แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน

แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน
SE-ED Bestseller Series หนังสือ "แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน" โดย ผมเอง (ที่ SE-ED ทุกสาขาทั่วประเทศ!!)

แนะนำ Facebook ของผมครับ

แนะนำ Facebook ของผมครับ
คลิ๊กเข้ามาเป็นเพื่อนกันใน Facebook ครับ!!

วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2566

10 เรื่องเศรษฐกิจ ที่จะส่งผลต่อตลาดหุ้นอย่างรุนแรง

 10 เรื่องเศรษฐกิจ ที่จะส่งผลต่อตลาดหุ้นอย่างรุนแรง


1. ‘ดอกเบี้ยขาขึ้นของอเมริกา’ …FED ขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสู้เงินเฟ้อ …จะส่งผลให้ เงินไหลไปอเมริกา และ ค่าเงินของประเทศอื่นๆ ลดลง


2. ‘วิกฤตในสินทรัพย์สลับกันไป’ …การลดสภาพคล่อง ทำให้จะเกิดวิกฤตในสินทรัพย์ต่างๆ วนๆ กันไป …แปลว่า ถ้าสินทรัพย์อะไรขึ้น ก็ควรขายล็อคเงินสดออกมาบ้าง 


3. ‘เงินสดสำคัญ เพื่อรอซื้อสินทรัพย์ราคาถูก’ …การบริหารสภาพคล่องสำคัญที่สุดในวิกฤตครั้งนี้ (ถ้าไม่มีเงินสดเวลาเกิดวิกฤต ก็เท่ากับเราเสียโอกาสที่จะได้ซื้อสินทรัพย์ในราคาถูก)


4. ‘หลีกเลี่ยงธุรกิจที่ไม่ทำเงิน’ …นี่ไม่ใช่ยุคทองของ Startup ที่ Burn Cash เพราะ เงินทุนไม่ใช่ของถูกและของฟรีเหมือนก่อนหน้านี้


5. ‘ค่าครองชีพพื้นฐานจะแพงขึ้นเรื่อยๆ’ …อาหารแพง , พลังงานแพง , ยารักษาโรคแพง …ของจำเป็น จะแพงขึ้นเรื่อยๆ 


6. ‘P/E รวมของตลาดจะลดลง ต้อง Select Play’ …ตลาดหุ้นจะไม่ง่าย แบบแต่ก่อน ที่มาพร้อมกัน ไปพร้อมกัน แต่จะต้องเลือกให้ถูกตัว


7. ‘ธุรกิจที่หนี้เยอะ และ Capital Intensive จะเหนื่อย’ …หมดยุคลงทุนหนัก สร้างหนี้เยอะ เพราะ ต้นทุนการเงินแพง …ธุรกิจที่ดีคือ ธุรกิจตัวเบา หนี้น้อย และ ขยายได้โดยไม่ต้องลงทุนหนัก


8. ‘ธุรกิจที่จับตลาดคนรวย เป็นจุดปลอดภัย’ …คนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตนี้น้อยสุดคือ คนรวย …พวกนี้ใช้เงินหนัก กับ สุขภาพ , ความงาม และ ของเล่น


9. ‘ประเทศ Emerging Market ต้องระวังวิกฤตค่าเงิน’ …คล้ายๆ ที่ประเทศไทยเคยเจอตอนวิกฤตต้มยำกุ้ง …ประเทศที่จะรอด คือประเทศที่มีหนี้ต่างประเทศไม่สูง และ คนมีเงินเก็บ


10. ‘เมื่อวิกฤตผ่านไป จะพบว่า สินทรัพย์จะราคาเพิ่มขึ้นไปอีก’ …เหมือนทุกวิกฤตที่ผ่านมา …ท่ามกลางวิกฤตราคาสินทรัพย์จะผันผวนขึ้นๆ ลงๆ แต่สุดท้าย ราคาสินทรัพย์ก็จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ 


