แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน

แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน
SE-ED Bestseller Series หนังสือ "แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน" โดย ผมเอง (ที่ SE-ED ทุกสาขาทั่วประเทศ!!)

แนะนำ Facebook ของผมครับ

แนะนำ Facebook ของผมครับ
คลิ๊กเข้ามาเป็นเพื่อนกันใน Facebook ครับ!!

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

วาทะ นายจิน ลี่ฉวิน “ผู้กุมชะตากองทุนจีน ที่อเมริกายังเกรงกลัว” (เท่ห์อ่ะ!!) ตอนที่ 1



บทความนี้เป็นการ สกัดวาทะของ นาย จิน ลี่ฉวิน (ผู้จัดการกองทุนระหว่างประเทศที่ใหญ่สุดขีด CIC) “คนผู้นี้อเมริกายังหนาว.. ธนาคารกรุงเทพเลยไปเชิญ นาย จิน มาเป็นองค์ปาฐก ในงานรำลึก คุณ ชิน โสภณพณิช ในปี 2553 นี้ ลองอ่านดู ผมเผอิญ อยู่ในทีมผู้จัดงานของ ดร.สาธิต (ที่ปรึกษาของท่านประธานธนาคารกรุงเทพ “คุณ ชาตรี”) เอาเป็นว่า เขาพูดภาษาอังกฤษ แต่ผมเลยแปลเป็นภาษาไทย “จัดให้!!” อาจจะงงๆ (เพราะนายจิน นี่พูดภาษายากว่ะ..หุ หุ) แต่มันแฝงคำคม และมุมมองที่ไม่ธรรมดาของ หนึ่งในผู้นำระดับสูงของจีน ที่น้อยครั้งจะมาเยือนประเทศ (เล็ก กระจิ๊ด!! อย่างไทย)

“มิติแห่งความก้าวหน้าของจีน กับความมุ่งมั่น แบ่งปันความมั่งคั่งสู่ประเทศในภาคพื้นเอเชีย”
โดย Mr.Jin Liqun (จิน ลี่ฉวิน)

(เกริ่นเกี่ยวกับ องค์ปาฐก “จิน ลี่ฉิน” ตำแหน่ง : Chairman of China Investment Corporation – “CIC “ ถือเป็นหนึ่งใน SWF (Sovereign wealth funds) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก “ดูอันดับความใหญ่ จากภาพที่แนบมา”



…ซึ่งความสำคัญของ SWF ก็คือกองทุนที่ประเทศต่างๆตั้งขึ้นมาเพื่อเข้าไปซื้อ Asset เพื่อมุ่งหวัง Capital Gain ในระยะยาว รวมทั้งการวางแผนที่จะ Acquire Strategic Asset ที่สำคัญต่อการเจริญโตอย่างยั่งยืน ของประเทศนั้นๆ เช่น การเข้าไป Secure แหล่งวัตถุดิบในการผลิต ทั้งนี้ เพื่อกระจายความเสี่ยงจากการถือครอง “กระดาษสีเขียวๆที่ ลดมูลค่าในอัตราเร่ง …US Dollar นั่นเอง”

-----ตัวอย่างของ SWF ที่สำคัญของโลกก็มาจากประเทศที่สามารถค้าขายได้เกินดุลและ สร้างเงินสะสมในรูปของ Exchange Reserve เช่น Middle east , จีน , สิงคโปร์ และประเทศต่างๆนั่นเอง)

.. “เป็นโชคดีของธนาคารกรุงเทพและลูกค้าของธนาคาร ที่จะได้ฟัง มุมมองและแนวคิดจากปากของ หนึ่งใน ผู้ที่มีอำนาจทางการเงิน “ของจริง” ซึ่งความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจโลกและเอเชีย ไม่ได้ด้อยไปกว่า นักการเงินคนใดในโลก ไม่ว่าเป็น Ben Bernanke, Alan Greenspan , จอร์ส โซรอส

..เรามาฟังมุมมองของ คุณ จินกันได้แล้ว ------ ณ บัดนี้”

