แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน

แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน
SE-ED Bestseller Series หนังสือ "แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน" โดย ผมเอง (ที่ SE-ED ทุกสาขาทั่วประเทศ!!)

แนะนำ Facebook ของผมครับ

แนะนำ Facebook ของผมครับ
คลิ๊กเข้ามาเป็นเพื่อนกันใน Facebook ครับ!!

วันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2560

Built to Last -Built to Junk



‘ยุคนี้ทำสินค้าง่าย แต่ไม่ใช่ใครทำก็ได้แล้วจะรวย !!’


ยุคนี้เราเห็น คนมากมาย ลุกขึ้นมาทำสินค้าของตัวเอง ตั้งแต่คนธรรมดา ยันดาราดัง แต่บางคนเท่านั้นที่สำเร็จ ..ส่วนใหญ่ไม่รอด


เรามาทำความเข้าใจเรื่องสินค้าก่อน 


...สินค้ามี 2 แบบ คือ


 1. Built to Junk (ทำมาเป็นขยะ)


 2. Bulit to Last (ทำขึ้นมาเพื่อใช้ตลอดไป) 


ดูเผินๆ เหมือน จะไม่ต่างกัน แต่จริงๆ มันต่างกันทุกอย่าง 


- ถ้า ‘Built to Junk’ 

เป้าหมาย : ตลาด Mass 

จุดขาย : ทำให้ราคาถูก

จุดแข็ง : ผลิตให้มาก เน้นการลดต้นทุน ขายเร็ว

จุดอ่อน : วัสดุราคาต่ำ คุณภาพไม่ดี ไม่ใส่ใจรายละเอียด 


คำจำกัดความ : ทำให้เร็ว ทำให้ถูก ขายให้มาก หมดแล้วเลิก หาเทรนด์ใหม่ วนไปเรื่อยๆ ...คนจีนถนัดมากธุรกิจแบบนี้ ..ทำให้วันนี้นักธุรกิจจีน ขึ้นมาผงาดเวทีการค้าโลก


สิ่งที่ต้องระวัง คือ ‘สินค้าแบบนี้ ส่วนใหญ่ ซื้อแล้วไม่ค่อยได้ใช้ หรือ ใช้ไม่นานก็พัง เป็นขยะ ...เมื่อถึงจุดนึงคนซื้ออาจหยุดซื้อ


ถ้าเป็นธุรกิจบริการต้องระวัง เช่น โรงแรมที่พัก ที่สุดแต่ว่าสร้างให้อลังการ แต่ไม่ได้คำนึงถึงการดูแลรักษาปรับปรุง ตรงนี้จะอยู่ไม่นาน (คนไทยชอบทำธุรกิจแบบนี้ คือ สนใจแต่สร้าง แต่ไม่สนใจ Maintenance ..ของมันจะโทรมเร็ว ไม่ยั่งยืน


- ถ้า ‘Built to Last’ 

เป้าหมาย : กลุ่มคนเฉพาะ

จุดขาย : สินค้ามีเอกลักษณ์ , ใส่ใจในรายละเอียด

จุดแข็ง : ผลิตให้ตรงความต้องการเฉพาะกลุ่ม 

จุดอ่อน : ต้นทุนสูง เพราะไม่ได้ผลิต Mass 


คำจำกัดความ : เลือกกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ชัด ...ทำทุกอย่างเพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย ...ใส่ใจในรายละเอียด (ไม่มีอะไรเล็กน้อย ..ถ้าขายเสื้อผ้า ต้องลงถึง ตะเข็บ การเย็บ กระดุม ป้ายราคา ..ถ้าขายนาฬิกา ต้องสนใจหีบห่อ ..อย่าง Steve Jobs คือ คนแบบนี้เลย ขนาดกล่องใส่ iPhone ยังลงมาดูเองเลย)


สิ่งที่ต้องระวังคือ ‘การเลือกลูกค้า โคตรยาก ..นอกจากเลือกกลุ่ม Target Market ยากแล้ว ..ต้องเข้าใจปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า’ ...คนที่ทำได้ จึงรวยยาว กินยาว เช่น Apple , Adidas ในยุคที่สร้าง Yeezy สร้าง Limited Edition ยุคหลังของ Adidas เขาไม่ได้ขายลูกค้านะ ..เขาขายพ่อค้า ให้ไปนั่งต่อคิวซื้อ ...ส่วนตัวเขาทำหน้าที่กระตุ้นความสนใจของลูกค้าในวงกว้าง


Social สร้างให้เกิด Demand ..ตรงนี้แหละที่ทำให้ตั้งราคาได้สูง ...ก่อนหน้านี้การตลาดแบบนี้ใช้เฉพาะ Luxury Brand แต่วันนี้ผม Surprise มากที่ สินค้าอุปโภคบริโภคอย่างรองเท้า Adidas เอาหลักการนี้มาใช้แล้วได้ผล ดีเกินคาด


มีที่ไหน ขายรองเท้าผ้าใบ ได้ดี แพง จำนวนจำกัด ต่อคิว แย่งกันซื้อ ขายต่อได้ราคา เหมือนกระเป๋า Hermes เลย


ทุกวันนี้กลยุทธ์แบบนี้ เริ่มกระจายไปสู่สินค้าอื่นๆ มากมาย ...ฟันธงเลยว่า ต่อไป ลูกค้าจะไม่สามารถซื้อสินค้ายอดฮิตในราคาป้าย ...แถมซื้อมาแล้วดีใจชั่ววูบ แล้วนั่ง งง ต่ออีกวูบว่า ‘ซื้อมาทำไมวะ ?’


สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือ ต่อไปจะไม่มีสูตรสำเร็จของผู้ชนะ เพราะมันสลับเปลี่ยนแพ้ชนะ ตามความต้องการของตลาดที่ขึ้นลงบ้าคลั่งแบบตลาดหุ้น


เออ!! ...ถ้าอยากเข้าใจควาทต้องการของลูกค้ายุคใหม่ ลองไปดูการแกว่งของหุ้น ...นั่นแหละ เหมือนกันเลย - แต่อย่าลืมนะ ท่ามกลางการแกว่งของราคาหุ้น คนที่เข้าใจก็รวยได้ทุกรอบ รวยได้ตลอดเหมือนกัน


‘ประเด็นคือ ไม่ได้อยู่ที่ความผันผวน แต่อยู่ที่ความเข้าใจของเราต่างหาก’


#ภาววิทย์กลิ่นประทุม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยมสัปดาห์ที่ผ่านมา

"จัดให้" บทความที่ได้รับความนิยมใน Blog แห่งนี้ครับ