แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน

แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน
SE-ED Bestseller Series หนังสือ "แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน" โดย ผมเอง (ที่ SE-ED ทุกสาขาทั่วประเทศ!!)

แนะนำ Facebook ของผมครับ

แนะนำ Facebook ของผมครับ
คลิ๊กเข้ามาเป็นเพื่อนกันใน Facebook ครับ!!

วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554

วาทะ Billionaire อินเดียผู้ให้กำเนิด Infosys นาย Murthy ตอนที่ 2 (จบ)



อะไรคือ Globalization (โลกาภิวัฒน์)

Globalization ก็คือ การที่เราสามารถหาต้นทุน จากแหล่งที่มีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำที่สุด ใช้ทรัพยากรบุคคลที่เยี่ยมยอดที่สุด โดยไม่มีข้อจำกัดว่า บุคคลากรนั้น จะอยู่ที่ใดก็ได้ในโลก และ สามารถขายสินค้า ไปที่ใดก็ได้ โดยไม่มีข้อจำกัด ในเรื่องของ พรมแดน และ ประเทศ ..โดยทั้งหมดต้องตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ ต้นทุนที่เกิดขึ้น จะต้องต่ำกว่าต้นทุน ณ ราคาตลาดนั้นๆโดยปกติ นั่นเอง

แล้วมันเกี่ยวอะไรกับเรา !!

ในบทความของ Theodore Levitt ว่าด้วยเรื่อง “The Globalization of Markets” ในนิตยสาร Harvard Business Review ชี้ประเด็นของ IT ที่จะย่อโลกให้เป็นหนึ่งเดียว ..ในบทความได้ชี้ประเด็น ที่ว่าบริษัท ต้องสามารถปรับตัวและมองโลก เสมือนตลาดเพียงตลาดเดียว …สิ่งที่แน่นอนในธุรกิจปัจจุบันคือ “Change” ไม่มีใครหนีพ้นการเปลี่ยนแปลง “ให้สังเกตุ บริษัทใหญ่ระดับ Fortune 500 ถูกโละทิ้งออกไปจากกระดานเกือบครึ่ง ทุกๆ 10 ปี …มันบ่งบอกให้เรารู้ว่า Change or Die!!”

การเปลี่ยนแปลงในด้าน Business Models

G7 ไม่ใช่ผู้นำในการขยายตัวของ GDP อีกต่อไป ..โลกจะขยายตัวจาก emerging economies อย่างเช่น จีน และ อินเดีย…กลบทแห่งการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ เปลี่ยนมุมมองของบริษัทในอุตสาหกรรมต่างๆ(ตั้งแต่ ภาคบริการ ไปจน ภาคการผลิตและ อุตสาหกรรม) ซึ่งหันมาให้ความสนใจกับ ตลาดเกิดใหม่อย่าง emerging market มากขึ้น

วัฏจักรชีวิตของสินค้า Product Life Cycle “มันสั้นลงเรื่อยๆ” …ภาพของการขายของ ล้าสมัย สู่ตลาด Emerging Market มันเป็นภาพที่หมดยุคไปแล้ว ..ปัจจุบันกลายเป็นการผลิตจากตลาดเกิดใหม่ แล้วย้อนกลับไปขายในตลาดประเทศพัฒนาแล้ว ..ประเทศเอเชียได้กลายมาเป็น ผู้ผลิตใน Supply Chain..ไม่เพียงแต่การผลิตเท่านั้น มันได้ครอบคลุมไปถึงในด้าน การบริการ และ Customer service เราก็ได้เพิ่มบทบาทอย่างเด่นชัด ตัวอย่าง ก็อย่างประเทศอินเดียที่กลายมาเป็น Back Office ของบริษัทต่างๆ ..นอกจากนี้ การเข้ามาตั้ง R&D ในเอเชีย ส่งผลให้เกิดงานวิจัยที่สามารถคิดในกรอบที่เหนือกว่า ในเรื่องของต้นทุนที่ ประเทศพัฒนาแล้ว ไม่เคยคาดคิดมาก่อน ดูอย่างรถยนต์ ที่สามารถผลิตในราคาที่ต่ำกว่า ที่ทั่วโลกจะสามารถจินตนาการได้

