แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน

แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน
SE-ED Bestseller Series หนังสือ "แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน" โดย ผมเอง (ที่ SE-ED ทุกสาขาทั่วประเทศ!!)

แนะนำ Facebook ของผมครับ

แนะนำ Facebook ของผมครับ
คลิ๊กเข้ามาเป็นเพื่อนกันใน Facebook ครับ!!

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

ชอบ idea สองสูง ของท่านธนินท์จัง !!



ท่านธนินท์มักกล่าวในงานสัมมนาต่างๆ ถึงแนวคิด "สองสูง" ของท่าน -- ซึ่งสูงแรกก็คือ ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ และสูงที่สอง คือขึ้นราคาพืชผลทางการเกษตร ...ตอนนี้รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์เริ่มสูงแรกขึ้นเงินเดือนข้าราชการ

ปรากฏว่า ยังมิทันขึ้นแต่ดันประกาศออกไปก่อนว่าจะขึ้นเงินเดือนข้าราชการ "สรุปสิ่งที่เกิดขึ้นคือ ราคาข้าวของวิ่งขึ้นไปดักหน้า เรียบร้อยแล้ว .... ข้าราชการฝากบอกว่า (เงินเดือนก็ยังไม่ขึ้น ของขึ้นไปก่อนแล้ว ตกลงใครซวยฟะ!!)

ในค่ายของนักวิชาการ "ทุนนิยมแบบสุดโต่ง" ก็ประกาศออกมาว่า "แจ๋ว!!" การที่ราชการได้เงินเดือนน้อย คนจะได้มาทำราชการน้อยๆ ..ฮึม!! สาเหตุที่นักวิชาการกลุ่มนี้ สนับสนุนให้ราชการเล็กลง เนื่องจาก Sector ของราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจ เป็นอะไรที่เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจน้อยสุด (เขาบอกว่ายิ่ง ราชการใหญ่ ประเทศก็ยิ่งแย่ ดูอย่างอัฟฟริกา ที่รัฐบาลเป็นทหารผูกขาด ยิ่งทำให้ประเทศห่วย ..ต่างกับประเทศที่ส่งเสริมการค้าและการแข่งขันแบบเสรี .."เพราะการแข่งขัน ทำให้คุณได้รับสินค้าและบริการที่ดีขึ้น ในราคาที่ถูกลง" ซึ่งตรงข้ามกับการผูกขาด ถึงแม้จะไม่แสวงกำไรก็เถอะ มันนำมาซึ่งการบริการที่ห่วย (เพราะไม่มีการแข่งขัน) รวมทั้งหน่วยงานนั้นๆก็มักขาดทุนตลอดกาล เช่น การรถไฟ, ขสมก.)

หลายๆคนอาจมองว่า การมีรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ คุมสาธารณุปโภคหลักๆทำให้ประชาชนเกิดประโยชน์ เช่น ไฟฟ้า , น้ำประปา และ โทรคมนาคม ..แต่จริงหรือ!! -- ย้อนกลับไปสมัยก่อนที่คุณทักษิณจะมาเป็นนายก ผมจำได้ว่าเวลาไปติดต่อราชการ "คุณเผื่อเวลาไปเลยทั้งวัน..แต่หลังจากที่คุณทักษิณเข้ามาเปลี่ยน นำเอาหลายๆรัฐวิสาหกิจต่างๆเข้า Privatize กลายเป็นเอกชน (ปรากฏว่าการบริการดีขึ้น หน่วยงานนั้นก็กำไรเพิ่มขึ้น )

บทสรุปของการเปลี่ยนราชการเป็นเอกชน ที่หลายๆคนมองว่า "เป็นการเอาเปรียบ และจะนำมาซึ่งการเก็งกำไร และคนส่วนใหญ่เสียประโยชน์"(ไม่ใช่เลย!!) ..สิ่งที่เกิดขึ้นมันกลายเป็นการแข่งขัน ที่ทำให้ประชาชนได้รับการบริการที่ดีขึ้น ..การแข่งขันทำให้เราได้ใช้บริการต่างๆที่ถูกลง --ยกตัวอย่างโทรศัพท์ หากวันนี้ไม่ได้อนุญาตให้เอกชนมาทำเช่น TRUE , ADVANC ,DTAC ...คุณลองนึกภาพ ก่อนหน้านี้จะขอโทรศัพท์ที ต้องรอเป็นปีๆ "นี่แหละระบบราชการ !!"

