‘คำนวณราคาหุ้นในอนาคต ทำอย่างไร’
ทำได้ด้วยหรือ ? ...แค่คำนวณราคา ตีมูลค่า ปัจจุบันยัง มึนตึ๊บ !!
‘ทำได้ครับ’ ...มันมีวิธีการ ซึ่งจริงๆ ไม่ได้ซับซ้อนอะไร ...มาอธิบายให้ฟัง
เอาแบบใช้จริงนะ ...เพราะ ถ้าเอาแบบวิชาการ มันเยอะเกิน ...พูดก็พูดเถอะ อะไรที่มันซับซ้อน มันดูเท่ห์เวลาหยิบมาพูด ดูมีความรู้ แต่เวลาใช้จริง มันใช้ไม่ได้อ่ะ !!
ที่ใช้จริง มันคำนวณราคาหุ้นในอนาคตได้ 2 แบบ
:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
1. ‘คำนวณจากการ ประมาณการกำไรของบริษัท’ ...หนึ่ง คือ ประมาณคร่าวๆ ว่า ‘กำไรปีหน้า’ จะอยู่ที่เท่าไหร่ จากนั้น ก็ประเมินว่า P/E ของบริษัทนี้ น่าจะเทรดกันอยู่กี่เท่า
ภาวะปกติ มันก็ เทรดกัน P/E ระหว่าง 10-60 เท่า
ภาวะวิกฤต มันก็ เทรดกัน P/E ระหว่าง 5-30 เท่า
เราก็คำนวณตรงๆ เลย ...สมมุติบริษัทกำไรหุ้นละ 2 บาท เทรดกันคร่าวๆ ที่ 20 เท่า ก็แปลว่า ราคาหุ้นตอนนี้เทรดกันที่ราคา 40 บาทต่อหุ้น
ถ้าปีหน้า เราประมาณว่า กำไรจะโตไปเป็น 3 บาท ...เราก็ประมาณการว่า ถ้าเทรดกันที่ P/E 20-30 เท่า ...ปีหน้า เราก็น่าจะเห็นราคาวิ่งอยู่ระหว่าง 60-90 บาท นั่นเอง
‘คำถาม คือ แล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่า ปีหน้า บริษัทมันจะกำไรต่อหุ้นกี่บาท ?’
‘นี่แหละ ความท้าทายของตลาดหุ้น’ เพราะ
1. ไม่มีใครรู้จริงๆ หรอกว่า ปีหน้า บริษัทจะกำไรเท่าไหร่ ...เอาตรงๆ เจ้าของยังไม่กล้าฟันธงเลย ...ไอ้ที่เจ้าของรู้ก่อน ก็แค่ช่วงปิดงบ ก่อนจะส่งข้อมูลให้ตลาด ไม่กี่เดือนแค่นั้นแหละ
อย่างวิกฤตโควิท ยิ่งประเมินยากเข้าไปอีก ...ปิดเมือง สรุปนานเท่าไหร่ กำไรหายเท่าไหร่ ...เดากันมันส์ล่ะ !!
2. ไม่มีใครรู้หรอกว่า จริงๆ ตลาด ในปีหน้าจะเทรดกันที่เท่าไหร่ ...ถ้าเงินมันฝืดมาก อาจเทรดกันต่ำ ...อย่างปีนี้ เราเห็นบางหุ้นเทรดกันที่ P/E ไม่ถึง 10 เท่าเยอะแยะ
——————————————
2. ‘คำนวณจากต้นทุนของเจ้าของ’ ...บางปี ธุรกิจอาจขาดทุน จนไม่มีกำไรเลย ...คราวนี้เราจะคำนวณราคาหุ้นจากกำไรต่อหุ้นไม่ได้ละ
ต้องเปลี่ยนมาคำนวณ จากต้นทุนเจ้าของแทน ...ดูที่ Book Value
ในตลาดปกติ หุ้นจะเทรดกันที่ 2-5 เท่า ของ Book
ในตลาดวิกฤต หุ้นจะเทรดกันที่ 1-3 เท่า ของ Book
แต่บางธุรกิจ อาจเทรดกันแพง เกินค่าเฉลี่ย ก็อาจเพราะ ‘นักลงทุนอยากซื้อ ก็ยอมซื้อแพงกันไปเรื่อยๆ’ แต่เวลาหุ้น มันเทรดกันแพง มันก็เหมือน ‘เผือกร้อน’ ใครถือคนสุดท้าย ก็ซวยสุดนั่นเองครับ
วิธีที่ 2 ก็คำนวณเหมือนแบบแรกนั่นแหละ คือ
1. ประเมินราคา Book Value ในปีหน้า ...’กำไร หัก เงินปันผล ที่เหลือ มันก็มาเพิ่มใน Book นั่นแหละ’
2. ประเมินว่า คนจะเทรดกันที่กี่เท่าของ Book
::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
ง่ายแค่นี้เองเหรอ ?
‘ก็ใช่’ ...การคำนวณมันไม่ได้ยาก ...ที่ยากคือ ‘มุมมอง ตัวเลข ที่จะประเมินเอามาใส่ต่างหากที่มันยาก’
‘แล้ว พวกที่ปั่นหุ้น เขาทำอย่างไร ?’
ก็นี่แหละครับ ...เขาก็เอา กำไร มาใส่ คุมในเรื่องของรายได้ ...จากนั้น เขาก็พยายามไปคุม การซื้อขาย ...กวาด Offer หมด ราคาก็ขึ้นแล้ว ...เงินมากหน่อย ซื้อทุกช่อง ราคาก็พุ่งแล้ว ‘ยิ่งเทรดกันน้อยๆ ราคายิ่งลากง่ายสุดๆ’
‘แล้ว อย่างนี้ เราก็โดนหลอกดิครับ ?’
...ก็ไม่ทุกตัว ...อย่างหุ้นตัวใหญ่ ปริมาณการเทรดเยอะๆ พวกนี้ ก็ปั่นยาก ...แต่หุ้นเล็กๆ ที่วันๆ เทรดกันไม่เยอะ ก็ปั่นง่ายกว่า ต้องระวัง
...ที่เล่ามา ไม่ได้จะขู่ให้กลัว แต่อยากจะชี้ให้เห็นภาพว่า เราต้องมีความรู้เพียงพอที่จะคุมความเสี่ยงของพอร์ตเราเองได้
(เราคุมตลาดไม่ได้ แต่เราคุมความเสี่ยงของพอร์ตเราได้)
อย่างผม ออมในหุ้น ผมยึดพื้นฐานเป็นหลัก ...กราฟ ก็เอามาดูอารมณ์ตลาด ...ส่วนเรื่องหุ้นปั่น เราคุมไม่ได้ ผมก็ใช้การกระจายความเสี่ยง คุมไม่ให้ซื้อหุ้นตัวไหนหนักเกินไป ...เพราะ ตลาดหุ้น ความมั่นใจมากเกินคือ หายนะ !!
แต่สุดท้าย พอออกแบบ ให้ออมในหุ้น แบบเหมาะสม ....ตลาดหุ้นก็ยังเป็นแหล่งออมเงินที่ผลตอบแทนสูงที่สุด แถมมีปันผล ที่เราสบายที่สุดอยู่ดีครับ
#ภาววิทย์กลิ่นประทุม
สนใจเปิดบัญชีหุ้น หรือ ออมหุ้น คลิ๊กที่นี่เลย
http://bls.tips/pawawitTeam
หรือ โทร 02-618-1111 บอกทีมงาน ว่า “เอาแบบออมหุ้นอัตโนมัติ ที่พี่แพ้ทแนะนำ”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น