไม่กี่หมื่นล้าน
--- อ้าว ถ้างั้น แสดงว่ามูลค่าที่แสดงในตลาด ไม่ใช่มูลค่าที่แท้จริง "เพราะเงินไม่ได้ไหลเข้าตลาด เท่าที่มูลค่าตลาดเพิ่มขึ้น" ประเด็นนี้ถามว่าใครรวยสูงสุด ?
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจก่อนว่า มูลค่าของตลาด ไม่ใช่ตัวเงินสด ที่มีอยู่ในตลาด แต่เป็นมูลค่าในสายตานักลงทุนในขณะนั้น เช่น ถ้านักลงทุนที่ซื้อขาย อยากที่จะซื้อในราคาแพง เช่น ปกติหุ้น PTT ซื้อขายที่ 250 แต่ถ้านักลงทุนที่ซื้อขายในตลาดนั้น มองว่าราคาจะขึ้น ก็ย่อมเสนอซื้อในราคารที่สูงกว่า
ความต้องการยิ่งมากยิ่งส่งผลให้ราคาสูงขึ้นไป เช่น ราคาอาจพุ่งไปถึง 350 บาท ซึ่งถ้าราคาหุ้นทุกตัวสูงก็ทำให้ตลาดมีมูลค่าโดยรวมเพิ่มขึ้น (มูลค่าตลาดโดยรวม เท่ากับ ราคาหุ้นในตลาด คูณ จำนวนหุ้นทั้งหมด)--- ถ้าถามว่าใครจะรวยที่สุดถ้าตลาดขึ้น ก็คือ ผู้ถือหุ้นใหญ่ หรือ คนที่ซื้อหุ้นไว้ตอนราคาถูก (จำนวนมากๆ) ส่วนนักลงทุนที่ซื้อขายรายวัน ได้แค่ส่วนต่างจากราคาที่ซื้อและขาย แถมยังเสียค่า Broker อีก
(เลยไม่แปลกที่ คนที่จะได้ประโยชน์จริงๆ คือ คนที่ซื้อหุ้นบริษัทเยอะๆ ในเวลาที่ราคาหุ้นถูกๆ แล้วก็ถือไว้ขายตอนที่ราคาหุ้นมากๆ -- ส่วนพวกที่ซื้อๆขายๆ (กองทุน) พวกนี้ได้แค่ส่วนต่าง ยิ่งถ้าเขาซื้อขายในช่วงตลาดขาขึ้น นั่นหมายความว่า พอเขาขายทำกำไรแล้ว เขาก็ต้องกลับไปซื้อในราคาหุ้นที่สูงขึ้น --สรุปว่ากำไรที่คุณได้มาในตลอดแลก อาจเสียทั้งหมดในเวลาต่อมา เพราะต้นทุนสูงขึ้นเรื่อยๆ แถมยังเป็นสินค้าเดิม(หุ้นเดิม) นั้นคือ ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในขณะที่กำไรเท่าเดิม
(เพราะโดยปกติ นักเล่น มักตัดกำไรขาดทุนที่ประมาณ 10% ) ลองคิดดีๆ ครับว่า กองทุน 100 ทั้ง 100 ซื้อขายหุ้นอย่างที่ผมบอกคือ เมื่อตลาดขึ้น ต้นทุนการซื้อขายจะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เขามีความเสี่ยงมากขึ้น ในขณะที่กำไรเท่าเดิม(หรืออาจลดลง)
ผมเป็นคนหนึ่งที่มอง Strategy ของพวกกองทุน ไม่ Make sense ดังนั้น ผมค่อนข้างที่จะไม่เห็นด้วยกับการเล่นหุ้นผ่านกองทุน หรือ แม้แต่การซื้อกองทุนรวม
ดังนั้น สรุปได้ว่า คนที่รวยก็คือ คนที่เล่นหุ้นระยะยาว และมอง Cycle ได้อย่างแม่นยำ โดยที่ไม่ได้มีการซื้อขายบ่อยๆ เพียงแต่จะรอที่จะซื้อในช่วงที่ราคาหุ้นถูกเท่านั้น (ซึ่งแน่นอน ไม่ได้ทำได้ง่ายๆ เพราะเวลาที่หุ้น ราคาถูก นั่นหมายถึง ต้องมีเหตุการณ์ที่ไม่ดี นั่นเอง คนอื่นจึงขายออกมา ดังนั้น การที่เราจะกล้าซื้อในช่วงที่คนอื่นขาย -- คุณจะต้องไม่ธรรมดา)
วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2553
หมอเงินเดือน 2 แสน 3 แสน (ทำไมไม่รวยสุดๆซะที)
จริงๆแล้ว ผมว่าเงินเดือนหมอนี่มากจริงๆ ถ้าเทียบกับคนทั่วไป แต่การได้เงินเดือนมากในบางครั้งกลับ กลายเป็นจุดอ่อน
--จะเห็นได้ว่า คนที่หาเงินเก่ง (ยิ่งเงินนั้นหามายาก) โอกาสที่เขาจะเอาเงินนั้นไปเสี่ยงก็ยิ่งมีโอกาสน้อย (ในระบบทุนนิยม -- หากคุณหยุดเสี่ยงคุณก็ไม่มีทางรวยได้ )
เพราะอะไรหรอ -- เพราะคนส่วนใหญ่ไม่กล้าเสี่ยง ดังนั้น ความรวย ซึ่งจริงๆไม่ได้นับจำนวนเงินที่หามา แต่อยู่ที่ เงินที่คุณมี เทียบกับคนอื่นต่างหาก
