แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน

แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน
SE-ED Bestseller Series หนังสือ "แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน" โดย ผมเอง (ที่ SE-ED ทุกสาขาทั่วประเทศ!!)

แนะนำ Facebook ของผมครับ

แนะนำ Facebook ของผมครับ
คลิ๊กเข้ามาเป็นเพื่อนกันใน Facebook ครับ!!

วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

ตลาดผันผวนให้ถือเงินสด ให้ถือเงินสด ?


"ก่อนชุมนุมเสื้อแดง ให้ถือเงินสด" "ช่วงปิดสนามบิน เลวร้ายมาก ให้ถือเงินสด" "เมษาเลือด ให้ถือเงินสด" คำเหล่านี้เป็นคำแนะนำจากนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ --- ประเด็นคือ คุณเชื่อหรือไม่ ผมเป็นคนนึงที่เชื่อบ่อย และเท่าที่ผ่านมาคือ เชื่อทีไรมันผิดทุกที ดังนั้น คราวนี้ผมไม่เชื่อ ตอนนี้ผมก็รอลุ้นว่า หลังชุมนุมเสื้อแดงเดือด ที่จะมาถึงจะส่งผลต่อตลาดอย่างไร -- ไม่แน่ พอคราวนี้ผมไม่เชื่อที่นักวิเคราะห์ อาจกลายเป็นครั้งแรกที่นักวิเคราะห์ถูกก็เป็นได้ (ซวยจริงๆ)

จริงๆแล้ว ประเด็นที่ผมมองขณะนี้ไม่ได้อยู่ที่เชื่อว่าหุ้นจะตกหรือ ไม่ตก เพราะถ้าผมไม่ขายผลกระทบย่อมไม่เกิด ดังนั้น จุดสำคัญตอนนี้คือ ผลตอบแทนมากกว่าที่ผมสนใจ -- ปีนี้นับเป็นปีที่มีความเสี่ยงหลายปัจจัยเข้ามากระทบตลาด ซึ่งถ้ามองแบบคนทั่วไปแล้ว คงจะหนีห่าง (ปีนี้ถ้าฟังให้ดี จะเห็นว่านักวิเคราะห์แนะให้คุณถือเงินสดให้มาก แต่ประเด็นที่ผมสนใจคือ ถ้าคุณถือเงินสด ขณะที่ดอกเบี้ยเกือบ 0% เท่ากับคุณไม่มีผลตอบแทนเลย)

คุณลองมองไปรอบๆตัววันนี้แล้วคุณลองนึกซิครับว่า ตอนนี้คนส่วนใหญ่ทำอะไร ( คือ อะไรก็ตามที่คนส่วนใหญ่ทำ มักจะขาดทุน เพราะจากสถิติคือ กว่า 80% ขาดทุนจากตลาดหุ้น ) -- ใช่แล้วครับตอนนี้ คนส่วนมากกอดเงินสด ดังนั้น ทางเดียวที่คุณจะสวนทางคือ คุณ ต้องหนีห่างเงินสด

--- จริงๆแล้ว เงินสด ในภาวะที่ไม่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เป็นการประกันความเสี่ยง แต่เท่าที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า คนที่ถือเงินสด ก็จะมักจะถือเงินสดอยู่อย่างนั้น จนท้ายที่สุดก็พลาดโอกาสการลงทุนเช่นกัน (คือ ถือ ตั้งแต่ดี จนแย่)

-- สิ่งที่ผมพูดนี้ ผมได้ประสบเองจาก ครอบครัวของผม คือ ระหว่าง คุณ ตา กับ คุณ ปู่ คุณตา ผมเป็นนายธนาคารกินเงินเดือนธนาคาร และก็ลงทุนในสินทรัพย์ อย่างหุ้นและที่ดิน

--ส่วนปู่ผมคือ นักธุรกิจที่มีกิจการรายใหญ่อันดับต้นๆของเมืองไทยเมื่อ 20 ปีก่อน(จุดเปลี่ยนคือ ธุรกิจของปู่ผมไม่ได้เข้าตลาด ดังนั้น ปัจจุบัน กิจการที่เล็กว่า แต่เข้าตลาด อย่าง อิตัลไทย , ช การช่าง หรือ แม้แต่ ซิโนทัย กลับโตแซง หน้าบริษัทปู่ผมไปอย่างไม่เห็นฝุ่น) ปัจจุบันกิจการคุณปู่ กลายเป็นธุรกิจเล็กๆ แต่ส่วนคุณตาผม แม้เป็นแค่ลูกจ้าง แต่ด้วยนิสัยของการชอบลงทุนใน Asset ทำให้ตาผมรวย และมีทรัพย์สินมากมาย

