แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน

แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน
SE-ED Bestseller Series หนังสือ "แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน" โดย ผมเอง (ที่ SE-ED ทุกสาขาทั่วประเทศ!!)

แนะนำ Facebook ของผมครับ

แนะนำ Facebook ของผมครับ
คลิ๊กเข้ามาเป็นเพื่อนกันใน Facebook ครับ!!

วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553

คุยเฟื่องเรื่องธนาคารต่างชาติ


วันนี้ผมอยากยกความเน่าของธนาคารต่างชาติมาให้ดูกัน ..ช่วงวิกฤตที่ผ่านมา ธนาคารใหญ่ของอเมริกาและยุโรป ต่างโดนพิษ Sub Prime กันอย่างเต็มๆ(เละ) --ปีนี้รายงานว่า ธนาคารต่างๆไม่สามารถจ่ายปันผลได้ จากที่ 2- 3 ปีที่ผ่านมา ธนาคารเป็นอะไรที่"สุดยอด" คือ จ่ายปันผลสูงมากๆ พอเจอวิกฤตเข้าไป "พังเป็นโดมิโน" --- แต่คุณ รู้ไหมว่า ธนาคารบ้านเราอย่าง BBL SCB KBANK KK TCAP ต่างผลประกอบการดีขึ้น ดีขึ้น แถมปันผลสูงขึ้น ..คุณ สงสัย ไหมว่าทำไมเป็นอย่างนั้น

จริงๆแล้ว ผลที่ทำให้ธนาคารในอเมริกาและยุโรป ย่ำแย่ก็คือ การลงทุนในตราสาร (Derivative) --ซึ่งไอ้ Derivative นี่มันมี 2 ขา คือ ด้านนึงรับความเสี่ยงจำกัด อีกด้านความเสี่ยงไม่จำกัด เช่น คุณกลัวค่าเงินจะผันผวน คุณก็ไปป้องกันความเสี่ยง..

คนที่มีความเสี่ยงจำกัดคือ คุณ เพราะคุณเสียค่า Fee ในการป้องกันความเสี่ยง ส่วนอีกด้านสถาบันที่รับประกันให้คุณ เป็นฝ่ายที่ความเสี่ยงไม่จำกัด --ไอ้ประเด็นนี้มัน ตรงกับหนังสือ ที่ชื่อ Black Swan คือ คนส่วนมากคิดว่า ในโลกนี้ไม่มี Black Swan จึงไม่สนใจเอาประเด็นนี้มาอยู่ในภาพรวม

แต่พอเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ที่เราเรียกว่า black Swan ขึ้นมา อย่างเช่น 9/11 , Dotcom Bust , Sub prime กลายเป็นว่า ความเสี่ยงดังกล่าว ทำให้ขาดทุนมหาศาล จนถึงขั้น "ล้มละลาย" -- กลับมาที่ ธนาคาร กับ คุณ..ในเมื่อคุณจำกัดความเสี่ยง แต่ธนาคารไม่จำกัด ดังนั้น "คนซวย" เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็คือ "ธนาคารนั่นเอง"

..และนี่แหละปัญหา"ความเน่า"ของระบบธนาคารอเมริกาและยุโรป (ที่แย่กว่านั้น คือ ธนาคารบางธนาคารไม่รับความเสี่ยงเอง เอาความเสี่ยงมากระจายออก แบ่งขายความเสี่ยงไปให้ ธนาคารอื่น หรือ บริษัทประกันอย่าง AIG มาช่วยรับความเสี่ยง และไม่ใช่แต่ตราสาร ธรรมดาอย่างเงินและอัตราแลกเปลี่ยน.. แต่ Derivative กลับกินวงกว้างรวมถึง Real Estate , Commodity และ หุ้นด้วย เท่ากับว่า กระทบภาพรวมทั้งระบบ) ..นี่และครับ สาเหตของความ"เน่า"

ดังนั้น เมื่อเกิด การหยุดชำระหนี้บ้าน ผู้ค้ำประกันก็รับความเสี่ยงอย่างแรง ตอนนี้ผลกระทบ ไปสู่ Commercial Real Estate จนถึง Credit card -- ถ้ามองให้ดี วิกฤตต่างๆมันวนไปวนมา คือ ตลาดเรา "สถาบันการเงิน" โดนไปเต็มๆตอนปี 1997 ซึ่งตอนนั้น "ก็ล้มกันระนาว" มาคราวนี้ ตลาดอเมริกา กับ ยุโรป ก็เจอบ้าง

... ตอนเราคือ เราเจอวิกฤตปี 97 แล้วตลาดตกสุดๆปี 98 จากนั้นก็ค่อยๆฟื้นตัวมากจนถึงปัจจุบัน -- แต่อเมริกาเจอปี 2008 แต่พอ 2009 ตลาดกลับพุ่งพลวด ทำให้หลายๆฝ่ายกังวลว่า อเมริกาและยุโรป อาจเกิด Double Dip ซึ่งตรงนี้ก็ไม่มีใครสามารถรู้ได้

--- เอเชีย แม้ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่เราก็โดนหางเลข เพราะการส่งออกเราพึ่งพึงตลาดอเมริกาและยุโรปเป็นสำคัญ ..สรุปธนาคารของเรา เช่น BBL ตั้งแต่ปี 2008 ที่สถาบันต่างชาติเจอวิกฤตเต็มๆ แต่ BBL ปี 2008 กลับมีกำไรมากกว่าปี 2007 พอปี 2009 ก็กำไรเพิ่มขึ้นอีก ..คือ ผลประกอบการดีขึ้นเรื่อยๆตลอด ..แต่พอมาดูราคาหุ้นปี 2008 หุ้นร่วงไปแตะ 59 บาท ตอนนี้กลับมาอยู่ที่ 120 บาท

--ผมถามหน่อยว่า ปัจจัยมันเปลี่ยนตรงไหน กำไร ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ราคาหุ้น วิ่งระหว่าง 59 - 130 บาท --- คือปัจจัยเหมือนเดิม แต่ราคาแกว่ง --"ถ้าคุณฉลาด ผมว่า คุณสามารถทำกำไรจากการแกว่งได้อย่างมหาศาล" --คุณว่าจริงไหม

บทความที่ได้รับความนิยมสัปดาห์ที่ผ่านมา

"จัดให้" บทความที่ได้รับความนิยมใน Blog แห่งนี้ครับ