แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน

แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน
SE-ED Bestseller Series หนังสือ "แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน" โดย ผมเอง (ที่ SE-ED ทุกสาขาทั่วประเทศ!!)

แนะนำ Facebook ของผมครับ

แนะนำ Facebook ของผมครับ
คลิ๊กเข้ามาเป็นเพื่อนกันใน Facebook ครับ!!

วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2562

คนคิดช้า จะสำเร็จได้อย่างไร

‘คนช้า สำเร็จได้ไหม’

ในโลกที่แข่งกันด้วยความเร็ว ..มันมีที่ยืนให้คนช้าสำเร็จได้ไหม ?

เป็นคำถามที่น่าสนใจ เพราะ คนเรามี 2 แบบ ชัดๆ คือ หนึ่ง คนเร็ว พวก Active ..สอง คนช้า ..พวก Passive ...ถ้าโลกแข่งกันที่ความเร็ว มันดูเสมือนว่า คน Active บ้าพลังจะประสบความสำเร็จมากกว่า 

ที่เอาเรื่องนี้ขึ้นมาเล่า เพราะ ตัวผมเองเป็นคนแบบหลัง ...ชอบ Passive ตั้งรับมากกว่ารุก ...ไม่สังคม พูดน้อย จนหลายคนแซวว่า ‘ทำไมผมตรงข้ามกับเวลาขึ้นเวที ดูเป็นคนพูดเก่ง พูดเยอะ ?’

ผมตอบว่า ‘ก็นั่นได้ตังค์’ ...ฮ่า ฮ่า (แรงอ่ะ!!)

ล้อเล่น ..แต่จริงๆ มันก็คือ แม้ว่าเราจะพยายามแค่ไหน แต่สุดท้าย เราก็หนีไม่พ้นนิสัยพื้นฐานของเรา

มาดูกันว่า คนช้า จะหาที่ยืนอย่างไร

1. ‘ช้าแต่ไม่ได้โง่’ ...ผมเป็นคนคิดช้า แต่เพราะเราคิดเยอะ คิดรอบด้าน มันก็เลยดูเหมือนเราช้า 

2. ‘ฟังมากกว่าพูด’ ...หลายครั้งที่เราเห็นนักแสดง นักพูด ในชีวิตจริงเขากลับเป็นคนเงียบ และฟังมากกว่า ...เพราะจริงๆ นิสัยเขาเป็นแบบนั้น ...คนที่พูดตลอดส่วนใหญ่ น้ำเยอะ สาระน้อย ...ถ้าอยากเป็นนักพูด นักสื่อสาร มันเริ่มจาก ฟัง และ อ่าน ให้มาก

3. ‘พยายามใช้เงินแก้ปัญหาที่เงินแก้ได้’ ...ปัญหาส่วนใหญ่ในโลก แก้ได้ด้วยเงิน ...ให้ใช้เงินแก้ปัญหา เพราะ มันจะประหยัดเวลา ไม่วุ่นวาย ไม่ปวดหัว ...แต่ต้องเข้าใจด้วยว่า บางปัญหาห้ามใช้เงินเข้าแก้ เช่น ครอบครัว , ความสัมพันธ์ 

4. ‘ใช้เงินซื้อเวลาตัวเอง’ ...คนที่ชีวิตทุกข์ส่วนใหญ่ ทนทำงานที่ไม่ชอบเพื่อเงิน ...เอาตรงๆ นะ ถ้าเราวางแผนดีๆ เราสามารถเก็บเงิน เพื่อซื้อเวลาตัวเองคืนได้ ...นักลงทุนรู้เรื่องเหล่านี้ดี เพราะ เราสร้างพอร์ตการลงทุน ให้มันหาเงิน จ่ายปันผล มาแทนเงินเดือนเรานี่แหละ

5. ‘พยายามศึกษาเครื่องทุ่นแรง’ ...ทุกงานในโลก มันทำได้ง่ายขึ้น ผลผลิตมากขึ้น ใช้เวลาเราน้อยลง หากเราเรียนรู้ที่จะใช้เครื่องทุ่นแรง ....ความขยันมันเป็นประโยชน์เฉพาะช่วงเริ่มต้น หากใครต้องทำงานหนักตลอด แปลว่า เขาไม่ศึกษาที่จะใช้เครื่องทุ่นแรง ...ลดความขยันลงมา แล้วเอาเวลามาศึกษาเครื่องทุ่นแรงครับ