จุดนี้เองทำให้ผมมานึกเปรียบเทียบ ระหว่าง คนที่หาเงินเก่งบางครั้งอาจไม่สามารถรักษาสิ่งที่หามาได้ ส่วนบางคนแม้จะหาเงินไม่เก่งมาก แต่มีความสามารถบริหาร เงิน ให้เงินทำงานเอง กลับได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าในระยะยาว -- ถ้ามองในเชิงระยะเวลา การหาเงินเก่ง จริงๆแล้วมันเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ดังนั้น ใครมีโอกาสในจุดนี้จะต้องรีบกอบโกย แต่หลังจากนั้น ความมั่งคั่งมันขึ้นกับการบริหารจัดการให้เงินทำงานต่อ และนี่ก็คือ หัวใจของการลงทุน

หัวใจของการลงทุน = "การทำให้เงินทำงานเอง" ฮึ .. ฮึ.. พูดง่ายแต่ทำยาก บทพิสูจน์ นับจากนี้ผมว่ามันอยู่ที่ใจ กับ ประสบการณ์ เพราะในอีก 10 ปี ข้างหน้า การเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นพื้นฐานหลังงานของโลกที่จะ Shift จาก carbon ecomomy กลายเป็น Clean Technology --- การเปลี่ยนผ่านระบบการเงิน ที่เติบโตอย่างมหาศาล เงินกองเป็นภูเขาอย่างไร้ผลตอบแทน เงินอัดฉีด กองมหึมาที่ยังคงติดอยู่ในระบบ

ประเด็นที่สำคัญ คือ ถ้าระบบเริ่มไหลลื่น เงินที่กระจุกตัวอยู่ในระบบ อาจทะลักเข้ามามีปัญหาได้ จุดเปลี่ยนที่สำคัญ ผมมองอเมริกา ตั้งแต่ตลาด Crash ปี 1929 เป็นต้นมา ที่เงินไหลบ่าเข้า สหรัฐ จน ตลาดพุ่งอย่างต่อเนื่อง 60 ปี (มีกระตุกบ้าง แต่ก็ขึ้นไปเรื่อย)

-- กับอีก Pattern คือ ญี่ปุ่น ที่พุ่งสูงสุด 40000 จุด และ ยังไม่เคยไปถึงจุดเดิม แม้จะผ่านมากว่า 20 ปีแล้ว (แต่ประเด็นต่างของตลาดญี่ปุ่น คือ ญี่ปุ่น ไม่ได้เป็นประเทศที่รับการลงทุนจากทั่วโลก เหมือนสหรัฐ --แต่กลับเป็นประเทศที่เงินไหลออกไปลงทุนในประเทศอื่น คือ เป็น Invest engine ให้เอเชียทั้งหมดเลยก็ว่าได้) จะเห็นได้ว่า Model หรือ Pattern ของการลงทุน ระหว่าง สหรัฐ กับ ญึ่ปุ่น อยู่คนละด้านกันอย่างสุดขั้ว แต่ถ้าให้ผมมองผมเชื่อว่า Model สหรัฐ น่าจะเป็น แบบแผนที่ตลาดบ้านเรา กำลังเจริญรอยตาม (และผม หวังว่ามันจะเป็นเช่นนั้นจริงๆ).....

PS. จีน ถ้ามองให้ดี คล้าย สหรัฐ เอามากแต่ ความยั่งยืน ยังต้องรอการพิสูจน์ (แต่ประเด็นที่คนทั่วโลก มองจีนแบบ Bull คือ ทุกคนคิดว่าจีนดี เป็นสิ่งที่ทำให้ผมกลัวเพราะความเห็นส่วนใหญ่ว่าดี ก็คือ ความหายนะแอบแฝงที่คอยอยู่นั่นเอง)

บทความที่ได้รับความนิยมสัปดาห์ที่ผ่านมา

"จัดให้" บทความที่ได้รับความนิยมใน Blog แห่งนี้ครับ