ท่านผู้มีเกียรติ

“ผมมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติมาเป็น Speaker ในงานปาฐกถา “รำลึก คุณ ชิน โสภณพนิช” ในวันนี้ เรื่องมุมมองของ โอกาสและความท้าทายของเอเชียท่ามกลางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

งานปาฐกถานี้คือเป็นประเพณีปฏิบัติ เพื่อเป็นเกียรติต่อ (ธนราชันย์) “คุณ ชิน” ในการสืบทอดและ ชี้ประเด็น เรื่องราวสำคัญทางเศรษฐกิจ และ ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เรื่อยมานับเป็นเวลากว่าสิบปี โดยเวทีแห่งนี้ได้ นำผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่างๆ ที่ผลัดกันมาถ่ายทอดมุมมอง เรื่องราวและความเป็นไปของเศรษฐกิจทั้วโลก

--- “ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง!!”

…เช็กสเปียร์ กล่าวว่า “บางคนเกิดมาพร้อมกับความยิ่งใหญ่ , บางคนสร้างและบรรลุความยิ่งใหญ่ และบางคนมีความกระหายหิวต่อความยิ่งใหญ่” อย่างไรก็ตาม เราไม่ได้มีทั้งสามอย่าง แต่เรามุ่งมั่นที่จะสร้างความยิ่งใหญ่จากการทำงานหนักต่างหาก และนี่คือสิ่งที่ผมอยากจะมาแชร์ในวันนี้ครับ

เรื่องราวของความสำเร็จของจีนในวันนี้และก้าวต่อไปที่สำคัญ เริ่มมาจากมุมมอง และการวางรากฐาน ของการ ดำเนินนโยบาย อย่างมีแบบแผน โดยอาศัย แม่แบบและแนวคิด ที่เราจะมาเล่าให้ฟังในวันนี้ โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ ของการพัฒนา ดังนี้
ประการที่ 1 : “ก่อนอื่น เรามาย้อนดูเรื่องราวของ Financial Crisis และ การแก้ปัญหาทั้งในมุมมองต่างๆ”

ตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นมา วิกฤตเศรษฐกิจจะเกิดทุกๆ 2-3 ปี …ในช่วงปี 1990 – 2000 เราได้เห็นวิกฤตที่วนเวียนตั้งแต่ประเทศ เม็กซิโก , เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South east Asia) , รัสเซีย , อเมริกาใต้ และวิกฤตตุรกี …จะเห็นได้ว่าวิกฤตได้หมุนเวียนอยู่ แต่ในประเทศกำลังพัฒนา (Developing Countries) และ ตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) – “ทำให้ภาพหลอนของวิกฤต มันเป็นเสมือนตราบาป ที่เกิดวนเวียน อยู่ในประเทศด้อยพัฒนา และ กำลังพัฒนาเท่านั้น”

แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ “วิกฤต Subprime มันไม่ได้เกิดจากพวกเรา หากแต่มันก่อตัวจากอเมริกา (ประเทศที่ได้ชื่อว่า มหาอำนาจแห่งทุนนิยม) ข้อสังเกตที่น่าสนใจของวิกฤตครั้งนี้ มันกลับกระจาย และสร้างรัศมีทำลายล้าง ในวงกว้างไปทั่วโลก กระทบทั้งตลาดเงินไปจนตลาดทุน ตอนนี้จะเห็นได้ว่าวิกฤตดังกล่าว มันได้ลามไปสู่ยุโรป…และจุดนี้มันชี้ให้เห็นว่า ไม่มีใครสามารถรอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจ ตราบใดที่เรายังคงอยู่ภายใต้ระบบทุนนิยม

ก่อนที่เราจะเข้าสู่ยุคแห่ง “วิกฤตเศรษฐกิจ” โลกเราอยู่ในสถานะของ Win-Win “คือต่างคนต่างได้” ซึ่งความเสียหายคือมันได้ทำให้ทุกคนชะล่าใจ !!