6. ‘หากต้องใส่แรงเพิ่ม แล้วผลลัพธ์น้อยลง ให้หยุด แล้วคิดตรงข้ามทันที’ ...นี่คือ กับดักของคนสู้ชีวิต ...บางครั้งยิ่งทำ งานก็หนัก แต่รายได้ กลับยิ่งลด ...แปลว่า ต้องหยุดตั้งสติ เพราะมันอาจหมายถึง เกมส์การแข่งขันมันเปลี่ยน 

...เช่น ออนไลน์และ social มันเปลี่ยนแปลงวิธีทำงานของหลายๆ ธุรกิจ จนบางครั้งอาจต้องทำตรงข้ามกับที่เคยทำถึงจะดี เช่น ยกตัวอย่างธุรกิจสื่อ แทนที่จะทุ่มสร้างเนื้อหา ..เอา Platform เปิด แล้ว ให้ผู้บริโภคสร้างเนื้อหาแทน ส่วนตัวเองผันตัวไปเป็นคุมสนามแข่งอาจจะรุ่งกว่า

7. ‘คุมความเสี่ยงแล้วลองทำสิ่งที่คิดว่าทำไม่ได้’ ..บางครั้งปัญหาใหญ่ที่สุดที่ขวางทางเจริญ ก็คือ ตัวเราเอง ...ถ้าใครเจอทางตันทางธุรกิจ คิดต่อไม่ได้ อาจต้อง ทดลองทำสิ่งที่ไม่คิดจะทำ โดยปิดความเสี่ยงก่อน แล้วลุยเลย ...คุณไม่รู้หรอกว่า บางครั้งสิ่งที่เราคิดว่าไม่ได้เรื่อง อาจเป็นประตูสู่ความสำเร็จก็ได้

ทุกวันนี้ผมลอง idea ธุรกิจมากมาย โดยวาง งบ แล้วทดลอง สิ่งที่เรายังไม่มั่นใจ เพราะ เรารู้ว่า ถ้าล้มเหลวแล้วเราคุมความเสี่ยงไว้เท่านี้แหละ ...ถึงไม่สำเร็จ แต่เราก็ได้เรียนรู้เพิ่ม ...ซึ่งบางครั้งมันกลายเป็นสิ่งที่ต่อยอดไปสู่โอกาสสุดยอดในครั้งต่อไป

8. ‘คน Passive มักมองโลกในแง่ดี’ ...ผมว่า ทุกอย่างอยู่ที่เราจะมอง ..แต่การมองที่เป็นประโยชน์ คือ หาข้อดี ให้มอง แม้เราผิดพลาด เพราะ อย่างน้อยเราก็ได้บทเรียน ได้ความรู้ที่สุดยอด แม้ว่าเราจะผิดพลาดก็ตามที

9. ‘พยายามเข้าใจเหตุผลของคนอื่น’ ...จริงๆ ถ้าเรารู้จักทุกคน เราอาจจะไม่กล้าเกลียดใคร ...บางครั้งเรารุมด่าประณามคนอื่นใน Social เพราะ เราไม่เข้าใจเหตุผลของเขา ...จริงๆ โลกนี้ ไม่มีใคร เกิดมาเลวหรอก ...มันมีความจำเป็นบางอย่างที่บังคับให้เขาทำเช่นนั้น ...การพยายามเข้าใจคนอื่น จะทำให้อยู่บนโลกนี้แบบมีความสุข เพราะ เรามองผ่านเลนส์ที่เรียกว่า ‘ความเมตตา’

10. ‘คนที่ Passive จะไม่ซื้อของเพื่อโชว์’ ...ถ้าเราไม่ต้องซื้อของเพื่อโชว์ เชื่อเถอะว่า เราจะมีเงินเหลือเก็บ ...การไม่เข้าสังคม นอกจากจะมีเวลาอยู่กับตัวเอง ยังมีชีวิตที่ประหยัดอีกด้วย

ในทุกข้อเสีย มันก็มีข้อดี ข้อคิด ...คนที่ช้า ถ้าเข้าใจเลือกเกมที่ตัวเองได้เปรียบ ก็สามารถหาที่ยืน และ ประสบความสำเร็จได้เช่นกันครับ


#ภาววิทย์กลิ่นประทุม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยมสัปดาห์ที่ผ่านมา

"จัดให้" บทความที่ได้รับความนิยมใน Blog แห่งนี้ครับ