‘ก็อปปี้ อย่างไรให้เจริญ ?’ ..ถ้าพูดถึงของก็อปปี้ เราจะนึกถึงของเลียนแบบ แต่นั่นเป็นเพียงมุมเดียวที่เราเห็น
อีกมุมที่เราไม่ค่อยรู้ ก็คือ ‘จริงๆ แล้วการก็อปปี้เป็นจุดเริ่มที่ดีของความเจริญ’ ....ครับ ฟังดูเหมือนจะขัดความรู้สึกที่ ยุคนี้ ใครๆ ก็พูดว่า ต้องสร้าง นวัตกรรม ต้องคิด Innovation ล้ำยุค ...แต่จริงๆ แล้ว ความเจริญในยุคใหม่ ล้วนเริ่มจากการก็อปปี้
ถ้าเราพูดถึง เซินเจิ้น เราจะนึกถึงเมืองเมืองผลิตของเก๊ ...แต่ทุกวันนี้เซินเจิ้นได้พัฒนาไปจนแทบไม่เหลือเค้าโครงของเมืองของเก๊เลย
วันนี้เซินเจิ้น ได้ฉายาใหม่ คือ Silicon Valley of Asia ...ก็คือ ศูนย์กลางเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดในเอเชียนั่นเอง
ผมเคยดู สารคดีอันนึงที่เข้าไปถ่ายทำที่เซินเจิ้น โดย Focus ไปที่บริษัท DJI ..หลายคนน่าจะคุ้นชื่ออยู่ ...DJI เป็นบริษัทผลิต โดรน รายใหญ่ที่สุดในโลก กินส่วนแบ่งตลาดของโดรน 70% ของทั้งโลก ...ทีเด็ดคือ บริษัทนี้ก่อตั้งขึ้นมาเพียงแค่ 10 ปีที่แล้ว โดยนักศึกษาจีนที่ชื่อ Frank Wang ซึ่งไปเรียนที่ฮ่องกง แล้วเอา Project โดรนที่ทำระหว่างเรียนนี่แหละมาเปิด บริษัท DJI ที่เซินเจิ้น
หลังจากนั้น 10 ปี Frank Wang กลายเป็น Billionaires ไปเรียบร้อย ...สิ่งที่น่าสนใจคือ เราไม่แปลกใจหรือว่า ทำไมบริษัทจีน ถึงเป็นผู้นำในเรื่องของโดรน ...ซึ่งถ้าใครไม่รู้มาก่อน คงคิดว่า DJI น่าจะเป็นบริษัทอเมริกา แล้วมีฝรั่งเป็นเจ้าของ
ในสารคดี เขาเจาะลึกลงไปว่า ‘ทำไมโดรน ถึงเกิดแล้วรุ่งในเซินเจิ้น’ ...คิดง่ายๆ ถ้า Frank Wang อยู่อเมริกา หรือ ที่อื่น ก็แทบจะเป็นไปได้ยากที่จะสร้างบริษัทอย่าง DJI ....เพราะถ้าเราศึกษาจะพบว่า Silicon Valley ที่อเมริกา จะเก่งในเรื่องของ Software ...แต่เซินเจิ้น เก่งเรื่อง Hardware ...ซึ่งในสารคดี เขาเรียกเซินเจิ้นว่าเป็น The Silicon Valley of Hardware นั่นเอง
การที่เซินเจิ้น เริ่มจากการเป็น ศูนย์กลางการผลิตของก็อปปี้ ทำให้จีนในช่วงที่ผ่านมากลายเป็นโรงงานของโลก ในเรื่องการผลิต ...ยิ่งผลิต ก็ยิ่งชำนาญ ...และผลพลอยได้จากความชำนาญ ก็คือ Infrastructure ที่สร้างให้เกิดสภาพแวดล้อมของการผลิต
เจ้าตัว Infrastructure นี่แหละ ที่ผมมองว่า เป็น จุดสำคัญที่ทำให้เกิดโอกาสใหม่ๆ ...เพราะเมื่อสภาพแวดล้อมมันพร้อมในการผลิต ...นักศึกษาหรือคนที่มีไอเดีย จึงสามารถเกิดขึ้นได้
ถ้าหันมามองประเทศไทย เราเรียนรู้อะไรได้จากตรงนี้ ...เพราะเมืองไทยก็นักก็อปปี้เหมือนกัน แต่ยังไงให้เจริญแบบเซินเจิ้น
1. โปรเจค ในมหาวิทยาลัยของนักศึกษา ควรทำต่อยอดให้เป็นธุรกิจจริงๆ อย่าง Google หรือ Facebook ก็ล้วนแล้วแต่เป็น โปรเจค ของนักศึกษาทั้งนั้น ...ดังนั้น นักศึกษาบ้านเราต้องดันโปรเจคให้เป็นธุรกิจจริงๆ
2. พยายามต่อยอดโปรเจค ที่เราคิด ให้สามารถแก้ปัญหา ให้คนให้ได้ ...ธุรกิจจะเริ่มขึ้นได้ ต้องมีการสร้างสินค้าและบริการที่แก้ปัญหาให้ผู้คน ...ค่อยๆ ตอบโจทย์นี้ให้ได้ ‘ถ้าเราแก้ปัญหาคนได้ตรงใจ เขาจะยอมจ่ายเงินซื้อสินค้าเรา’ - นี่แหละจุดเริ่มธุรกิจ มันไม่ได้เริ่มจากขายฝัน หานักลงทุน แต่มันเริ่มจากการสร้างสินค้าที่คนยอมจ่ายเงินต่างหาก
3. เมื่อแน่ใจว่า สินค้าเรามีตลาด (มีคนยอมจ่ายเงินซื้อ) ค่อยหานักลงทุน ...ปัญหาของคนส่วนใหญ่ที่บอกว่า หานักลงทุนไม่ได้ เพราะ สินค้าไม่ Work ...ถ้าสินค้ามีคนยอมจ่ายเงิน คุณหานักลงทุนไม่ยาก (มีเงินล้นเหลือ ที่พร้อมลง แต่คุณต้อง Prove ให้ได้ว่าสินค้ามีคนซื้อ มีตลาด)
4. ถ้ามีคนจำนวนมาก ทำสิ่งที่พูดมา มันจะเริ่มก่อตัวเป็น Infrastructure ที่สุดท้าย มันก็จะยิ่งง่าย ในการหาคน หาเงิน หาโอกาส
วันนี้บ้านเราก็ค่อยๆ เริ่ม ก็เอาใจช่วยครับ
แต่อยากแนะนำคนรุ่นใหม่ ว่า ‘อย่าไปแห่ตามกระแส การทำธุรกิจอย่าเอาแต่ขายฝัน ...ให้มุ่งสร้างสินค้าที่มีตลาด (คนยอมจ่าย) ....ถ้าทำได้ เดี๋ยวเราจะค่อยๆ ขยับเข้าไปถึงฝันในที่สุด’
#ภาววิทย์กลิ่นประทุม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น