แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน

แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน
SE-ED Bestseller Series หนังสือ "แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน" โดย ผมเอง (ที่ SE-ED ทุกสาขาทั่วประเทศ!!)

แนะนำ Facebook ของผมครับ

แนะนำ Facebook ของผมครับ
คลิ๊กเข้ามาเป็นเพื่อนกันใน Facebook ครับ!!

วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553

อนาคตประเทศไทย(ทำไมเราถึง รวยยากจัง)


จริงๆแล้วผมว่าหลายคนมองข้ามเรื่้องประเทศที่ตัวเองอยู่ว่าแท้จริงแล้ว ประเทศที่เราอยู่เป็นปัจจัยสำคัญที่จะบอกว่าเรามีโอกาสรวยได้มากน้อยเพียงใด

--- ผมได้อ่านหนังสือ "The Ascent of Money" หนึ่งประเด็นที่หนังสือเล่มนี้ยกขึ้นมาก็ตือ ในเรื่องของปัจจัยที่ืทำให้ความรวยของคนในประเทศสามารถโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งจุดนั้นก็คือ การให้คนทุกคนสามารถเข้าถึงและบริหาร Asset ของตัวเอง เช่น อย่างในอเมริกา ในช่วงหลัง WW2 ที่กระตุ้นให้ประชาชนสามารถ Own บ้านเป็นของตัวเอง ทั้งการสร้างระบบการเงิน Support เช่น Mortgage ซึ่งได้ผลอย่างมากในเวลาต่อมา เพราะบ้านสำหรับ US กลายเป็น ตัวรักษามูลค่าความมั่งคั่งของคนทั้งประเทศ

อีกประเด็นหนึ่งที่สร้างความมั่งคั่งอย่างหมาศาล ก็คือ การเปิดให้คน บริหารภาษีที่จ่ายเป็นของแต่ละคน -- พูดถึงจุดนี้อาจ งง แต่ จริงๆแล้ว รูปแบบการบริหารภาษี ที่ว่า คือ ส่วนหนึ่งของภาษีที่จ่าย รัฐบาลอนุญาติให้ สามารถแบ่งเอาไปใส่ใน Port กองทุนเกษียณส่วนตัวได้ ซึ่งจุดนี้รัฐบาลหลายประเทศพยายามทำ เช่น ตอนผมอยู่ Australia เขาเริ่มให้มี Superannuation คือ port ที่ทุกคนสามารถบริหาร เงินเกษียณสำหรับหลังเกษียณได้

ซึ่งจุดนึ้ ทำให้คนรู้สึกดีที่สามารถเห็นประโยชน์ของการจ่ายภาษี เพราะเงินที่เขาจ่ายไปส่วนหนึ่งก็มาเป็นเงินเกษียณสำหรับตัวเอง ดังนั้นใครจ่ายมาก ตอนเกษียณก็มีเงินมาก ต่างกับประเทศที่จ่ายภาษีมากๆไปให้รัฐบาล แต่พอสุดท้ายก็ไม่ได้เงินนั้นกลับมาอย่างเหมาะสม เพราะรัฐบาลส่วนใหญ่ใช้เงินอย่างเกิดประโยชน์ ไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ

การใช้จ่ายของรัฐบาลส่วนใหญ่ไม่คุ้มค่า เพราะไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักเศรษฐศาสตร์ กล่าวคือ รัฐไม่ต้องกลัวว่าเงินที่จ่ายลงไปหนึ่งบาท จะให้ผลตอบแทนมาเท่ากับหรือมากกว่า หนึ่งบาท

---นั้นหมายความว่า เงินร้อยบาทที่รัฐจ่ายไป อาจได้ผลตอบแทนกลับมา แค่สิบบาท ซึ่งถ้าธุรกิจหรือเอกชน ใช้จ่ายอย่างนั้น ย่อมหมายถึงขาดทุนและล้มละลาย จุดนี้เองจะเห็นได้ว่า ถ้าเราให้อำนาจประชาชน ในการบริหารเงินภาษีส่วนหนึ่งที่เขาจ่ายมา(เช่น 10% ของภาษี )ให้เขาบริหารเองสำหรับเกษียณโดยที่รัฐบาลอาจ สร้างแรงจูงใจให้คน อยากที่จะใส่เงินเข้ามาโดยการยกเว้นภาษีต่างๆ หรือ อาจสมทบเงินให้เป็นเท่าตัวเหมือนใน Australia