ในส่วนของธนาคารที่เข้าไป Focus ตลาดเอเชีย ได้โตในอัตราที่ดีกว่า ประเทศตะวันตก ..อย่าง Stanadrd Chartered Bank คาดว่าในปี 2010 รายได้ของ Private Banking จะมาจากอินเดียถึง 15%

“นับเป็นความท้าทาย ต่อสภาวะการแข่งขัน ที่เขย่ากลบท และแบบฉบับ ความสำเร็จ แบบเดิมๆ ชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ จริงๆ”

“ธุรกิจ เฉือนชนะ กันที่ข้อมูล”

Wal-mart เป็น Case Study ที่น่าสนใจ ของกิจการที่เน้นการเอาข้อมูล พฤติกรรมการซื้อของลูกค้ามาวิเคราะห์ และสนองตอบความต้องการ โดยที่ลูกค้าไม่จำเป็นต้องร้องขอ ..ระบบ POS ของ Wal-mart ได้ทำการเชื่อมโยง กับระบบการวิเคราะห์ข้อมูลแบบชนิด Real-time ซึ่งจุดนี้จะเชื่อมโยงไปกับระบบการสั้งซื้อและ Supply Chain รวมทั้งการ นำข้อมูลมาช่วยในเรื่องของการ บริหาร Inventory ที่เยี่ยมยอด “ใครคิดว่า Wal-mart เป็นบริษัทค้าปลีก ผมว่าคุณต้องคิดใหม่ … เพราะแท้จริงแล้ว Wal-mart คือบริษัท IT ทางด้านการค้าปลีกที่เยี่ยมยอดที่สุดในโลกต่างหาก”

ทั้งหมดมันเกี่ยวอะไรกับคุณ!!

แน่นอน ไม่มีใครปฏิเสธความสำคัญที่ IT กำลังเปลี่ยนบริบทในการแข่งขัน ในรูปแบบของ Do or Dies ..มันไม่จำเป็นหรอกว่า คุณจะ เป็นอุตสาหกรรม IT เพราะจากนี้ไป ระบบ IT และ Internet มันได้หล่อหลอมเป็นส่วนหนึ่งของ ต้นทุน / เป็นส่วนหนึ่งของการบริการ / เป็นส่วนหนึ่งของการขาย / เป็นส่วนหนึ่งของการตลาด … “มันคือทุกสิ่งที่ คุณหลีกเลี่ยงไม่ได้!!”

ความร่วมมือสร้าง ในยุค IT
Don Tapscott และ Anthony D. Williams กล่าวไว้ในหนังสือ Wikinomics ของเขาว่า สิ่งที่กำลังจะเปลี่ยนโลก คือ การร่วมมือกันของคนที่สามารถเข้าถึงข้อมูลนับเป็น พันล้านคน ที่จะเข้ามาช่วยกันสร้าง และเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม และการแข่งขันแบบเดิมๆ ไปอย่างชิ้นเชิง

วิธีการเปลี่ยนแปลงหลักๆ ประกอบไปด้วย 4 ปัจจัย ซึ่งก็คือ

การเปิดเผย (Openness) เช่น การร่วมมือกันผ่าน Open source Software อย่าง Wikipedia ที่คนนับล้านๆ เข้ามาสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ร่วมกัน หรือ อย่าง YouTube ที่ทุกคนทั่วโลก ต่างนำ VDO เข้ามา Post และแบ่งปัน เกิดเป็นสังคม ที่เปิดเผยความจริงในแง่ต่างๆมากที่สุดแห่งนึงของโลก

, การเชื่อมโยง (Peering) การเชื่อมโยงที่มากกว่า การเชื่อมต่อ Internet แต่มันเป็นการแบ่งปัน Bandwidth แบ่งปัน พลัง Computer รวมทั้งการแบ่งปันความรู้ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก

, การแบ่งปัน (Sharing) จะเป็นการเชื่อมโยงทางความรู้ ที่ Internet ได้กลายมาเป็นฐานข้อมูลที่สำคัญที่สุดในโลก ด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุด

และ การ Act Globally คุณต้องสร้างวิสัยทัศน์ ในระดับโลก ก่อนที่คุณจะ Obsolete หรือ ตกขอบโลกไป!!

