6 ข้อ ต้องเข้าใจ กับ ความเสี่ยงที่คุ้มค่า
อะไรคือ ความเสี่ยงที่คุ้มค่า ? ...ก็มันอยู่ตรงข้ามกับ ‘ความเสี่ยงที่ไม่คุ้มค่า’
พูดแค่นี้ งง ตาย ...เรามาดูกันดีกว่าว่า ความเสี่ยงที่คุ้มค่า มันประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
1. ‘โอกาสได้สูงกว่า โอกาสเสีย’ ...อันนี้ทุกคนน่าจะเข้าใจอยู่แล้ว ...ถ้าเราโยนหัวก้อย มันก็ 50/50 ...อันนี้คือโอกาสได้กับโอกาสเสียพอๆกัน ไม่ค่อยคุ้ม ...ที่คุ้มคือ เราต้องเลือกฝั่งที่โอกาสได้มากกว่า ...ยกตัวอย่าง หุ้น ถ้าเป็นบริษัทที่ดี การถือหุ้นยาวๆ มันขึ้นมากกว่าลงอยู่แล้ว นี่ก็เป็นตัวอย่างง่ายๆ ...หรือ ที่ดิน ทำเลดี ถ้าเราซื้อถือยาวๆ มันก็มีโอกาสขึ้นมากกว่าลง
2. ‘วิธีการลงทุนที่ ชนะ ได้มากกว่าแพ้ เป็นเท่าตัว’ ...พูดง่ายๆ ถ้าชนะ ผมได้ 30 บาท ถ้าแพ้ เสีย 10 บาท อันนี้ก็เลือกว่า 3 ต่อ 1 ....หรือ อย่างออมในหุ้น ถ้าผมยอมเสีย 10,000 บาท ทุกครั้งที่ซื้อหุ้นดีถือยาว ...เวลามันขึ้นผมได้ 20,000 ขึ้นไป แบบนี้ก็เรียกว่า 2 ต่อ 1 (แต่เอาตรงๆ นะ ถ้าคุณจะออมหุ้นยาวๆ แล้วหวังแค่ 2 ต่อ 1 มันน้อยไป เพราะ ออมหุ้นบางทีใช้เวลาหลายๆ ปี ..ดังนั้น ก็ต้องเลือกโอกาสที่มีโอกาสขึ้นมากกว่านั้น อย่าง 3-5 เท่าขึ้นไป ...ใช่!! ตลาดปกติ ไม่ค่อยมี ต้องหาในเวลามีวิกฤตนั่นเอง)
3. ‘ซื้อในเวลาที่คนส่วนใหญ่ไม่อยากซื้อหรือไม่สนใจ ดีกว่าซื้อในเวลาที่คนสนใจ’ ...แล้วจะรู้ได้ไง ว่า คนส่วนใหญ่อยากซื้อ หรือ ไม่อยากซื้อตอนไหน ? ....เบื้องต้น ‘ความอยากของเรานั่นแหละ คือ ความรู้สึกของคนส่วนใหญ่’ ....เวลาที่ซื้อหุ้นแล้วกำไร ก็คือ ซื้อในเวลาที่ไม่มีข่าวดี เราไม่อยากซื้อ นั่นแหละ
4. ‘ซื้อตอนที่ยังไม่ค่อยมีใครกำไร’ ...ขยายความก็คือ ซื้อ ‘ต้นรอบ’ ....ยกตัวอย่างหุ้น มันก็มี ‘ต้นรอบ-กลางรอบ-ปลายรอบ’ ...เอาง่ายๆ เราเปิดกราฟหุ้น กราฟราคาก็จะเห็นแล้วว่า มันเริ่มขึ้นมาจากตรงไหน นั่นแหละ ต้นรอบ ...ถ้ามันยิ่งไกลจากจุดเริ่มขึ้น มันก็กลาง หรือ ปลายรอบนั่นเอง
5. ‘ยิ่งถือนาน ยิ่งต้องบริหารเงินให้ดี’ ...เอาตรงๆ นะ เงินที่ลงทุนยาว ควรใช้เงินเย็น ไม่ควรใช้เงินกู้ ...คิดง่ายๆ ถ้ากู้มาเล่น , เล่น Margin เพิ่ม Leverage เวลาได้มันกำไรเยอะ แต่อย่าลืมถ้าตลาดปรับฐานแรงๆ บางทีเราอาจหมดตัวก่อนจะรวย ...เริ่มเงินน้อยไม่เป็นไร ขอให้เป็น เงินกู ไม่ใช่เงินกู้
6. ‘อยากรวยหลายเด้ง มีบททดสอบเสมอ’ ...หลายเด้ง หลายเท่า ...ระหว่างทางที่ขึ้น มันมีจุดทดสอบก็คือ การย่อ การปรับฐาน ....โดยเฉพาะตลาดผันผวนแบบในปัจจุบัน เราอาจเห็นหุ้นหรือสินทรัพย์ที่เราซื้อ มีการย่อ ราคาลดลง 30-50% ระหว่างทางที่ขึ้น เป็นเรื่องปกติ
ก็ลองไปปรับใช้ดูครับ ในการบริหาร ‘ความเสี่ยงที่คุ้มค่า’ ของคุณ ...จัดไป
#ภาววิทย์กลิ่นประทุม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น