#ภาววิทย์กลิ่นประทุม

วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2566

6 คำทำนาย ตลาดหุ้นไทย ที่ผมรวบรวมมาจากเหล่าเซียนหุ้น

 6 คำทำนาย ตลาดหุ้นไทย ที่ผมรวบรวมมาจากเหล่าเซียนหุ้น


1. ‘หุ้นที่ดีในช่วงดอกเบี้ยขาลง จะไม่ดีในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น’ …ใช่!! เมื่อโลกเปลี่ยนเทรนด์จากดอกเบี้ยขาลง เป็นขาขึ้น …หุ้นดี ก็จะเปลี่ยนกลุ่มอย่างสิ้นเชิง


 …แปลว่า หุ้นที่เราดอย อาจจะกลับมา แต่มันก็จะไม่ใช่หุ้นดีในรอบนี้อยู่ดี


2. ‘สินค้าทางการเงินที่ปลอดภัย จะกลายเป็นจุดเสี่ยงและไม่คุ้มที่จะลงทุน’ …อะไรที่การันตีผลตอบแทน กำลังเป็นสิ่งที่เสี่ยง เพราะ เขากำลังสัญญาในสิ่งที่ทำได้ยาก และขัดกับสถานการณ์ปัจจุบัน 


3. ‘หุ้นที่ใหญ่และสภาพคล่องสูง เป็นหุ้นที่โตได้ยากในยุคนี้’ …ในช่วงเวลาที่เงินหายากขึ้นเรื่อยๆ จุดที่มีสภาพคล่องสูง ย่อมเสี่ยงที่จะมีการเทขาย และ เงินไหลออกง่ายที่สุด 


4. ‘อะไรที่ดูดีเกินไป แปลว่า นั่นคือ จุดขาย ไม่ใช่จุดซื้อ’ …เราทุกคนต่างเคยซื้อหุ้นในจุดที่ดอยที่สุด ก็เพราะเราไปซื้อในจุดที่มันดูดีเกินไป


5. ‘การทยอยซื้อ ทยอยขาย ดีกว่าการซื้อไม้เดียว’ …เราแทบไม่เคยซื้อในจุดต่ำสุด และก็แทบไม่เคยขายในจุดสูงสุด …ดังนั้น การทยอยซื้อและทยอยขาย จะทำให้จังหวะเราดีมากขึ้น


6. ‘ถ้าวิกฤตครั้งนี้ผ่านไปโดยที่เราไม่ได้ซื้อหุ้นเลย มันคือการเสียโอกาสครั้งใหญ่อีกครั้งของเรา’ …ทุกครั้งที่ผ่านวิกฤต เรามักจะเสียดายที่เราไม่ได้ซื้อหุ้น 


…และแทบทุกครั้ง วิกฤตก็ผ่านไป โดยที่เราก็ไม่ได้ซื้อหุ้นสักที


#ภาววิทย์กลิ่นประทุม

วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2566

5 สัญญาณอันตราย ที่เตือนว่าควรล้างพอร์ต หรือขายหุ้น

 5 สัญญาณอันตราย ที่เตือนว่าควรล้างพอร์ต หรือขายหุ้น


ความยากของตลาดหุ้น ก็คือ จังหวะนี่แหละ …มือใหม่ มักทำตรงข้ามตลอด 


1. ‘ช่วงที่ SET อยู่ในขาขึ้น’ …พูดง่ายๆ ตลาด Bullish และการซื้อขายคึกคักมากๆ นั่นเอง


2. ‘ช่วงที่หุ้นเรา กำไรดีกว่าปกติมากๆ’ …เพราะหลังจากกำไรดีมากๆ ต้องระวังช่วงหลังจากนั้น ที่ขาลงอาจจะตามมา


3. ‘ช่วงที่หุ้นเรามี Volume การซื้อขายสูงกว่าปกติมากๆ’ ….ทุกครั้งที่มี Volume มากๆ มันบ่งบอกถึงการเปลี่ยนมือ ของรายใหญ่ ซึ่งเราต้องระวัง