-- เพราะถ้ามองให้ดี หากวันนี้ ทุกคนได้เงินเดือน หนึ่งล้าน ดังนั้น เงินล้านก็กลายเป็นเงินน้อย (ซึ่งมากน้อย คือ เทียบกับคนอื่น) สิ่งนี้ทำให้ เกิดการแข่งขัน
-- และวิธีชนะ ก็คือ ทำต่างจากคนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะการลงทุน
-- เมื่อคนส่วนใหญ่หนีจากหุ้น ให้คุณวิ่งเข้าซื้อ และเมื่อไหร่ที่ทุกคนวิ่งเข้าหาหุ้น ให้คุณรีบขายหุ้นที่คุณมีให้เขาไป (ฟังง่าย ทำยาก)
ดังนั้น ประเด็น การสร้างความมั่งคั่ง ไม่ได้อยู่ที่คุณหาว่ามากเท่าใด มันอยู่ที่ว่า ท้านสุดท้ายคุณมีเท่าไหร่ หลังจากเหลือใช้ เช่น บางคนหาเงินได้ 10 ล้าน แต่ไม่มีเวลาลงทุน ดังนั้น คุณก็จะมี 10 ล้าน (โดยที่มูลค่าของเงินลดลงตามเงินเฟ้อ)
ในขณะที่อีกคนอาจหาได้แต่ 2 ล้าน แต่ลงทุนได้ 10 เท่า ก็จะกลายเป็น 20 ล้าน -- ยิ่งเวลาผ่านไป สองคนนี้ก็จะรวยแตกต่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ
-- จะเห็นได้ว่า การมุ่งหาเงินให้มาก โดยที่ไม่สนใจการลงทุน ไม่ได้ทำให้คุณรวยขึ้นเลย
-- จริงๆแล้ว ทั้งชีวิต คนเราสามารถหาเงินมากๆ ได้ไม่บ่อยนัก เรียกจุดนั้น ว่าเวลาทองของชีวิต ซึ่งแต่ละคนก็จะมีเวลาทองของชีวิตต่างกัน
-- ดังนั้น เวลาที่เหลือ ส่วนใหญ่ คุณจะต้องให้เงินทำงานเอง ไม่งั้นเงินที่หามาได้ มันจะลดค่าตามเงินเฟ้อ และนี่เป็นคำตอบว่า ทำไม คนที่ได้เงินเดือนสูงสุดในสังคม อย่่างหมอ จึง "ไม่รวยสุดๆ"
ธุรกิจที่น่าจับตามอง (โอกาสเติบโตสูงในอนาคต)
CENTEL ตอนนี้นับเป็นวิกฤตของธุรกิจ ของโรงแรม ในขณะนี้ Supply ของธุรกิจโรงแรม มีมหาศาล แต่ Demand ลดลงอย่างต่อเนื่อง เหตุผลมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ ที่ทำให้การท่องเที่ยวซบเซามาก (ตอนนี้จะว่าไปแล้วทั้ง ธุรกิจการท่องเที่ยว โรงแรม รวมทั้งสายการบิน นับว่ากำลังเข้าสู้ยุคมืดเลยก็ว่าได้)
แต่ถ้ามองภาพใหญ่ ผมยังเชื่อศักยภาพของประเทศไทยในด้านการท่องเที่ยว อีกทั้งถ้ามองให้ดี คุณภาพของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ของไทยเริ่มพัฒนาคุณภาพดีขึ้นเรื่อยๆ สาเหตหลักมาจากการลงทุนอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะ ธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ท คือ ถ้ามองให้ดี ประเทศไทย นับเป็นประเทศหนึ่งที่มี รีสอร์ทที่มีคุณภาพมากมาย
จุดนี้ผมมองว่า เป็นจุดขายที่ดีเพราะการเพิ่มขึ้นของธุรกิจรีสอร์ท ส่งผลให้แข่งกันพัฒนาทั้งคุณภาพและบริการ ซึ่งจะก่อให้เกิด อุตสาหกรรมที่แข็งแกร่งในอนาคต --- อย่าง CENTEL ในเวลานี้ราคาหุ้นค่อนข้างต่ำ คือ ต่ำกว่า Book Value ซึ่งถ้าวันใดที่อุตสาหกรรมนี้ Pick up โอกาสที่ธุรกิจนี้จะมีมูลค่าสูงขึ้น ยิ่งอย่าง CENTEL ที่มีความได้เปรียบทั้งด้าน Brand และ Network ที่ครอบคลุม รวมทั้ง Economic of Scale ทำให้กลุ่ม CENTEL มี Competitive Advantage เหนือคู่แข่งรายเล็กๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป
CPN เซ็นทรัล ผมมองว่ามีอนาคต สอดคล้องกับประเทศไทย คือ หากเรามองว่าอนาคตของประเทศจะดี CPN น่าจะเป็นกลุ่มที่ได้ ประโยชน์อย่างมาก เพราะปัจจุบัน CPN เริ่มขยาย ออกไปตลาด ต่างจัวหวัดมากขึ้นเรื่อยๆ --นี่เป็นสัญญาณของการมองอนาคต ที่มองว่าตลาดต่างจังหวัดจะขยายตัวมากขึ้น จนในที่สุดจะใหญ่กว่ากรุงเทพ ประกอบกับการแข่งขันที่ไม่สูง