วิกฤต Subprime กระหน่ำโลกโดยที่ไม่มีใครตั้งตัว..หลายคนกล่าวว่า วิกฤตคราวนี้ จะทำให้โลกเราไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ประเทศพัฒนาโดนกระหน่ำด้วยวิกฤต ที่ยากจะแก้ไข .. “การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่ไม่สามารถ แก้ปัญหาเรื่องคนตกงาน” “ปัญหาความขัดแย้งในเรื่องสันติภาพกับประเทศใน Middle East” “ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำของยุโรป และประเด็นหนี้ต่างประเทศเรื้อรังของอเมริกา”

แน่นอน ภาพทั้งหมด สื่อถึงความเสี่อมถอยของประเทศตะวันตก (การแก้ปัญหา มันคือการรื้อถอนรากฐานทางความคิด ในเชิงโครงสร้างและแนวคิดดั้งเดิม ที่มีต่อ การกีดกันทางการค้า ปัญหาในเชิงนโยบาย รวมทั้ง การส่งต่อปัญหา “อย่างเช่นอเมริกา ที่สร้างอุตสาหกรรมใหม่ ..นั่นคือ อุตสาหกรรมส่งออกเงินเฟ้อไปทั่วโลก”)

จากการคาดการณ์ของ IMF และ World Bank ..GDP ของประเทศ OECD จะขยายตัวประมาณ 2.8% ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาจะขยายตัวประมาณ 5% และ ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย จะขยายตัวมากถึง 8.7% ..ภาพที่เกิดขึ้น ก็คือการเปลี่ยนแปลงที่เคลื่อนย้ายความเจริญ จากโลกตะวันตกสู่โลกตะวันออก โดยเฉพาะเอเชียนั่นเอง

กำลังซื้อของประชากร (Purchasing Power Parity “PPP”) เทียบกับทั้งโลก ประเทศ OECD จะหดตัวลงจาก 60% ของโลก ในปี 2000 ไปเหลือ 51% ของโลกในปี 2011 และจะหดตัวไปถึง 43% ในปี 2030 และนี่คือ “The Rising of the East & Asia” นั่นเอง

จากเศรษฐกิจของประเทศในโลกตะวันออกที่แข็งแกร่งขึ้น จะเพิ่มบทบาททั้งในเชิงการเมืองและความสำคัญในด้านต่าง “เราจะเสียงดังขึ้น!!”

…จากการประชุม G20 ที่ Copenhagen เกี่ยวกับ Climate Change ที่ประเทศกำลังพัฒนาไม่ได้ถูกให้เข้าร่วมในเชิงสิ่งแวดล้อม กำลังจะเปลี่ยนบทบาทไป เพราะในอนาคตการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก กับประเทศกำลังพัฒนา มันเป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้!!

อย่างไรก็ตาม เราต้องไม่ลืมว่า พื้นฐานหลักของเอเชีย ยังพึ่งพึงอยู่กับอุตสาหกรรมยุคหิน (พึ่งพิงแรงงานราคาถูก และ สร้างมูลค่าเพิ่มในเชิงเศรษฐกิจน้อยมาก) ในอีกมุมหนึ่งมันก็เป็นโอกาสที่ประเทศในเอเชีย สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมจาก Low-end ไปเป็น High-End ที่สร้างมูลค่าเพิ่มจากนวัตกรรม และ Value Added industry ที่สร้างผลกำไร และการเติบโตอย่างมหาศาล

ย้อนดูปัญหาเศรษฐกิจ ผมมองว่า รากฐานของปัญหา มันก่อกำเนิดจาก Macroeconomic “นโยบายมหภาคที่ไร้การควบคุม” (จากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย เช่น ดอกเบี้ยสุดต่ำ ก่อ Bubble ในภาคอสังหา อย่างยาวนาน , นโยบายการคลังที่ขาดดุล รัฐบาลจ่ายเกินตัว , หนี้สาธารณะ , ระบบประกันสังคม Social Security แบบแซร์ลูกโซ่ ) --- ทุกนโยบายเหล่านี้ ล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดวิกฤตในครั้งนี้

ทฤษฎีที่มา ของนโยบาย เริ่มมาจาก “The Great Moderation Theory” ..จุดเริ่มต้น มันมาจากการวิจัยเศรษฐกิจในช่วง 1980 -1990 ที่ประเทศตะวันตกสามารถสร้างให้เศรษฐกิจ เติบโตในระดับสูง ในขณะนี้อัตราเงินเฟ้อต่ำมาก รวมทั้งลดความผันผวนของวิกฤตเศรษฐกิจ