4. ‘ช่วงที่หุ้นอยู่ในจุดที่แพง และมีการลงแรง พร้อม Volume หนักๆ’ …จุดนี้คือ จุดที่รายย่อยหลงเข้าไปมากสุด …เพราะเห็นว่าหุ้นลงแรง นึกว่า ได้ซื้อราคาถูก ที่ไหนได้ หุ้นลงต่อ แล้วกลายเป็นขาลงยาว


5. ‘ช่วงที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ ทำ Big Lot ทยอยขาย’ …เจ้าของจะรู้จัก Cycle ของธุรกิจตัวเองมากที่สุด …เขามักจะขายในช่วง Peak Cycle ของธุรกิจ …โดยมักจะขาย Big Lot 


#ภาววิทย์กลิ่นประทุม

วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2566

5 วิธีปฏิบัติ กู้พอร์ตกลับมาเวลาตลาดพัง

 5 วิธีปฏิบัติ กู้พอร์ตกลับมาเวลาตลาดพัง 


‘ตลาดพัง’ คือ เละทุกคนแหละ …ประเด็นคือ ใครจะกลับมาได้ นั่นแหละ สำคัญกว่า 


1. ‘เตรียมเงินสด รอวันที่ตลาดพัง’ …ใช่!! เวลาตลาดพัง หุ้นมันถูกทุกตัว …แต่เราต้องมีเงินสดมาซื้อ …อย่างน้อยก็สัก 10% ของพอร์ตเรา


2. ‘รู้ได้ไงว่า นี่คือจุดซื้อ’ …ตลาดลงแรงต่อเนื่อง + Volume เริ่มเบาบาง แต่ตลาดยังลงต่อ + หุ้นรายตัวเละเทะ + ไม่มีข่าวดีเลย 


3. ‘ซื้อหุ้นอะไรดี’ …คิดง่ายๆ ต้องซื้อหุ้นที่กลับมาก่อน นั่นคือ หุ้นใหญ่พื้นฐานแน่น ปันผลดี …พวกนี้ เด้งก่อน …ดังนั้นซื้อก่อน 


4. ‘ทำการบ้าน หาหุ้นเติบโต เพื่อให้พอร์ตโตก้าวกระโดด’ …หลังจากหุ้นข้อ 3 เด้ง หลังตลาดพัง เราก็ขายทำกำไรได้เลย แล้วโยกเงินเปลี่ยนมาเล่นหุ้นเติบโต ขนาดเล็ก เพราะ มันจะวิ่งไกลกว่า


5. ‘ทนให้ได้ 3 ปี’ …ทนในที่นี้คือ ‘ทนรวย’ เพราะ หลังจากตลาดพัง …ก็จะเป็นการฟื้นตัว ขาขึ้นต่อเนื่อง


ก็ประมาณนี้


ทุกวิกฤตมีโอกาส …ทุกครั้งที่คนกลัว มีคนกล้า และนั่นแหละ ‘คนรวย’


#ภาววิทย์กลิ่นประทุม

วันศุกร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2566

10 เหตุผล ทำไมคนถึงอยากเอาหุ้นเข้าตลาด IPO

 10 เหตุผล ทำไมเจ้าของธุรกิจถึงอยากเอาบริษัทเข้าตลาดหุ้น IPO


1. ‘ราคาหุ้นมีราคา’ ..หุ้นของบริษัทที่ไม่ได้เข้าตลาดมักไม่ได้มีราคา ...เจ้าของก็ถือไว้เฉยๆ ...แต่พอบริษัทเข้าตลาด หุ้นกลายเป็นมีค่ามีราคาทันที ..เขาเลยเรียกการเข้าตลาดหุ้นคือ การปลดล็อคมูลค่ากิจการ (จากที่ไม่เคยจับต้องได้ ให้กลายเป็นเงิน)


