แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน

แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน
SE-ED Bestseller Series หนังสือ "แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน" โดย ผมเอง (ที่ SE-ED ทุกสาขาทั่วประเทศ!!)

แนะนำ Facebook ของผมครับ

แนะนำ Facebook ของผมครับ
คลิ๊กเข้ามาเป็นเพื่อนกันใน Facebook ครับ!!

วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2553

ความกดดันในรูปแบบใหม่


ผมว่าในปัจจุบัน ความกดดันในการดำรงชีวิตมีมากขึ้น ประการแรก ผมว่ามาจากที่คนมีการศึกษามากขึ้น และสังคมเป็นระบบเปิดมากขึ้น (ในที่นี้หมายถึงไม่ว่าใครก็ตามมีโอกาสที่จะเปลี่ยนสถานะของตัวเองได้หากมีความสามารถและได้รับโอกาสที่ดี)

อย่างไรก็ตามความเปิดมากขึ้นของสังคม ทำให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้นในการจะยกระดับคุณภาพชีวิตและฐานะ เหล่านี้ล้วนนำมาซึ่งความกดดัน เริ่มตั้งแต่แข่งกันเรียน แข่งกันเข้ามหาลัยดีๆ และ ก็แข่งกันหางานทำ

-- ผลดีของการแข่งขัน คือ ประสิทธิภาพของคนสูงขึ้น แต่ผลเสียคือ สุขภาพจิต วิ่งสวนทางกับกราฟความมั่งคั่ง นั่นหมายความว่า การที่คนรวยขึ้น ไม่ได้มีความสุขมากขึ้น กลับตรงกันข้าม -- จุดนี้เป็นจุดอ่อนของทุนนิยม จะเห็นได้ว่าทุนนิยมทำให้โลกพัฒนารวดเร็ว ทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น มีสุขภาพดีขึ้น ชีวิตยืนยาวขึ้น จากที่เคยใช้ส้วนหลุม มาเป็นชักโครกที่ทันสมัยในปัจจุบัน

แต่แท้ที่จริงแล้ว คนเครียดขึ้น เพราะระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ต้องแลกมาด้วยการทำงานที่ส่งผลในการสร้างสิ่งเหล่านั้น เช่น การผลิตที่มากขึ้น เดิมคนๆนึงอาจใช้เวลา หนึ่งวันในการประกอบรถยนต์ แต่ด้วย การยกคุณภาพชีวิตทำให้ปัจจุบัน คนเดียวกัน อาจต้องทำงานเพิ่มเป็น สามถึงสี่เท่า (อาจจะไม่ใช่แรงงานโดยตรง แต่ก็มีผลต่อ ความเครียดและความกดดันที่สูงขึ้น)

ดังนั้น สังคมในปัจจุบัน แลกคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยยอมเสียความสุข หรือ เพิ่มความเครียด -- จุดสมดุลย์ที่สำคัญ เป็นสิ่งที่เราจะต้องค้นหา--- หลายคนพูดถึงเศรษฐกิจพอดี แต่ไม่ได้มีใครสามารถชี้ชัดได้ว่าความพอเพียงที่เหมาะสมต่อคนไทยมากที่สุดคืออะไร

ปัจจุบัน ผลตอบแทนที่ใช้วัดความสำเร็จคือ ตัวเงิน แต่ปัญหาคือ ปัจจัยที่จะแสดงความสำเร็จ ก็ต้องใช้เงินทั้งสิ้น คือ ใช้เงินซื้อของ ดังนั้น จุดมุ่งหมายที่ทุกคนมองก็คือ การ สร้างตัวให้ได้เงินมากที่สุดนั่นเอง แหละนั่นคือ ความเครียด

--- ในสมัยโบราณ ขงจื้อ สอนให้คนทุกคนอยู่ในสถานะของตัวเอง และทำให้ดีที่สุด ใครเกิดเป็นลูกกรรมกร ก็ให้เป็นกรรมกรที่ดีที่สุด และหาความสุขในแบบของกรรมกร -- คนเกิดในสถานะพ่อค้า ก็ให้เป็นพ่อค้าและทำการค้าให้ดีที่สุด -- คนเกิดในตระกูลราชการก็ให้เป็นราชการที่ดีที่สุด นั่นคือ การสอนให้คนรู้จักความพอดี ไม่มีการทะเยอทะยาน ข้อดี คือ ไม่มีใครต้องเครียด ไม่มีใครต้องแก่งแย่ง

แต่ข้อเสียคือ การพัฒนาต่างๆมันเป็นไปได้ช้า แต่ถ้าถามจริงๆแล้ว ทุนนิยมมองและเน้นทางวัตถุ หรือ การสร้างเงินที่มากเกินไป ก่อให้เกิดความกดดันมหาศาล --- ส่วนลัทธิ ขงจื้อ ก็สอนให้ไร้ความทะเยอทะยานอย่างสิ้นเชิง -- พูดถึงจุดนี้คงทำให้คนส่วนใหญ่ งง เพราะคนที่เคยได้ ลิ้มรสทุนนิยมแล้วจะไม่ยอมย้อนกลับมาที่แบบ ขงจื้อ