สรุปประเด็นที่ผมสนใจ คือ การให้อำนาจรายบุคคล ในการบริหารเงินเกษียณของตัวเอง แต่ปัญหาในปัจจุบันคือ ไม่มีใคร(มีน้อยคน)ที่สามารถมีเงินเหลือเก็บรายเดือน ดังนั้นวิธีการตือ การตัดบางส่วนจากภาษี มาให้รายบุคคลในการที่ให้เขาสามารถบริหารเงินก้อนนั้นๆได้ จุดนี้จะเป็นการสร้าง กองทุนรวมที่มีขนาดใหญ่ เช่น ทามาเส็ก ซึ่งสามารถที่จะไปลงทุนให้ผลตอบแทนได้มากกว่า กองทุนขนาดเล็ก

-- หลักการคือ การรวมเงินจากรายย่อย เป็นกองทุนขนาดใหญ่ เพื่อสามารถที่จะลงทุนได้กำไร แบบที่รายใหญ่ได้กำไร เช่น การเข้าซื้อกิการขนาดใหญ่ ซึ่งในที่นี้หมายความว่า เป็นการเปิดโอกาสให้รายย่อย เข้าไปลงทุนหากำไรมากๆ แบบรายใหญ่ทำ จุดนี้จะเป็นการกระจายความมั่งคั่ง ไม่ให้กระจุกตัวเหมือนในปัจจุบัน

เพราะแท้จริงแล้ว หลักความมั่งคั่งของ ทุนนิยม ตั้งอยู่บนทุน ซึ่งไม่แปลกเลยว่า ในอดีต คนรวยจะรวยขึ้น และคนจนจะจนลง เพราะเมื่อฐานการสร้างรายได้อยู่บนทุน ดังนั้น การสร้างความมั่งคั่งทั้งหมดก็ต้องมาผ่านคนมีทุน(เหมือนอย่างการเกิดของเมือง อย่างในไทย ไม่ว่าทำอะไรก็ต้องผ่านกรุงเทพ จุดนี้ก่อให้เกิดการกระจุกตัวของความมั่งคั่งเกือบทั้งหมดอยู่ในกรุงเทพ)

-- อย่างไรก็ตาม การกระจายความมั่งคั่ง ก็คือ การสร้างให้คนจน สามารถ Access ถึง Asset คือ ให้คนจนสามารถที่จะเป็นเจ้าของ Asset ได้ ในมุมมองของผม ผมชอบ แนวคิดของกองทุนหมู่บ้าน และ OTOP มาก แต่สิ่งที่เรายังขาดคือ การให้คนจนเป็นเจ้าของที่ดิน และ มีการสร้างรายได้บนพื้นดินนั้น (ซึ่งจุดพลาดในอดีต ก็ คนจน ขายที่ให้นายทุนก่อนที่จะสร้างรายได้ พูดอีกนัย คือ แทนที่จะขายที่หลังการพัฒนาซึ่งจะขายได้แพงกว่ามาก กลับกลายเป็นว่า คนจนขายที่ก่อนการพัฒนา

-- ซึ่งประเด็นต่างๆเหล่านี้ ผมว่า ต้องมีการทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งต้องเริ่มด้วยการล้างหนี้ คนจน ตือมาด้วยการสร้างงานสร้างอาชีพ จากนั้น ก็ค่อยพัฒนาให้คนเหล่านั้นเป็นเจ้าของที่ดิน และสุดท้ายต้องอนุณาตให้ที่เปลี่ยนมือได้ หลังจากพัฒนาแล้วเท่านั้น(การพัฒนาเช่น การเพาะปลูก การทำResort ต่างๆ ) จบข่าว....

บทความที่ได้รับความนิยมสัปดาห์ที่ผ่านมา

"จัดให้" บทความที่ได้รับความนิยมใน Blog แห่งนี้ครับ