2. ‘รวย’ เพราะ ตลาดหุ้นมี Multiple คือ มีตัวคูณความมั่งคั่งให้เจ้าของ หรือ ที่คนในตลาดหุ้นเรียกกันว่า P/E นั่นแหละ ...อย่างเช่น ถ้าธุรกิจมีกำไร 30 ล้านบาท ถ้ามี P/E ที่ 30 เท่า ก็แปลว่า มูลค่ากิจการในตลาดหุ้น คือ 900 ล้านบาท (หรือ อีกนัยนึง ถ้าธุรกิจนี้อยู่นอกตลาด เจ้าของก็ต้องทำธุรกิจอีก 30 ปี กว่าจะได้เงิน 900 ล้าน เพราะได้กำไรปีละ 30 ล้าน ..แต่นี่ได้ทันที)


3. ‘ไม่เสียภาษี’ ..อะไรก็ตามที่ซื้อขายมีกำไรนั้นย่อมเสียภาษี แต่ถ้าหุ้นอยู่ในตลาดหุ้น ซื้อขายกำไร ไม่ต้องเสียภาษี ...เรียกว่า รวยโดยถูกต้องตามกฎหมาย ...นั่นแหละ ที่คุณเห็นเจ้าของขายหุ้นกันร้อยล้าน พันล้าน ...ไม่เสียภาษีครับ


4. ‘หุ้นเปลี่ยนเป็นหลักประกันได้’ ...เดิมทีหุ้นเราก็คือกระดาษใบนึง แต่พอเข้าตลาด สามารถใช้เป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินได้ เพราะ หุ้นมีราคาและซื้อขายได้คล้ายๆ ที่ดินนั่นเอง


5. ‘เติบโตเร็ว’ ...การทำธุรกิจปกติคือ รวยด้วยเงินเรา หรือ อย่างมากก็กู้ธนาคาร ซึ่งไม่ง่าย แถมต้องมีทรัพย์สินค้ำประกัน ...แต่เงินจากตลาดหุ้น ก็เราเอาคนอื่นมาร่วมเป็นเจ้าของ แปลว่า ได้เงินจากเขามาเติบโต ...เราถึงเห็นหลายๆ ธุรกิจที่เข้าตลาดแล้วโตเร็วมาก ก็เพราะ ได้เงินคนอื่นมาขยายนั่นเอง


6. ‘ไม่ได้เสียความเป็นเจ้าของ’ ...หลายคนกลัวว่า พอเข้าตลาดแล้วธุรกิจจะตกเป็นของคนอื่น ...จริงๆ ถ้าคุณยังถือหุ้นเกิน 50% คุณก็ยังควบคุมและบริหารธุรกิจได้ตามปกติ ...แค่คุณไม่ขายหุ้นในส่วนนั้นก็พอแล้ว 


7. ‘สภาพคล่อง’ ...หุ้นเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงที่สุด เพราะ ซื้อขายได้ตลอด ...ทำให้คนรวยในโลก เลือกหุ้นเป็นที่เก็บความมั่งคั่งของเขามากที่สุด


8. ‘แบ่งมรดกง่าย’ ...พวกสินทรัพย์อื่นๆ เช่น ที่ดินแบ่งให้ลูกยาก อาจไม่แฟร์ แต่หุ้นแบ่งง่าย ชัดเจน ลดปัญหาครอบครัว


9. ‘เปลี่ยนบริษัทกลายเป็นระบบ’ ...หลายคนรวยอยู่แล้ว แต่เอาหุ้นเข้าตลาดเพื่อจะจัดการให้ธุรกิจเป็นระบบ ควบคุมง่าย และ สามารถจ้างผู้บริหารมืออาชีพ ...ก็คือ เจ้าของอยากสบายขึ้น และ ควบคุมการรั่วไหลของธุรกิจนั่นเอง


10. ‘กิจการมีอายุยืนยาว’ ...ธุรกิจทุกวันนี้ ขึ้นเร็ว ลงแรง การเอาธุรกิจเข้าตลาด สร้างระบบ แล้วจ้างมืออาชีพ เป็นการทำให้ธุรกิจมีความยั่งยืนมากขึ้นนั่นเอง


