แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน

แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน
SE-ED Bestseller Series หนังสือ "แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน" โดย ผมเอง (ที่ SE-ED ทุกสาขาทั่วประเทศ!!)

แนะนำ Facebook ของผมครับ

แนะนำ Facebook ของผมครับ
คลิ๊กเข้ามาเป็นเพื่อนกันใน Facebook ครับ!!

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

Low cost Airline กับผู้ก่อตั้ง JETBLUE

ตอนนี้ Low Cost Airline กลายเป็นเรื่อง intrend สุดๆ เมื่อการบินไทยกำลังจะลงมาเล่นในตลาดนี้ ..จริงๆจะว่าไปแล้ว ก่อนหน้านี้ การบินไทยก็ชิมลางเข้ามาสัมผัส "นกแอร์" แบบ งงๆ เพราะเท่าที่ผ่านมา มันไม่เวิร์ค!!

ใน Australia สายการบินแห่งชาติอย่าง Qantas ก็โดดลงมาเล่นในตลาด Low Cost Airline เช่นกัน ..คือช่วงแรกๆ ที่ตั้ง JetStar ก็ดูท่าจะไปได้ที ..แต่สุดท้ายก็เหลว ไม่เป็นท่า -- ถ้าไปดูตัวอย่าง Low Cost Airline ที่สำเร็จที่สุดในโลกต้องไปดู Southwest Airline เพราะสายการบินแห่งนี้ ก่อตั้งขึ้นมา เพื่อ Low Cost อย่างแท้จริง (ของจริงมันต้องอยู่ในสายเลือด ไม่ Fake!!)

จุดที่น่าสนใจ คือ "ความสำเร็จของ Southwest Airline คือ ความแท้ หรือ ความ Original ไม่เสแสร้ง ซึ่งนับเป็น Key Success Factor ของธุรกิจในยุค Red Ocean อย่างในปัจจุบัน

หลายคนสงสัยว่าทำไมผมพูดถึง Red Ocean ทำไมไม่ Blue Ocean อย่างที่ฮึตๆกันล่ะ ....จุดนี้จะว่าไปแล้ว ใครๆก็อยากวาง positioning ตัวเองเป็น Blue Ocean (คือมีความแตกต่างและโดดเด่น ในกลุ่ม Category ของตัวเอง) แต่พอเอาเข้าจริง (ในโลกของธุรกิจจริง) มันไม่ได้ง่ายเหมือนที่เขาเขียนในตำรา

คุณลองคิดดูซิว่า ถ้าคนทั่วไป อย่างเราๆท่านๆ ต้องการจะเปิดธุรกิจ มันก็หนีไม่พ้น Retail Business ซื้อมาขายไป ..สรุปสิ่งที่คุณต้องเจอ คือ เจ้าของตึกหน้าเลือดอย่าง CPN (เขาเคี่ยว หุ้นเขาเลยน่าซื้อ.. อิ อิ) นอกจากนั้น คุณก็ต้องเจอกับคู่แข่งมหาศาล -- นั่นแหละ Red Ocean !!

การเป็น Blue Ocean มันหมายถึง Innovation อย่างเช่น Apple ทำ (ซึ่งผมว่า คนไทยมีหัวทางด้านนี้น้อย)..ไม่เป็นไร คนไทยเก่งอย่างอื่นชดเชยกัน.. อิ อิ

วันนี้ผมเอา การสร้าง Career Path ของ David Neeleman ผู้ก่อตั้ง JetBlue (สายการบิน Low Cost ชื่อก้องโลก) และล่าสุดนาย David ก็ร่วมก่อตั้ง Azul สายการบิน Low Cost ลุยตลาดปราบเซียนอย่างประเทศ Brazil

"ใน 12 เดือนแรก สายการบิน Azul เคลื่อนผู้โดยสารได้ถึง 2.2 ล้านคน ...ถือเป็นความสำเร็จอย่างสูงในอุตสาหกรรมการบินซึ่งย่ำแย่มาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา" จากสถิติของ Fortune500 ธุรกิจสายการบิน ให้ผลตอบแทน Return on investment -12.6% Annually ตั้งแต่ปี 1999 - 2009...ธุรกิจสายการบินขาดทุนรวม $60 billion ...ขนาด Warren Buffet ยังยอมรับรับว่า การตัดสินใจลงทุนใน US Airway เป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด

แล้วอะไรล่ะ ที่ทำให้ David Neeleman ประสบความสำเร็จ ในอุตสาหกรรมที่ย่ำแย่ "นี่แหละเป็นสิ่งที่น่าศึกษา" มันคือการมองโอกาสจากวิกฤตนั่นเอง