ดังนั้น หากใครสามารถครองตลาดต่างจังหวัดได้ก่อน นั่นหมายถึง ศักยภาพการเติบโตที่ยั่งยืน ตัวอย่างธุรกิจที่ได้ประโยชน์อย่างมหาศาลจากการขยายตลาดต่างจังหวัดคือ CPALL 7-11 ที่เข้าครอบคลอง ตลาดค้าปลีกสะดวกซื้อ ทั้งประเทศ จึงนับว่า เป็นเคลือข่ายที่แข็งแกร่ง และได้เปรียบคู่แข่งอย่างขาดลอย ในระยะเวลายาวนาน
วิเคราะห์มาถึงตรงนี้ ไม่ต้องสงสัยว่าทำไม Value Investor มือหนึ่งอย่าง ดร.นิเวศน์ เลือกลงทุนโดยไม่ยอมขายหุ้นตัวนี้ -- หุ้นอีกตัวที่น่าสนใจคือ BIGC แต่ปัญหาคือ หุ้นตัวนี้ไม่ค่อยมีสภาพคล่องและราคาไม่ถูก (ถ้าอยากซื้อคงต้องรออีกนาน)
CPF และ TUF เป็นหุ้นที่น่าสนใจแต่ ปัญหาคือ ราคาตอนนี้มันค่อนข้างสูง หากต้องการซื้อก็ต้องรอเช่นกัน
ธนาคารขนาดกลางเช่น KK และ TCAP เป็นหุ้นที่มีโอกาสเติบโตในระยะยาวสูง เพราะหากดอกเบี้ยนโยบาย ยังคงระดับเช่นนี้ก็จะทำให้ Yield Curve ชัน ซึ่งหมายถึงกำไรที่สูงสำหรับธุรกิจธนาคาร ซึ่งผมมองว่า ธนาคารใหญ่ ทั้งสาม (BBL ,SCB, KBANK)ราคาหุ้นขึ้นมาสูงจนสะท้อนมูลค่าความเป็นจริงไปหมดแล้ว โอกาสขึ้นต่อจึงไม่สูงนัก
ความกดดันในรูปแบบใหม่
ผมว่าในปัจจุบัน ความกดดันในการดำรงชีวิตมีมากขึ้น ประการแรก ผมว่ามาจากที่คนมีการศึกษามากขึ้น และสังคมเป็นระบบเปิดมากขึ้น (ในที่นี้หมายถึงไม่ว่าใครก็ตามมีโอกาสที่จะเปลี่ยนสถานะของตัวเองได้หากมีความสามารถและได้รับโอกาสที่ดี)
อย่างไรก็ตามความเปิดมากขึ้นของสังคม ทำให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้นในการจะยกระดับคุณภาพชีวิตและฐานะ เหล่านี้ล้วนนำมาซึ่งความกดดัน เริ่มตั้งแต่แข่งกันเรียน แข่งกันเข้ามหาลัยดีๆ และ ก็แข่งกันหางานทำ
-- ผลดีของการแข่งขัน คือ ประสิทธิภาพของคนสูงขึ้น แต่ผลเสียคือ สุขภาพจิต วิ่งสวนทางกับกราฟความมั่งคั่ง นั่นหมายความว่า การที่คนรวยขึ้น ไม่ได้มีความสุขมากขึ้น กลับตรงกันข้าม -- จุดนี้เป็นจุดอ่อนของทุนนิยม จะเห็นได้ว่าทุนนิยมทำให้โลกพัฒนารวดเร็ว ทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น มีสุขภาพดีขึ้น ชีวิตยืนยาวขึ้น จากที่เคยใช้ส้วนหลุม มาเป็นชักโครกที่ทันสมัยในปัจจุบัน
แต่แท้ที่จริงแล้ว คนเครียดขึ้น เพราะระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ต้องแลกมาด้วยการทำงานที่ส่งผลในการสร้างสิ่งเหล่านั้น เช่น การผลิตที่มากขึ้น เดิมคนๆนึงอาจใช้เวลา หนึ่งวันในการประกอบรถยนต์ แต่ด้วย การยกคุณภาพชีวิตทำให้ปัจจุบัน คนเดียวกัน อาจต้องทำงานเพิ่มเป็น สามถึงสี่เท่า (อาจจะไม่ใช่แรงงานโดยตรง แต่ก็มีผลต่อ ความเครียดและความกดดันที่สูงขึ้น)
ดังนั้น สังคมในปัจจุบัน แลกคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยยอมเสียความสุข หรือ เพิ่มความเครียด -- จุดสมดุลย์ที่สำคัญ เป็นสิ่งที่เราจะต้องค้นหา--- หลายคนพูดถึงเศรษฐกิจพอดี แต่ไม่ได้มีใครสามารถชี้ชัดได้ว่าความพอเพียงที่เหมาะสมต่อคนไทยมากที่สุดคืออะไร