นี่เป็นข้อดีคร่าวๆ ในการเอาบริษัทเข้าตลาด 


ส่วนข้อเสีย คือ ‘มันไม่ง่าย’ ...ก็แน่นอน อะไรที่ดี มันต้องลงทุน ต้องลำบาก ...หลักๆ คือ ต้องทำบัญชีเล่มเดียว ยอมจ่ายภาษีเต็มๆ กับ ค่าใช้จ่ายในการทำบัญชี การวางระบบ ให้บริษัทเป็นไปตามกฏของ กลต.และ ตลาด ซึ่งใช้เวลาเตรียมตัวอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป


#ภาววิทย์กลิ่นประทุม

7 ทักษะ ที่ทำให้เด็กรุ่นใหม่ รุ่งไกลทันโลก

 7 สิ่งที่ต้องสอนให้เด็กรุ่นใหม่ ให้รุ่งทันโลก


ใครๆ ก็พูดกันว่า AI จะมาแทนแรงงานจำนวนมาก ..แต่สิ่งที่ทำให้เราไม่โดนทดแทน แถมมีโอกาสรุ่งพุ่งแรงในอนาคต โดยงานวิจัยของ Dr. Tony Wagner, co-director of Harvard's Change Leadership Group พบว่า เด็กรุ่นใหม่ต้องเก่งใน 7 เรื่องนี้ 


1. Critical thinking and problem-solving ..คือ คิดเป็น และ แก้ปัญหาได้ ...จากเดิมที่เราสอน ท่องจำ แล้วทำตาม ต้องสอนให้ นักเรียน ฝึกตั้งคำถาม ออกข้อสอบเอง และ แก้ปัญหาจริง 


2. Collaboration across networks and leading by influence ...อันนี้คือ การสอนให้เด็กมีทักษะของการทำงานร่วมกัน ...มันคือ การขยายการเรียนรู้ในเรื่องกิจกรรมนอกห้องเรียน เพราะ กิจกรรมจะสอนการทำงานร่วมกัน และ ฝึกทักษะของการเป็นผู้นำ ...จากเดิม พ่อแม่จะคิดว่า ให้ลูกตั้งใจเรียนอย่างเดียว ซึ่งยุคนี้ กิจกรรมนอกห้องเรียน สำคัญต่อการไปทำงานให้รุ่งมากกว่า


3. Agility and adaptability ...อันนี้คือ การสามารถรับมือกับข้อผิดพลาด เรียนรู้แล้วเดินต่อ ...พ่อแม่ยุคก่อนจะเลี้ยงลูกแบบไข่ในหิน ไม่ให้โอกาสให้ลูกกล้าทำอะไร เพราะถ้าไม่เชื่อฟัง แล้วพลาดก็จะถูกลงโทษซ้ำเข้าไปอีก ...ทำให้เด็กไทยกลัว ไม่กล้าทำอะไรใหม่ๆ ไม่กล้าลองผิดลองถูก ...ซึ่งการกล้าลองผิดลองถูก ไม่กลัวล้ม แล้วเรียนรู้จากประสบการณ์กลายเป็นสิ่งสำคัญที่สร้างให้เป็นคนเก่งที่โลกยุคใหม่ต้องการ


4. Initiative and entrepreneurialism ...คิดแบบผู้ประกอบการ สำคัญมากในยุคนี้ เพราะ บริษัทหรือนายจ้าง ยังเอาตัวเองไม่รอด ...แต่ปัญหาคือ เรายังติดระบบการศึกษาที่สร้างลูกจ้าง ไม่ได้สร้างนายจ้าง


ลูกจ้าง คือ เด็กที่ทำข้อสอบเก่ง แล้วไม่มีผิดพลาด แล้วก็ต้องทำคนเดียว ต้อง One Man Show


แต่ผู้ประกอบการ ต้อง ตั้งโจทย์เอง ข้อสอบคือชีวิตจริง ..ลอกข้อสอบคนอื่นก็ได้ ร่วมมือกับคู่แข่งก็ได้ เขาเรียก Team Work 