ตัวอย่างของบริษัทอย่าง P&G ก็ได้เริ่มการทำธุรกิจ แบบสองทาง นั่นคือ การเปิดรับ Input ที่มาจากลูกค้า (ตัวอย่างที่น่าสนใจ ก็เช่น อุตสาหกรรมต่างๆ ที่มีความรู้ในเรื่องของ Social Network ได้อาศัยช่องทางเหล่านี้ ในการรวมกลุ่มผู้มีความสนใจในด้านต่างๆ โดยอาศัย Content เป็นหัวใจของการขับเคลื่อน ….ในอดีตเรามองว่าสื่อ คือ พลัง เพราะช่องทางในการติดต่อมีน้อย มีทีวี วิทยุ จำนวนจำกัด ดังนั้น อำนาจอยู่ที่การ Control สื่อ

…แต่ในยุคนี้ มันเปลี่ยนแบบ พลิกคั่ว เพราะอำนาจมันกลับมาสู่ เนื้อหา หรือ Content เพราะการเกิดของ Internet และ การพัฒนา Bandwidth และความรวดเร็วในการเชื่อมต่อ …ปัจจุบัน Channel ในการเข้าถึงลูกค้า มันมีอย่างไม่จำกัด ดังนั้น วิธีการเดียวที่คุณจะครอบครอง ช่องทางในการสื่อสารกับลูกค้า ก็คือ “มันไม่มี” …ยุคนี้ ลูกค้าเป็นผู้เลือก และนี่คือ กลบทการแข่งขันที่ จะทำให้องค์กรใหญ่ๆ ล้มหายตายจากไปอีกครึ่งโลก ในเวลาไม่ถึง 10 ปีข้างหน้า “มันช่างท้าทาย ความสามารถของผู้กำหนด ทิศทางขององค์กรอย่างแท้จริง”)

การคืนอำนาจสู่ผู้บริโภค

Tom Friedman ได้กล่าวในหนังสือขายดีของเขา The World is Flat ว่า การแข่งขันในยุคต่อไป มันผูกไว้กับ IT

รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับ การจัดหา Computer และรูปแบบการเชื่อมโยงในต้นทุนที่ต่ำ ..ตัวอย่างของรัฐบาล เช่น การสร้าง e-governance ที่สร้างความโปร่งใส ในระบบราชการ

ตัวอย่างของ Project ที่บ้านเกิดผมเอง เรียกว่า “Bhoomi” ซึ่งเป็นการสร้างความโปร่งใสของระบบ การถือครองที่ดิน ที่กระทบต่อชีวิตของชาวนา 6.7 ล้านชีวิต “มันทำให้ทุกอย่างโปร่งใสขึ้น” ซึ่งโครงการนี้ ได้ริเริ่มโดย World Bank ซึ่งสร้างผลงานช่วยเหลือคนอินเดีย ได้อย่างน่ายกย่องมาก

อย่างไรก็ตาม นี่เป็นตัวอย่างและแนวความคิด ในการนำ IT เข้า สร้างประโยชน์ในหลายๆด้าน ตั้งแต่ การแข่งขันในเชิงธุรกิจ ตลอดจน การนำ IT มาใช้ในการยกระดับคุณภาพชีวิต ด้วยการเข้าถึงข้อมูล และฐานความรู้ที่มากมาย ด้วยต้นทุนที่ต่ำ รวมทั้งการนำระบบ IT มาสร้างความโปร่งในระบบ ราชการและเอกชน “ผมเป็นคนนึงที่ชื่นชม และสนใจประเทศไทย” ซึ่งผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า แนวคิดต่างๆเหล่านนี้สามารถนำมาปฏิบัติ และ ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน และคุณภาพชีวิต โดยรวมของคนเอเชียได้อย่างทั่วถึง และยั่งยืน

นี่แหละคือการ Leverage IT การใช้ต้นทุนที่ต่ำที่สุด และก่อให้เกิด คุณประโยชน์ที่สูงที่สุดนั่นเอง ..

“ขอบคุณครับ”

จบการปาฐกถา...... "เก็บตกจบแล้วจ๊า!!"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยมสัปดาห์ที่ผ่านมา

"จัดให้" บทความที่ได้รับความนิยมใน Blog แห่งนี้ครับ