ปัจจุบัน ผลตอบแทนที่ใช้วัดความสำเร็จคือ ตัวเงิน แต่ปัญหาคือ ปัจจัยที่จะแสดงความสำเร็จ ก็ต้องใช้เงินทั้งสิ้น คือ ใช้เงินซื้อของ ดังนั้น จุดมุ่งหมายที่ทุกคนมองก็คือ การ สร้างตัวให้ได้เงินมากที่สุดนั่นเอง แหละนั่นคือ ความเครียด
--- ในสมัยโบราณ ขงจื้อ สอนให้คนทุกคนอยู่ในสถานะของตัวเอง และทำให้ดีที่สุด ใครเกิดเป็นลูกกรรมกร ก็ให้เป็นกรรมกรที่ดีที่สุด และหาความสุขในแบบของกรรมกร -- คนเกิดในสถานะพ่อค้า ก็ให้เป็นพ่อค้าและทำการค้าให้ดีที่สุด -- คนเกิดในตระกูลราชการก็ให้เป็นราชการที่ดีที่สุด นั่นคือ การสอนให้คนรู้จักความพอดี ไม่มีการทะเยอทะยาน ข้อดี คือ ไม่มีใครต้องเครียด ไม่มีใครต้องแก่งแย่ง
แต่ข้อเสียคือ การพัฒนาต่างๆมันเป็นไปได้ช้า แต่ถ้าถามจริงๆแล้ว ทุนนิยมมองและเน้นทางวัตถุ หรือ การสร้างเงินที่มากเกินไป ก่อให้เกิดความกดดันมหาศาล --- ส่วนลัทธิ ขงจื้อ ก็สอนให้ไร้ความทะเยอทะยานอย่างสิ้นเชิง -- พูดถึงจุดนี้คงทำให้คนส่วนใหญ่ งง เพราะคนที่เคยได้ ลิ้มรสทุนนิยมแล้วจะไม่ยอมย้อนกลับมาที่แบบ ขงจื้อ
-- ดังนั้น ถ้าให้ทำนายอนาคต ผมก็ยังเชื่อว่า ทุนนิยมยังต้องอยู่อีกนาน ความแก่งแย่งและความกดดัน ก็จะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย จนถึง “จุดสูงสุด” เมื่อเวลานั้นมาถึง ระบบทุนนิยมจะค่อยๆล่มสลายไปพร้อมดับการเกิดระบบใหม่ที่เหมาะสมกับมนุษย์มากกว่า แต่ประเด็นคือ ไม่มีใครรู้ว่า จุดสูงสุดที่ว่า อยู่ตรงไหน แล้วเราเข้ามาใกล้จุดสูงสุดแล้วหรือยัง
ระบบทุนนิยม หลังจุดสูงสุด
นี่เป็นประเด็นที่ยาก เพราะนั่นหมายถึงการก้าวสู่จุดที่ทุนนิยมเดิม ไม่สามารถแก้ปัญหาของคนในเวลานั้นได้ เกิดเป็นปัญหาสังคม ซึ่งถ้าให้ผมเดา มันคือ จุดที่ราคา ที่ดินและสินทรัพย์ต่างๆสูงมากจนคนธรรมดา ไม่สามารถเป็นเจ้าของได้ จุดนี้ของสินทรัพย์ ผมว่าญี่ปุ่นได้ประสบ นั่นนำมาซึ่งปัญหาหมักหมม ในญี่ปุ่นตลอด ยี่สิบปีที่ผ่านมาคือ ราคาที่ดินตกลงไปเรื่อยๆ แต่นั่นแสดงให้เห็นว่าราคาที่ดินในญี่ปุ่นยังไม่ Peak จริงๆ
-- จุดสูงสุดที่ผมพูดคือ จุดที่สูงที่สุด ที่ไม่สามารถลงได้ ไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม และ ไม่มีใครสามารถเป็นเจ้าของต่อ เพราะมันแพงเกินไป เช่น บ้านที่ต้องผ่อน ร้อยปี -- แต่ถ้าหาก ผลิตภาพของสังคมยังคงเพิ่ม อาจทำให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยที่เรายังสามารถหาเงินได้อย่างมากขึ้น แต่เมื่อใดที่ทุกคนรวย เมื่อนั่นก็จะไม่มีใครทำอะไร และนั้นก็คือ จุดสูงสุด
ดังนั้น ไม่สามารถที่จะทำให้ทุกคนรวยได้ --ระบบทุนนิยมขับเคลื่อนด้วยความแตกต่างของฐานะ ซึ่งเป็นจุดที่สร้างพลังให้หลายๆต่อหลายคนมีจุดมุ่งหมาย --เพราะชีวิตที่ปราศจากจุดหมายก็ไม่ต่างกับตายแล้วนั่นเอง--- เราไม่สามารถให้ทุกคนเป็นพระได้ ไม่เช่นนั้น คงไม่มีข้าวกิน เพราะทุกคนเป็นพระไม่มีใครใส่บาตร ดังนั้น ระบบทุนนิยม จึงถูกหล่อเลี้ยงด้วยความแตกต่าง- ความหวัง -และความกดดัน
--- ใครก็ตามที่ผ่านจุดนั้นมาได้ แล้วร่ำรวยก็จะพยายามรักษา และส่งต่อสถานะนั้นให้ลูกหลาน ซึ่งในความจริง ยากมากที่จะ Pass on ความมั่งคั่งเกินกว่า สาม Generation ---ความมั่งคั่งที่ลดลง เป็นเรื่องปกติ เพราะระบบทุนนิยมผูกติดกับความเสี่ยง -- ความเสี่ยงที่มาก ย่อมได้รับผลตอบแทนที่สูง