-- ดังนั้น ถ้าให้ทำนายอนาคต ผมก็ยังเชื่อว่า ทุนนิยมยังต้องอยู่อีกนาน ความแก่งแย่งและความกดดัน ก็จะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย จนถึง “จุดสูงสุด” เมื่อเวลานั้นมาถึง ระบบทุนนิยมจะค่อยๆล่มสลายไปพร้อมดับการเกิดระบบใหม่ที่เหมาะสมกับมนุษย์มากกว่า แต่ประเด็นคือ ไม่มีใครรู้ว่า จุดสูงสุดที่ว่า อยู่ตรงไหน แล้วเราเข้ามาใกล้จุดสูงสุดแล้วหรือยัง
ระบบทุนนิยม หลังจุดสูงสุด

นี่เป็นประเด็นที่ยาก เพราะนั่นหมายถึงการก้าวสู่จุดที่ทุนนิยมเดิม ไม่สามารถแก้ปัญหาของคนในเวลานั้นได้ เกิดเป็นปัญหาสังคม ซึ่งถ้าให้ผมเดา มันคือ จุดที่ราคา ที่ดินและสินทรัพย์ต่างๆสูงมากจนคนธรรมดา ไม่สามารถเป็นเจ้าของได้ จุดนี้ของสินทรัพย์ ผมว่าญี่ปุ่นได้ประสบ นั่นนำมาซึ่งปัญหาหมักหมม ในญี่ปุ่นตลอด ยี่สิบปีที่ผ่านมาคือ ราคาที่ดินตกลงไปเรื่อยๆ แต่นั่นแสดงให้เห็นว่าราคาที่ดินในญี่ปุ่นยังไม่ Peak จริงๆ

-- จุดสูงสุดที่ผมพูดคือ จุดที่สูงที่สุด ที่ไม่สามารถลงได้ ไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม และ ไม่มีใครสามารถเป็นเจ้าของต่อ เพราะมันแพงเกินไป เช่น บ้านที่ต้องผ่อน ร้อยปี -- แต่ถ้าหาก ผลิตภาพของสังคมยังคงเพิ่ม อาจทำให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยที่เรายังสามารถหาเงินได้อย่างมากขึ้น แต่เมื่อใดที่ทุกคนรวย เมื่อนั่นก็จะไม่มีใครทำอะไร และนั้นก็คือ จุดสูงสุด

ดังนั้น ไม่สามารถที่จะทำให้ทุกคนรวยได้ --ระบบทุนนิยมขับเคลื่อนด้วยความแตกต่างของฐานะ ซึ่งเป็นจุดที่สร้างพลังให้หลายๆต่อหลายคนมีจุดมุ่งหมาย --เพราะชีวิตที่ปราศจากจุดหมายก็ไม่ต่างกับตายแล้วนั่นเอง--- เราไม่สามารถให้ทุกคนเป็นพระได้ ไม่เช่นนั้น คงไม่มีข้าวกิน เพราะทุกคนเป็นพระไม่มีใครใส่บาตร ดังนั้น ระบบทุนนิยม จึงถูกหล่อเลี้ยงด้วยความแตกต่าง- ความหวัง -และความกดดัน

--- ใครก็ตามที่ผ่านจุดนั้นมาได้ แล้วร่ำรวยก็จะพยายามรักษา และส่งต่อสถานะนั้นให้ลูกหลาน ซึ่งในความจริง ยากมากที่จะ Pass on ความมั่งคั่งเกินกว่า สาม Generation ---ความมั่งคั่งที่ลดลง เป็นเรื่องปกติ เพราะระบบทุนนิยมผูกติดกับความเสี่ยง -- ความเสี่ยงที่มาก ย่อมได้รับผลตอบแทนที่สูง

-- การที่คนมีการศึกษาสูง ก็มีโอกาสที่จะเข้าใจระบบทุนนิยม มากขึ้น และ Take Risk เพิ่มขึ้น จุดนี้ทำให้ สภาวะความแตกต่างของฐานะเปลี่ยนไป เพราะเมื่อมีคนที่มีการศึกษา รวยขึ้น ย่อมทำให้สถานะของคนจนและรวย แตกต่างน้อยลง จุดนี้จะกดดันให้คนรวยต้องรวยขึ้นไปอีก เพื่อที่จะรักษาสถานะเดิมในสังคมไว้ นั่นหมายถึง รุ่นพ่อมีสิบล้านนับว่ารวย แต่พอรุ่นลูกต้องมีพันล้าน ไม่งั้นไม่รวย ซึ่งจุดนี้คือความกดดันของทุกคนในสังคม

บทความที่ได้รับความนิยมสัปดาห์ที่ผ่านมา

"จัดให้" บทความที่ได้รับความนิยมใน Blog แห่งนี้ครับ