พอเอาเข้าจริงผมกลับมองว่า "กลุ่มนักวิชาการแบบสุดโต่ง" มันส่งเสริมการแข่งขันอย่างเสรี ซึ่งเป็นเรื่องดี อย่างล่าสุด ข้อพิพาษ 3G "คุณว่าปัญหามันอยู่ที่ไหน" (ถูกต้อง) ก็หน่วยราชการทำงานซ้ำซ้อน ฟ้องกันไปกันมา ..."ใครได้ประโยชน์!!(ผมไม่รู้ใครได้ประโยชน์ แต่ที่แน่ๆประเทศเสียโอกาส)" ...เอกชนที่จะลงทุน สร้างให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจเกี่ยวเนื่องมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นในเชิงของการสร้างงาน เริ่มจากธนาคารที่สามารถปล่อยสินเชื่อ ทำให้เงินมหาศาลวิ่งเข้าสู่ระบบ เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจ

นี่ยังไม่รวมธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น โอกาสในการสร้างธุรกิจใหม่ๆ การ Provide Content การส่งข้อมูลที่รวดเร็ว ..สิ่งเหล่านี้มันเป็นการก้าวต่อไปของ รูปแบบการทำงานที่ประหยัดมากขึ้น เดินทางน้อยลง ..หลายๆคนก็สามารถทำงานที่ใดก็ได้ ไม่ต้องเสียเวลารถติดเข้ามานั่งพิมพ์งานที่ Office (กลายเป็นว่าทุกอย่างไม่เกิด เพราะราชการ ทะเลาะกันเอง "เฮ้อ!! เมื่อไหร่บ้านเราจะเจริญเนี่ย"

กลับมาที่ท่านธนินท์ กับ "สองสูง" ซึ่งสูงแรก รัฐบาลก็รับไปทำ แต่ด้วยจุดมุ่งหมายที่ต่างกัน "ฮ่า ๆ อย่าลืมเลือกผม เพราะผมขึ้นเงินเดือนให้คุณ !!" (แต่ก็ต้องขอบคุณที่ สูงแรกได้เกิดขึ้นแล้ว) ..ในส่วนสูงที่สองคือ พืชผลทางการเกษตร ..ส่วนนี้มัน Tricky เพราะหากรัฐบาลใดทำให้ราคาพืชผลแพง เท่ากับว่า เลือกตั้งครั้งหน้า คุณเตรียมเป็นฝ่านค้านได้เลย "ไม่มีใครเลือก"

ประชากรในประเทศกว่า 50% ทำอาชีพเกษตรกรรม แต่รายได้รวมจากอาชีพเกษตรกรรม ไม่ถึง 10% ..ไอ้สาเหตหลักๆก็คือ การตรึงราคา หรือ กดราคาสินค้าเกษตรนี่แหละ ที่มันทำให้คนจน "จนดักดาน" ที่บ้านเราแตกร้าวถึงเพียงนี้ ...."เสื้อแดง" ที่เกิดขึ้น ประเด็นมันก็จุดนี้แหละเป็นสาเหตหลัก

ผมว่า ทำไมเราไม่ฟังคุณธนินท์ กันบ้าง ..หากพืชผลทางการเกษตรราคาสูงขึ้น คนกรุงเทพก็อาจกินข้าวแพงขึ้นหน่อย "แต่คงไม่ถึงกับตาย" ..สมัยผมอยู่ ออสเตรเลีย สัดส่วนของเงินที่ซื้ออาหารกินคือ ค่าใช้จ่ายหลัก ....แต่ในกรุงเทพ ค่ากินถูก แต่ "ค่าไร้สาระมันแพง"--- (ถูกต้อง) สัดส่วนของการบริโภคของประเทศเรามันผิดรูปแบบ "ราคาพืชผลทางการเกษตรมันถูกกดราคาเกินความจริง ..ประเทศเราผลักภาระการบริโภคให้คนจน แบกรับ แล้วเราก็เอารายได้ ไปซื้อของไร้สาระ เช่น ของหรูๆ "

ยกตัวอย่างประเทศญี่ปุ่น ผลิตผลทางการเกษตรเขาราคาแพง การกินในประเทศเขาก็แพง แต่กลายเป็นว่าความเหลื่อมล้ำทางรายได้เขาไม่ได้มากเหมือนบ้านเรา ..(ถูกต้อง) เขาเน้นการส่งออก เขาเน้นการขยายตลาดกำลังซื้อภายในประเทศ และเขาก็เน้นกระตุ้นการลงทุน "นโยบายของญี่ปุ่น คือ สูงทุกด้าน"