-- การที่คนมีการศึกษาสูง ก็มีโอกาสที่จะเข้าใจระบบทุนนิยม มากขึ้น และ Take Risk เพิ่มขึ้น จุดนี้ทำให้ สภาวะความแตกต่างของฐานะเปลี่ยนไป เพราะเมื่อมีคนที่มีการศึกษา รวยขึ้น ย่อมทำให้สถานะของคนจนและรวย แตกต่างน้อยลง จุดนี้จะกดดันให้คนรวยต้องรวยขึ้นไปอีก เพื่อที่จะรักษาสถานะเดิมในสังคมไว้ นั่นหมายถึง รุ่นพ่อมีสิบล้านนับว่ารวย แต่พอรุ่นลูกต้องมีพันล้าน ไม่งั้นไม่รวย ซึ่งจุดนี้คือความกดดันของทุกคนในสังคม
การลงทุนในหุ้นก็คือ การซื้อขาย
แต่หลายคนเข้าใจผิด คิดว่าการซื้อขายหุ้น จะให้ได้กำไรสูงสุดต้องซื้อๆขายๆ แต่นั่นเป็นความคิดที่ผิด เพราะการซื้อที่ถูกที่สุดคือ ซื้อหุ้นในเวลาที่ไม่มีใครอยากซื้อ และการขายที่ดีที่สุดคือ การขายในเวลาที่คนอื่นๆอยากซื้อ จึงจะขายได้ในราคาที่ดีที่สุดนั่นเอง
---ดังนั้น ไม่แปลกเลยที่ ผลตอบแทนการลงทุนต้องถือ ขั้นต่ำเป็นปี หรือ หลายปี การที่ซื้อขายเร็วกว่านั้น ไม่มีทางที่จะได้ราคาดีที่สุด(ราคาที่ซื้อถูกที่สุด และขายในราคาแพงที่สุด) ยิ่งเวลาซื้อและขายใกล้กันเท่าไหร่ ผลกำไรจากการซื้อขายก็ยิ่งน้อย
-- จะเห็นได้ว่า การซื้อขายหุ้น ไม่ได้เหมือนการวิ่งแข่ง ร้อยเมตรที่ตัดสินในระยะเวลาอันสั้น แต่การลงทุนแท้จริงแล้วเป็นการวิ่งมาราธอน ที่ผลการตัดสินใช้เวลายาวนาน คือ ยิ่งนานยิ่งบ่งบอกถึงความสามารของผู้ลงทุน อย่าง Warren Buffet ใช้เวลาทั้งชีวิตในการที่จะกลายเป็นนักลงทุนที่เก่งที่สุดในโลก
---- ถ้าคุณมองความเป็นจริง คือ ตราบใดที่คุณยังคงซื้อขายหุ้น เมื่อนั้นคุณก็มีโอกาสเสียหรือ ขาดทุนกำไรที่คุณได้มาทั้งหมดได้เช่นกัน --- ผมเห็นหลายคน ลงทุนมาหนึ่งปี ได้กำไรมากมาย บางที ได้หลายเท่าแต่ การลงทุนเพียงปีเดียว อาจหมายความว่า คุณโชคดี เพราะถ้าคิดตามความจริง เงินที่คุณได้มาจากการขายหุ้นนั้นๆ คุณอาจต้องกลับไปซื้อหุ้นตัวเดิมในเวลาต่อมา
-- คำถามคือ ถ้าคุณคิดว่าในชาตินี้ คุณจะต้องซื้อหุ้นตัวนั้นในราคาที่แพงกว่าที่คุณขาย แล้วคุณจะขายออกไปทำไม -- โดยปกติ บริษัทถ้าไม่ปิดกิจการไป ราคาหุ้นก็จะเพิ่มสูงขึ้น ตามระยะเวลา นั่นคือ การเติบโตของบริษัทนั่นเอง -- ดังนั้น คุณสามารถมั่นใจได้เลยว่า หุ้นที่คุณขายไปในวันนี้ จะยังคงขึ้นต่อไป
--- ถ้าให้ผมสรุปการลงทุน ผมมองว่า ราคาหุ้นจะขึ้นไปเรื่อย หากราคาขึ้นมากเกินไป หุ้นก็จะปรับตัวตกลงมา(และปกติจะตกมากกว่าความเป็นจริง ตามพฤติกรรมของตลาด) และถ้าหุ้นตกมากเกินไป ก็จะถึงเวลาขึ้น ซึ่งหุ้นก็จะขึ้นมากเกินไปเช่นกัน --- จากสถิติการลงทุนทั่วโลกได้ พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าในระยะยาว การลงทุนที่ดีที่สุด คือ “ตลาดหุ้น”
-- ดังนั้น ถ้าคุณถามผมว่า ถ้าอยากเอาเงินที่มีอยู่ไปลงทุนอะไร ในระยะยาว จะให้ผลตอบแทนสูงสุด ผมก็คงจะแนะให้ซื้อหุ้น (แต่ต้องเป็นการซื้อ ทั้งไว้เลย ไม่มีการออก )-- ดังนั้น ผลกำไรที่มากที่สุดคือ คุณจะต้องลงในหุ้นเวลาที่ตลาดตกมากๆ และไม่ออกอีกเลย ส่วนเงินปันผลที่ได้ ก็ให้กลับเข้ามาซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำ ซึ่งจะเป็นตัวเดียวกับที่ซื้อ หรือ ตัวอื่นๆก็ได้