ประเทศ Brazil เป็นประเทศที่กำลังเติบโตในอัตราเร่ง มีประชากรประมาณ 200 ล้านคน แต่ระบบขนส่งทางไกลอย่าง รถไฟ ไม่ได้เรื่อง-- "อย่างแย่" ..ส่วนสายการบิน (นับต่อหัว คือเครื่องบิน 1 ลำต่อคน 1 ล้านคน ..ในขณะที่ US เครื่องบิน 1 ลำต่อคน 65,000 คน..."นี่เป็นโอกาสมหาศาล")

การจับตลาดกำลังพัฒนาที่คนส่วนใหญ่ยังไม่มีรถส่วนตัว แถมค่า Taxi แพงมาก ..ก็คือการมีรถ Shutter Bus ไปส่งตามจุดสำคัญๆของเมือง ซึ่งเป็น Value Added ที่ Neeleman ให้แก้ลูกค้าฟรี!! การลดค่าตั่วให้ถูกสุดๆ จนคู่แข่งสู้ได้ยาก และขยายธุรกิจในอัตราเร่ง "มันเป็น Business Model ที่เสี่ยง แต่จะว่าไปแล้ว มันก็คล้ายกับสมัย คุณเจริญ สร้างเบียร์ช้าง ตีตลาดไทยนั่นแหละ"(เร่งให้โต แล้วผูกขาดตลาด ด้วยต้นทุนที่รายเล็กทำไม่ได้)

"ความสำเร็จทั้งหมดนี้" ผมกลับมองว่า มันไม่ได้มาจาก Textbook แต่มันมาจากประสบการณ์ล้วนๆ ..ถ้าย้อนดูประวัติของ Neeleman จะเห็นได้ว่า เขาเป็นคนแรงตั้งแต่หนุ่ม เริ่มสร้างธุรกิจส่วนตัว Travel Agency ตั้งแต่อายุ 23 จากนั้นก็ "ธุรกิจล้มเหลวตั้งแต่หนุ่ม"

ตอนอายุ 34 เขาสร้างธุรกิจที่สอง แล้วขายให้กับให้กับสายการบิน Southwest Airline จากนั้นก็ทำงานให้สายการบินแห่งนี้ จนไต่เต้า จ่อตำแหน่ง CEO ต่อจาก Herb Kelleher --ก่อนที่เขาจะโดน Herb "ไล่เขาออก" (ตกงาน)

จากนั้นเมื่อ Neeleman อายุ 39 ปี เขาก่อตั้งสายการบิน JetBlue จากนั้นปี 2007 Neeleman ก็โดนขับออกจากสายการบินที่ตัวเองก่อตั้ง (ถ้าดูไปจะคล้ายกับ Steve Jobs ที่โดนขับไล่ออกจาก Apple ในยุคแรก)

ปัจจุบัน Neeleman อายุ 51 ปี ก็ได้ร่วมกับนักลงทุนก่อตั้ง Azul Airline ในประเทศ Brazil "และนี่แหละที่ผมบอกว่า คนที่ประสบความสำเร็จ มันไม่ได้ มาง่ายๆ อย่างที่หลายๆคนคิด" ...การทำธุรกิจมันเป็น Process ระยะยาว และสิ่งที่สำคัญที่สุดมันคือ "ประสบการณ์" ที่ไม่มีใครสามารถจะเอาไปจากคุณได้

ด้วย"ประสบการณ์"ที่มากพอ --- มันจะเป็นบันไดสู่ความสำเร็จ !! (นี่คือชีวิตจริง)

1 ความคิดเห็น:

  1. ธุรกิจการบิน มันมี fix cost สูง ไหนจะค่าตัวเครื่องบิน นักบิน ช่างเครื่อง พนักงานแอร์ สจ๊วต และเชื้อเพลิง ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ต้นทุนเหล่านี้ต่างแปรผันตรงกับเงินเฟ้อ ในขณะที่ราคาตั๋วต้องลดต่ำลง เพื่อเรียกลูกค้าขึ้นเครื่องเยอะๆ ทำให้ธุรกิจไม่ค่อยมีกำไร จึงไม่ค่อยมีใครยืนหยัดในวงการได้ยาวนาน ดูอย่างหุ้นการบินไทย 5 ปีย้อนหลัง ผลประกอบการลุ่มๆ ดอนๆ
    ปีนี้ก็ไม่ปันผล

    ตอบลบ

บทความที่ได้รับความนิยมสัปดาห์ที่ผ่านมา

"จัดให้" บทความที่ได้รับความนิยมใน Blog แห่งนี้ครับ