หลายคนแย้งว่า "ไม่ดี" แต่คุณดูให้ดี คุณภาพชีวิตของคนโดยรวมของญี่ปุ่น "ดี" ..GDP ต่อหัว "สูง" ..ค่าเงินก็แข็งทำให้คนญี่ปุ่นสามารถบริโภคของต่างประเทศในราคาถูก หรือ คนญี่ปุ่นก็สามารถไปลงทุนได้ทั่วโลกในราคาถูก --- แต่อย่างของไทย กดราคาผลิตผลหลักของประเทศ "ให้พืชผลราคาต่ำ" ส่งผลให้กำลังซื้อในประเทศไม่ดี ..เมื่อในประเทศไม่มีกำลังซื้อ เศรษฐกิจก็พึ่งพึงกับการส่งออก ใช้แรงงานต่ำ ผลิตของถูกๆ ขายต่างประเทศ (นี่แหละความโง่ ที่ครอบงำ ประเทศที่ถูกความจนครอบงำตลอดกาล)

เอาเป็นว่า ยิ่งเขียนยิ่งยาว ขอสรุปว่า สิ่งที่คุณ ธนินท์เสนอ เป็นเรื่องที่ดี "การทำให้ผลผลิตทางการเกษตรมีราคาสูง" จะเป็นการเพิ่มกำลังซื้อ ซึ่งเป็นการสร้างตลาดการบริโภคภายในประเทศให้ใหญ่ขึ้น (อย่างผมเคยยกตัวอย่างประเทสออสเตรเลีย การส่งออกเขาก็พอๆกับเรา แต่ตลาดบริโภคภายในเขาใหญ่กว่าเราหลายเท่า) ..เมื่อตลาดในประเทศใหญ่ คุณก็สามารถสร้างงานสร้างธุรกิจเพื่อรองรับความต้องการที่ขยายตัว ทุกคนก็รวยขึ้น "และนี่คือทางเดินของประเทศที่เจริญแล้ว"

"ขอบคุณ" คุณธนินท์ ที่ทำให้คนไทยตาสว่างขึ้นครับ!!

6 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ26 กันยายน 2553 เวลา 19:46

    เปิดประเด็นที่น่าคิดเรื่อง นิคมอุตสาหกรรม นะพี่

    ผมคิดมาตลอดว่า ยังไงชุมชนก็เกิดมาก่อน อยู่แถวนั้นมาก่อนอยู่แล้ว

    แต่ไม่ได้มองลึกไปว่า มีก่อนจริง แต่ก็ไม่ได้มากมาย แต่พอดีนิคมเข้ามา ไอ้คนที่เข้ามาใหม่เพื่องานการนี่แหล่ ที่เยอะ แล้วตอนหลังมาตีโพยตีพาย

    อยากรู้บ้างจังพี่ ว่าอย่างประเทศอื่นๆ เช่นญี่ปุ่น ที่เค้ามีเทคโนโลยีที่ดี ในการกำจัดพวกขยะอุตสาหกรรมเนี่ย เค้าอยู่กันยังไง ชาวบ้านแถวนั้นเค้ามีบ่นกันบ้างหรือเปล่า

    ผมเคยรู้แต่ว่า เขาเอาขยะมาถมที่จนกลายเป็นเมืองใหม่กลางทะเลได้ ทำให้ขยะกลายเป็นสิ่งที่มีมูลค่าได้

    ตอบลบ
  2. "ของพวกนี้ มันต้องแยกกัน ต่างประเทศเขาไม่ให้ โรงงานไปรวมกับบ้านคนหรอก ...แต่จริงๆแล้ว อย่างคุณวิกรม แกเล่นรวมเป็นเมืองเลย อันนี้ก็น่าศึกษานะ .."