(จึงพูดได้ ว่าการลงทุนหุ้น ไม่ใช่การขาย แจ่เป็นการซื้อเวลาหุ้นถูก -- ซึ่งคุณไม่จำเป็นต้องสนใจว่าหุ้นถูกที่สุดหรือยัง เพราะไม่มีทางที่คุณจะซื้อหุ้นในราคาที่ถูกที่สุด) และกฎสำคัญอีกข้อ คือ บริษัทที่เราซื้อหุ้นจะต้องเติบโตไปเรื่อยๆ และซื้อในช่วงที่ ต่ำ นั่นก็คือ ราคาประมาณ Book Value หรือ ถูกกว่า นั่นเอง
-- ฟังดูง่าย แต่จริงยากเพราะ เวลาในการลงทุน มันหมายถึงทั้งชีวิต จึงไม่น่าแปลกที่นักลงทุนเก่งๆมีน้อยมาก เพราะขาดความอดทน (นี่แหละครับความลับของ การลงทุนในหุ้น “ง่าย(วิธีการซื้อตอนถูก ไม่เคยขาย) แต่ยาก (เพราะในความเป็นจริงคุณอยากขาย -- เพราะหากคุณขายคุณห้ามกลับมาซื้อตัวเดิมในราคาที่แพงขึ้น และนี่คือสิ่งที่ยาก)” ใครไม่เชื่อให้ลองดูครับ แล้วอีก 40 ปี คุณก็จะรู้ว่า คุณสามารทำสิ่งที่ “ง่ายแต่ยาก” ได้หรือไม่
วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2553
โอกาส อยู่ที่ไหน (ชาตินี้จะรวยไหมเนี่ย)
ผมว่าในชีวิตทุกคนย่อมมีโอกาสที่ผ่านเข้ามาอยู่เสมอ แต่"โอกาส" ของแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนมีโอกาสครั้งใหญ่ บางคนเป็นโอกาสย่อยๆ แต่สิ่งที่จะเป็นตัวกำหนดโอกาสที่เข้าก็คือ ตัวเราเองทั้งนั้น -- การเปิดโอกาสให้ตัวเองคือ การรู้จักมองสถานการณ์และสามารถวิเคราะห์มาเกี่ยวเนื่องกับ สิ่งที่เราทำ ไม่ว่าจะเป็นงานหรือ การลงทุน
-- หลายคนบอกว่า การที่เราจะสามารถมองสิ่งต่างๆรอบตัว แล้วมาเชื่อมโยงกับสิ่งที่เราทำ มันคือ ความฉลาด --ผมว่าที่ขาดไม่ได้ คือ ประสบการณ์ -- ผมมักจะเน้น "ประสบการณ์" ให้เป็นปัจจัยหลักของความสำเร็จในทุกๆด้าน แต่แท้ที่จริงแล้ว คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ ประสบการณ์ อย่างถ่องแท้
-- ประสบการณ์มีหลายแบบ ไอ้ประสบการณ์ จากการทำงานซ้ำซาก ถือเป็นประสบการณ์อย่างหยาบ คือ ไม่ส่งผลต่อ ความมั่งคังมากนัก เช่น คุณอาจจะพับถุงกระดาษเร็ว การพับถุงได้มากก็ไม่ได้ทำให้คุณรวย มีแต่จะเมื่อยมือเปล่า แต่ประสบการณ์ที่ผมสนใจคือ ประสบการณ์ทางความคิด ซึ่งแปลกมากที่คนส่วนใหญ่ แทบจะไม่ได้ ประสบ เลย เพราะงานประจำที่ทำอยู่มันไม่ได้ใช้ความคิด อาศัยเพียงความชำนาญ ซึ่งถ้ามองให้ดี งานที่ว่าก็ไม่ต่างกับการนั่งผับถุงมากนัก เพราะไม่เป็นการเปิดโอกาสให้ชีวิต
การสร้างโอกาส เป็นสิ่งที่เริ่มจากความคิด คือ เราต้องคิด ก่อน เราต้องสงสัย มีการตั้งคำถามและตอบมัน ดังนั้น หากใครมีคำถามเยอะ ย่อมสร้างให้เรามี"โอกาส"ได้เหนือกว่า คนทั่วไป ยิ่งในยุคปัจจุบัน การสร้างโอกาส ด้วย ความคิด ทวีความสำคัญขึ้นเรื่อย ๆ
ยกตัวอย่าง เจ้าของบริษัทใน Silicon ส่วนใหญ่ เป็นนักศึกษา ที่ Drop out จาก Stanford ทั้งนั้น -- ส่วนมากไม่ได้รอให้เรียนจบ ไม่เว้นแม้แต่ Bill Gates ด้วยซ้ำ ดังนั้น ความสำเร็จ หรือ โอกาสจึงไม่ใช่ปริญญาบัตรอย่างแน่นอน
-- ประเด็นที่สำคัญในการหาโอกาส คือ ความไม่พอใจในสิ่งที่มีอยู่ มิเช่น นั้น Steve Job คงไม่สามารถสร้าง Computer ที่แจ๋วๆ อย่าง Apple ได้ --ถ้ามองย้อนไป ครั้งหนึ่ง Apple เคยตกต่ำ จนเกือบล้มละลาย ก่อนที่ Steve Job จะเข้ามา สร้าง ปรากฏการณ์ใหม่ให้กับกิจการและกลายเป็น One of the Hottest company ในศตวรรษนี้เลยก็ว่าได้ ในทางกลับกัน Dell ที่เคยรุ่งสุดๆ ก็กลับมามีปัญหาอย่างมากมาย