(ถ้ามองในภาพรวมในช่วง 20 ปีที่ผ่าน วิกฤตเศรษฐกิจเกิดทั้งหมด 43 ครั้ง ในเวลาเพียงยี่สิบปี และเกิดวนไปเวียนมาในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศเกิดใหม่เท่านั้น) ..แต่ภัยเงิียบที่ก่อตัว มันทำให้ประเทศตะวันตก หลงระเริงกับการเติบโตของเศรษฐกิจลวงๆ ที่แฝงด้วยระเบิดเวลา ..จนในที่สุดในปี 2008 ระเบิดเวลาทางเศรษฐกิจของประเทศตะวันตก ก็ประทุพร้อมกัน --“และนี่เป็นสิ่งที่ชี้ให้เราเห็นว่า สิ่งที่เขาคิดว่าเยี่ยมยอด แท้จริงแล้ว มันมิได้เป็นเช่นนั้นเลย”

นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลอย่าง Paul Krugman ได้กล่าวในงาน Lecture ที่ London School of Economics ในเดือนมิถุนายนว่า “ภาพของ Macroecomonics ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา มันเป็นเศรษฐกิจดี ที่แฝงภัยเงียบ (ภัยที่ร้ายกว่าสิ่งที่มันลบภาพความดี อย่างไม่เหลือหลอ)” หรือ อย่างบรรณาธิการของ The Economist ได้กล่าวเกี่ยวกับ วิกฤตครั้งนี้ว่า “มันได้ลบความความดีทั้งหมดในช่วงที่เศรษฐกิจเฟื่องฟู ไปอย่างสิ้นเชิง”

จาก Report ของ UN 2008 “Trade and Development Report” ได้กล่าวถึงนโยบายของ Neo-liberalism (นโยบายมหภาคที่เป็นรากฐานของการเติบโต ตลอดช่วง 30 ปีที่ผ่านมาของโลกตะวันตก) มันเป็นนโยบายที่ผ่อนคลายให้หาเงินได้ง่าย แต่ไม่ได้นำไปใช้ในเชิงการผลิต หากแต่เงินเหล่านี้ ได้ไหลเข้าเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์ และการบริโภคที่เกินกว่าความสามารถในการหาได้ของประชากร ..ในขณะที่โลกตะวันตก ส่งเสริมการเก็งกำไรและการบริโภคแบบสุดโต่ง แต่ประเทศเอเชีย ก็ได้รัดเข็มขัด และพัฒนาอย่างระมัดระวัง สืบเนื่องมากจาก วิกฤตต้มยำกุ้งในปี 1997

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เอเชียโตอย่างระวัง และสร้างความแข็งแกร่งในเชิงโครงสร้าง ทั้งในภาครัฐ เช่น การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของเงิน Foreign Reserves และในส่วนของเอกชน ที่ค่อยๆขยายจากฐานของตัวเองอย่างระมัดระวัง

ตัวอย่างการขยายตัวในช่วงที่ผ่านมาของประเทศตะวันตก ที่สร้างจากการเก็งกำไร ก็เช่น ประเทศ Iceland ที่เงินทุนสามารถหาได้ง่ายและถูก มันเท่ากับเชื้อไฟอย่างที่ทำให้เศรษฐกิจของ Iceland เกิด Bubble และจบลงอย่างเละเทะ

ความเชื่อของโลกตะวันตกเกี่ยวกับ “Invisible Hand” ผมว่ามันเป็นความสุดโต่ง ที่ไม่สะท้อนความเป็นจริง เพราะกฏไกตลาดที่แท้จริง ที่ปล่อยให้ตลาดควบคุมตัวของมันเอง แทนที่จะเป็นการป้องกันความเสี่ยง มันกลับเป็นตัวเร่งให้เกิดวิกฤต

( อ่านต่อ ตอน 2 … “มันยาวจริงๆฮะ” )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยมสัปดาห์ที่ผ่านมา

"จัดให้" บทความที่ได้รับความนิยมใน Blog แห่งนี้ครับ