ถ้าโรงเรียนจะสอน ผู้ประกอบการ ต้องเปลี่ยนอาจารย์เป็นแค่โค๊ช ...ไม่สอน แต่คอยประคอง ...นักเรียน เหมือน นักฟุตบอล ...ที่ต้องชนะใจแฟนบอล และ ทำประตูให้ได้ด้วย


พูดง่ายๆ เราควรสอนเด็กให้ฝึกเป็น Star ไม่ใช่สอนเด็กให้เป็น Product เป็นแค่สินค้าเหมือนในปัจจุบัน


 5. Effective oral and written communication ...ต้องสอน พูด และ เขียน ให้เก่ง ...ทักษะนี้คือ ‘การสื่อสาร’ นั่นเอง ...จะมีประโยชน์อะไรถ้าคุณคิดเก่ง แต่สื่อสารไม่เป็น


เด็กต้องจับขึ้นเวที ผลัดกันพูด เป็นวิชาบังคับ ...เรื่องการพูด ไม่มีพรสวรรค์หรอก อันนี้ผมรู้ดี เพราะ เจอกับตัวเอง ...สมัยเด็กผมกลัวเวที ไม่กล้าพูด ...แต่วันนี้มีอาชีพเป็นนักพูด ...ไม่ได้มาจากพรสวรรค์เลย มันมาจากงานผม มันบังคับให้พูด ค่อยๆ ฝึก จากเวทีเล็ก จนใหญ่ขึ้นไป 


เรื่องนี้ ถ้าผมทำได้ บอกตรงๆ มันคือทักษะที่ฝึก ฝึก และ ฝึก ...ใครก็ทำได้ ฝึก ฝึก !!


6. Accessing and analysing information ...ทักษะการเลือกข้อมูลที่จำเป็น ...สมัยก่อน คนเก่งคือ อ่านเยอะ มีข้อมูล แต่ยุคนี้ ทุกคนมีข้อมูลมากเกินไป ...ข้อมูลมันอยู่บนอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว 


เด็กยุคนี้ต้องฝึกเป็น Curator คือ ความสามารถในการเลือกข้อมูลที่จำเป็น 


You are what you eat เช่นกัน ข้อมูล ถ้าเสพแต่สิ่งเน่า เราก็เน่า ...เลือกเสพข้อมูล ...โลกวันนี้น้ำเน่ามาก เพราะ ทักษะการเลือกเสพข้อมูลเรายังไม่เก่ง ตรงนี้แหละ ที่ต้องพัฒนาคนรุ่นใหม่


7. Curiosity and imagination ...พัฒนาความอยากรู้ และ กล้าฝัน ...อันนี้ตรงข้ามกับเด็กไทยเป็นที่สุด ...เด็กเราไม่กล้าถาม เพราะ สังคมเราบีบว่า ถ้าใครยกมือถาม มันดูเสร่อ ..ถ้าถามอาจดูโง่ ...เลยโง่จริงๆ เพราะ ไม่ได้ถาม


‘อย่าเพ้อฝัน’ ไปทำการบ้าน ....อันนี้ทำให้เด็กเรา เป็นลูกจ้างที่เก่ง แต่ไม่เป็นนายจ้างที่ดี ...อย่าว่าแต่ไปถึงขั้นนายจ้างเลย ขั้นแรก พัฒนาจากแนวคิดลูกจ้าง ให้มาเป็นแนวคิดนายตัวเอง ก็ยังยากเพราะ ทักษะการตั้งโจทย์ ความอยากรู้ และ การกล้าฝัน นี่แหละ ที่ต้องฝึกฝน


ก็ลองไปปรับใช้กับลูก กับ เยาวชน ของเราดูกันครับ


#ภาววิทย์กลิ่นประทุม

บทความที่ได้รับความนิยมสัปดาห์ที่ผ่านมา

"จัดให้" บทความที่ได้รับความนิยมใน Blog แห่งนี้ครับ