--คำถามที่เกิดขึ้นคือ Steve Job มีอะไรที่คนอื่นไม่มี -- "เขามีความไม่พอใจในทุกสิ่ง" และต้องการแสวงหาความสมบูรณ์แบบ และนั่นเป็นที่มาของ Ipod Iphone IMAC ยอดฮิตในปัจจุบัน และนั่นคือ โอกาสที่ถูก Create ให้เกิดขึ้น ภายในหัวของ Steve Job ซึ่งจะเห็นได้ว่า โอกาสที่สามารถพลิกบริษัทจากหน้ามือเป็นหลังมือได้ในพริบตา และนี่คือ พลังของ "โอกาส"
วันนี้ผม พยายามมองหาโอกาสทางการลงทุน ซึ่งสิ่งที่ผมเจอก็น่าสนใจไม่น้อย -- เพราะผมมองเป็นโอกาสที่ตลาดหุ้น เอเชีย จะ Boom อีกครั้งเหมือนสมัย ก่อนเกิด ต้มยำกุ้ง -- ช่วงนั้น โลกกำลังแย่ นำโดยอเมริกาที่แย่เอามากๆ ช่วงนั้นเอเชีย โดดขึ้นมาเป็นทางเลือกในการลงทุน เกิด Asian Miracle แต่ตอนนั้น ผมมองว่าเป็น ยุคที่ Bubble อย่างแท้จริง เพราะตลาดเกิด เพราะเงินลงทุนที่ล้น แต่ผลผลิตไม่ได้เพิ่ม ตอนนั้น จีน และ อินเดีย ยังไม่เกิดเลย แต่มาเที่ยวนี้ โอกาสที่ผมเห็นคือ Asian Miracle 2 ที่จะมาครั้งนี้ จะแรงกว่าครั้งที่แล้ว
คนจะรวยกันเป็นว่าเล่น แต่หลังจากนั้น ก็ต้องรีบหนีให้ทัน เพราะเมื่อตลาดพัง มันก็จะ Wipe out ทั้งตลาดอีกครั้ง -- ซึ่งหลังจากนั้น น่าจะเกิดเป็น Cycle ขาขึ้นที่แรงที่สุด ตั้งแต่เกิดโลกมีมา เพราะการผลิตจะเกิดจาก การใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า ไม่ใช่การเติบโตอย่างฟุ่มเฟือยในปัจจุบัน
-- ถ้ามองให้ดี จะเห็นว่า เทคโนโลยี ทุกอย่างที่จะสร้าง Productivity ให้ Growth อย่างมหาศาล และยั่งยืน ได้มีหมดแล้ว เพียงแต่รอเวลาของ การ integrated เข้าด้วยกัน --และเมื่อวันนั้นมาถึง ใครเข้าตลาดช้า ก็เตรียมตกรถไฟ ตลอดชีวิตได้เลยครับ...
(ตลาดพุ่งรอบแรก เป็นการ warm ใครมีเงิน อาจได้เพิ่มสัก 2 เท่า จากนั้น ตลาดจะตกเป็นการขู่ ใครออกทัน แล้วเข้าใหม่ น่าจะรวยอีก 2 เท่า รวมเป็น 4 เท่า จากนั้นถือ ไปเลยอีก 30 ปี น่าจะได้เห็นตลาดที่ขึ้นแรงกว่าช่วงปี 90 ด้วยซ้ำ ผมเชื่อว่า Warren Buffect แห่ง ASIA จะเกิดขึ้นในยุคนี้อย่างแน่นอน และการเติบโตของเอเชียที่มีจีนและอินเดีย เป็นหัวรถ จะโตอย่างแท้จริงและยั่งยืน)...
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
บทความที่ได้รับความนิยมสัปดาห์ที่ผ่านมา
-
7 สิ่ง ที่จะต้องดูในการเล่นหุ้นไทยขาขึ้น รอบใหม่ 1. ‘เด้งจากหุ้นใหญ่‘ …ในการเริ่มขาขึ้นรอบใหม่ จะเริ่มจากหุ้นใหญ่ เพราะ เม็ดเงินต่างๆ จะเข้...
-
7 ความแตกต่างระหว่าง ลงทุนหุ้นไทย กับ หุ้นโลก 1. ‘Level Playground’ …เดิมทีคนที่สามารถไปลงทุนต่างประเทศต้องเป็นคนรวยมากๆ ใช้เงินเยอะ แต่ปัจ...
-
7 ข้อควรรู้ การลงทุนยาว กับ การเทรดสั้น อะไรรวยเร็วกว่ากัน 1. ‘การเทรดได้เงินเร็วกว่า’ …แต่ข้อเสียก็คือ เสียเงินเร็วพอๆ กัน ถ้าจับจังหวะไม่...
-
7 เรื่อง เบื้องลึกเบื้องหลังของคำว่า ‘เงิน’ ในโลกปัจจุบัน 1. ‘เงินในปัจจุบัน เป็นเงิน Fiat’ …เงิน Fiat สร้างจากหนี้ แปลว่า เงินในปัจจุบัน ไ...
-
"ฉันอยากเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว" นั่นคือ ความปรารถนาอันดับหนึ่ง จากการสำรวจความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ ใช่!! ใครๆ ก็อยากเป็น ...