    ดูๆไป เฮอะๆ ๆ โลกกว้างใหญ่ ค่อยๆเดินครับ

    ตอบลบ
  3. ถ้าเป็นคนอื่นที่ไม่ใช่เสี่ยธนินท์พูด ผมก็ว่าดีครับ เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ แต่เผอิญคนนี้พูด ผมไม่หารคำพูดของเสี่ยแบบที่เค้าชอบพูดกันว่าคำพูดของคนบางคนพูดอะไรไปต้องหาร 2 แต่ผมใส่เครื่องหมายติดลบไว้หน้าคำพูดของเสี่ยธนินทร์แทน เพราะคำพูดกับการกระทำนี่คนละด้านเลยทีเดียว คือตัวเสี่ยพูดว่าอยากให้พวกราคาสินค้าเกษตรสูง เอาจริง ๆ เลยคือ...เสี่ยขายได้ราคาสูง แต่เวลาที่ไปซื้อมาจากชาวไร่ชาวนา เสี่ยก็ให้ราคาต่ำมาก คือยังไง ๆ เสี่ยก็ได้อย่างเดียวใช่ไหมครับ

    เมื่อซัก 2 ปีก่อนผมเคยอ่านบล๊อกแล้วเจอคนที่เอาบทความของเสี่ยธนินท์มาลงหน้าบล๊อก เรื่องที่ว่าให้ขึ้นเงินเดือนสูง ๆ แล้วให้ขึ้นราคาสินค้าอาหารหรือการเกษตรแพง ๆ ผมอ่านอยู่ 2-3 รอบ ก็เขียนแสดงความเห็นตอบกลับไปเป็นหน้า ๆ เหมือนกัน จริงๆ ราคาสินค้าเกษตรสูง มันก็ดีหรอกครับ แต่สินค้าที่ราคาสูงขึ้นเนี่ย เม็ดเงินมันไหลไปถึงมือพี่น้องเกษตรกรจริงรึเปล่า หรือว่ามันไหลไปอยู่ที่กระเป๋าของใครคนใดคนนึง สภาพอย่างในปัจจุบันคงพอตอบได้มั๊งครับว่าเม็ดเงินนั้นมันไปที่ใครกันแน่

    ผมเลยว่าเสี่ยแกออกมาพูดเผื่อผลักดันผลประโยชน์ทางธุรกิจของแกมากกว่าที่จะทำให้พี่น้องเกษตรกรได้ลืมตาอ้าปากได้จริง ๆ

    ตอบลบ
  4. ผมว่า ต้องดูโครงสร้างทางการเกษตรกรรมของประเทศด้วย เกษตรกรในออสเตรเลีย เป็นแบบการผลิตขนาดใหญ่ ขณะที่ในญี่ปุ่นเป็นแบบรายย่อยขนาดเล็กแต่มีการรวมตัวเพื่อต่อรองผลประโยขน์ที่ในรูปของสหกรณ์ ที่เข้มแข็ง ผลประโยชน์จึงถึงมือเกษตรกรโดยตรง ขณะที่ประเทศไทย โครงสร้างของเกษตรกรเป็นปบบรายย่อย (ที่รายใหญ่พยายามฮุบแล้วทำเป็น contract farming) ไม่มีการรวมกลุ่มที่เข็มแข็ง no market power เบี้ยล่างคนกลางตลาด ผมว่าคนกลางได้ประโยชน์มากกว่า
    แล้วหากราคาสินค้าในประเทศแพง จะส่งออกแข่งกับประเทศอื่นได้หรือ ค่าแรงที่สูงขึ้น ไม่ทำให้อุตสาหกรรมในเมืองไทยตายหมดรึ ทุกคนมาลงทุนเมืองไทยส่วนหนึ่งก็เพราะค่าแรงที่พอแข่งขันได้ มันต้องปรับตัวให้สมดุลมากกว่า ผมว่า ชองพวกนี้คงไม่สามารถเปลี่ยนได้เลยทันที

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ28 กันยายน 2553 เวลา 01:16

    เห้นด้วยกะ คห.ของ Darthtrowa คับ

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ21 ตุลาคม 2553 เวลา 09:11

    ประเทศยากจนก็ควรต้องมีรัฐวิสาหกิจรองรับเพื่อถ่วงราคาให้เหมาะสม
    ที่คนจนพอจ่ายได้ เมื่อประเทศพัฒนาขึ้นในระดับหนึ่งแล้วและ รายได้ต่อหัวสูงขึ้นจึงค่อยคิดprivatize สู่ภาคเอกชน ค่อยเป็นค่อยไป ควบคู่กับการลดการคอรัปชั่นของนักการเมืองโดยเฉพาะในยุคคุณทักษิณนั่นแหละ

    ตอบลบ

บทความที่ได้รับความนิยมสัปดาห์ที่ผ่านมา

"จัดให้" บทความที่ได้รับความนิยมใน Blog แห่งนี้ครับ