-
เมื่อคืน 1 มีนาคม 2555 คุณแม่โทรมาบอกว่า "แพ้ท!! คุณตาท่านเสียแล้ว" ผมก็รู้สึกใจหายอย่างมาก เพราะคุณตาเป็น เสมือนต้นแบบ ที่สอนให้ผ...
-
“อยากเอาเรื่อง Alpha มาเล่าให้ฟัง” ...ในทุกสิ่งมีชีวิต จะมีจ่าฝูง มีหัวหน้า เช่น ฝูงลิง ฝูงหมาป่า ก็จะมีจ่าฝูง ...เรื่องที่น่าสนใจก็คือ ไ...
-
จาก หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ หน้า 20 - วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556 : Link ที่ Thairath Online http://www.thairath.co.th/content/life/321...
-
8 ข้อต้องดู นักเล่นหุ้นสาย growth เดิมทีเล้นหุ้น value ก็ปันผลดีอยู่แล้ว ...แต่ยุคนี้ ควรคัดหุ้น growth เข้าพอร์ตด้วย เพื่อเร่งให้พอร์ตเราโ...
-
‘หุ้นหนัก หุ้นเบา พอร์ตเราเต็มไปด้วยอะไร’ ...หลายคนน่าจะคุ้นเคยดีกับ ‘หุ้นหนัก’ ก็คือ หุ้นในพอร์ตรายย่อยส่วนใหญ่นี่แหละครับ ลักษณะของมันคือ...
ย้อนรอย SET จัดทำเพื่อย้ำเตือนของคำพูดที่ว่า "History Repeat itself!!"
- ภาพใหญ่หุ้นไทย ปี 1987 - 2009
- ย้อนรอย SET ปี 1987 - 1990(จาก Black Monday ไปแตะ 1,000 จุด)
- ย้อนรอย SET ปี 1991 - 1993 ( 3 ปีสู่ยอดดอย )
- ย้อนรอย SET ปี 1994 - 1996 ( 3 ปี แห่งการ "เผาหลอก" )
- ย้อนรอย SET ปี 1997 - 1999 ( 3 ปี "เผาจริง"แตะ Bottom แล้วเด้งขึ้น )
- ย้อนรอย SET ปี 2000 - 2008 ( 9 ปี แห่งการ "พายเรื่อในอ่าง" )
- ย้อนรอย SET ปี 2009 (Do you Remenber?)
"จัดให้" บทความที่ได้รับความนิยมใน Blog แห่งนี้ครับ
-
จาก หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ หน้า 20 - วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556 : Link ที่ Thairath Online http://www.thairath.co.th/content/life/321...
-
10 เรื่องที่ต้อง "รู้งี้" ก่อนจบปริญญา ... 1. "ใบปริญญามีวันหมดอายุ" ..หลายคนคิดว่า ใบปริญญาไม่มีวันหมดอายุ พอเรียนจ...
-
ในตลาดจริงๆ มีหุ้นอีกมากมายที่เรามองข้าม ..หลายคนก็กลัวว่าซื้อแล้วหุ้นจะไม่ขึ้น แต่ลองมองอีกมุมนึงว่า ถ้าหุ้นนั้นๆ ให้ปันผลในระดับ 5 -10% ต...
-
ตลาดหุ้นไทย จะไปอย่างไรต่อ!! -- เป็นคำถามที่ตอบยากมากที่สุดคำถามนึง เท่าที่ผมเจอมาตลอด..อิ อิ (จริงๆ ภาพ Chart อันนี้ ก็ตอบเกี่ยวกับ ทิศทาง...
-
'คำทำนาย ที่ว่าโลกหลังปี 2017 จะเกิด ..ธุรกิจเล็กจะใหญ่ ธุรกิจใหญ่จะเล็ก!!' ยุคนี้รายใหญ่ก็ตายได้ ..รายเล็กก็เกิดได้ ..นี่อ่านข...
-
วันนี้มาดอนเมือง ผมได้ชิมกาแฟมวลชน จุดเริ่มของ All Cafe ของ 7-11..วันนี้เกมค่าปลีกแข่งดุ เนื่องจากค่าเช่าแพงขึ้นตามราคา Asset ที่พุ่งกร...
-
เราค้างเรื่องของ "จิตอิสระ" กับ "จิตทาส" เอาไว้ว่า มันแบ่งระหว่าง คนที่จิตเป็นทาส ย่อมเป็นทาสตลอดไป ไม่ว่าระหว่างทางใน...
-
Luxury คือ เงินเฟ้อ!! เศรษฐกิจไม่ดี ทำไม ของแพงขึ้น ค่าครองชีพสูงขึ้น ..คนธรรมดาทำไมอยู่ยากขึ้นทุกวันล่ะ ? ก็เพราะ เราไม่รู้ว่า 'ความห...
-
วันนี้ฟังรายการ "คุยกับ อาจารย์ วีระ ธีรภัทร ช่อง FM 96.5" ...ไปสะกิดกับคำถามนึง คือ มีพี่ผู้หญิงท่านนึงเขาโทรเข้ามาแล้วระบายให้...
-
(อันนี้ยกขึ้นมาให้ดูเล่นๆนะครับ ..ไม่ได้จะบอกว่ามันดีหรือไม่ เพียงแต่ มาดูกัน "แปลกดี") ประเด็นแรก ผมชอบหุ้นปันผล แต่ตัวนี้ถ้ามอง...