‘ทำไมหุ้น Super Stock จึงไม่ใช่หุ้นตัวเดิม’
หุ้น Super Stock ในตลาดหุ้นไทย คือ หุ้นที่สามารถขึ้นได้เกิน 10 เด้ง หรือ 1,000% ขึ้นไป ...พูดง่ายๆ ใครก็ตามที่ได้ซื้อแล้วทนถือหุ้นแบบนี้ในพอร์ต ต้องบอกว่า ชีวิตเปลี่ยน ...รวย !!
แต่โดยปกติ หุ้นจะขึ้นลง เป็น ‘รอบ’ ..แต่ละรอบ จะใช้เวลาประมาณ 10 ปี ขาขึ้นอาจจะ 7 -8 ปี ขาลงสัก 2 ปี ....จากจุดต่ำสุด ไปถึงจุดสูงสุด โดยเฉลี่ย ถ้าเป็นหุ้นใหญ่ ก็จะขึ้นได้สัก 3 เด้ง ..ถ้าเป็น หุ้นเล็ก จะขึ้นได้สัก 5 เด้ง
จากนั้นพอจบรอบ อย่างเช่นต้นปี 2020 หุ้นทุกตัวพอเจอวิกฤตใหญ่ ก็จะลงจากยอด ประมาณ 70% (ตัวเล็ก ก็มักจะลงลึกกว่านั้น)
ในส่วนหุ้น Super Stock มันจะขึ้นมากกว่า ‘รอบปกติ’ และ ก็ลงจบรอบ น้อยกว่าปกติ ...แต่หลังจากที่จบรอบ แล้วขึ้นมาใหม่ หุ้นตัวนั้นจะไม่กลายเป็น Super Stock แล้ว !!
ใช่!! พอตลาดเริ่มดีขึ้น หุ้นก็จะค่อยๆ กลับไปที่จุดสูงสุดเดิม ...แต่เราจะหวังให้หุ้นตัวเดิมนี้ ขึ้นไปแรงๆ แบบที่ผ่านมา มันแทบจะเป็นไปไม่ได้
มาดูกันว่า ทำไม
1. ‘หุ้นที่ทำให้คนอื่นรวยมหาศาลไปแล้ว จะไม่ทำให้เรารวย’ ...อันนี้เป็นความพลาดของนักลงทุนมือใหม่ ที่พยายามไปหาว่า เซียนหุ้นเขาเล่นหุ้นอะไร จะได้ซื้อตาม ...แต่ลืมไปว่า หุ้นที่ทำให้คนๆ นึงเป็นเซียนหุ้น ก็แปลว่า มันขึ้นแบบรุนแรงมาก่อนแล้ว ...พอเราซื้อมันก็อาจจะเป็นหุ้นที่ดีนะ แต่มันจะไม่ดีแบบเปลี่ยนชีวิตเรา
2. ‘หุ้นที่ขึ้นแบบ Super Stock แสดงว่า มันอยู่ในจุดที่ธุรกิจและผลกำไรก็เป็น Super Cycle เช่นกัน’ ...ยกตัวอย่าง ในอดีตหุ้นเดินเรือ ก็เคยเป็น Super Stock เพราะ ในช่วงเวลานั้น โลกเข้าสู่เศรษฐกิจขาขึ้นในรอบใหญ่ ประกอบกับ จำนวนเรือมันมีไม่พอกับความต้องการ ...ก็ทำให้หุ้นขึ้นแบบบ้าคลั่ง แต่หลังจากที่มันจบรอบ หุ้นนี้ก็ยากที่จะกลับมาเป็น Super Stock ได้อีก
3. ‘หุ้นที่เป็นแบบ Super Stock ต้องมีทั้งเจ้าของที่ไม่ขาย และ นักลงทุนรายใหญ่ที่กล้าถือ’ ...อย่างที่เรารู้ว่า หุ้นขึ้นลงตาม Demand/Supply หรือ แรงซื้อ แรงขาย ....หุ้นใดก็ตามที่หุ้นจะขึ้นแบบไม่ลืมหูลืมตา ต้องเป็นหุ้นที่ทั้งเจ้าของและรายใหญ่เชื่อมั่นแบบไม่ลืมหูลืมตาเช่นกัน ....อย่างในต่างประเทศเวลานี้ เราเห็นชัดๆ อย่าง หุ้น Amazon , Tesla , apple ก็กำลังอยู่ในภาวะแบบนี้ (แต่น่าจะอยู่ในช่วงปลายของรอบ Super Cycle แล้ว) ....วันใดก็ตาม ที่เจ้าของ และ รายใหญ่ เริ่มทำกำไร ขายจริงจัง ...หุ้นก็จะจบรอบ ลงแรงนั่นเอง
4. ‘ตลาดต้องมีสภาพคล่องที่สูง จึงจะมี Super Stock ได้’ ...อย่างที่เรารู้กันว่า หุ้นแบบ Super Stock จะมี P/E ที่สูงตลอดเวลา ปันผลก็ต่ำ ...ดังนั้น นักลงทุนแบบ VI มักจะไม่ค่อยชอบหุ้นแบบนี้ ...การที่จะมีเม็ดเงินมหาศาล เข้ามาซื้อหุ้นใหไปแพงสุดๆได้ ตลาดหุ้นต้องมีสภาพคล่องที่ล้น ...อย่างเช่น ช่วงปี 2008 ที่มีการทำ QE หรือ อย่างหลัง โควิด ที่ทุกประเทศพร้อมใจกันอัดสภาพคล่อง
5. ‘ต้องมีรายย่อยจำนวนมาก ที่เข้ามาซื้อหุ้นตัวนี้’ ...นอกจากเจ้าของ รายใหญ่ และ กองทุนแล้ว ...รายย่อย ก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้หุ้นตัวนึงกลายเป็น Super Stock ได้ ...เพราะรายใหญ่ มักซื้อตอนแพงให้ไปแพงอีก ...แต่รายย่อยจะมารับตอนที่ย่อ ...พอหุ้นหยุดปรับฐาน ...รายใหญ่ก็มารับไม้ต่อ ...พูดง่ายๆ ตบมือข้างเดียวไม่เคยดัง ....ต้องมีการสอดประสาน ทั้ง 2 ด้าน ...แพงก็ลาก ด้วยรายใหญ่ ..ถูกก็รับไม่ลง ด้วยรายย่อย ...ทำให้แม้ราคาหุ้นจะปรับฐานระหว่างทาง แต่ก็ทำ New High ขึ้นไปได้เรื่อยๆ
6. ‘รอบนี้ ต้องมองหุ้นตัวเล็ก’ ...แต่ละรอบ มันไม่เหมือนกัน ...ตลาดหุ้นแต่ละประเทศ ก็ต่างกัน ...ถ้ามามองในประเทศไทยหลังโควิด จะพบว่า เราไม่ได้มีหุ้นที่ไม่ได้รับผลกระทบอย่างหุ้น Tech Stock ในอเมริกา ...ธุรกิจส่วนใหญ่ในบ้านเรา ขึ้นลง ตามเศรษฐกิจโลก ...ก็อย่างที่เราต่างรู้ว่า รอบนี้เศรษฐกิจจริงๆ ยังไม่กลับมา ...ทำให้หุ้นตัวใหญ่ยากที่จะทำให้ยอดขายและกำไร เติบโตหลายๆ เท่าตัว อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายๆ ปีได้ ....เวลานี้หุ้นตัวเล็ก จึงมีเสน่ห์มากกว่า ต้องค้นหาธุรกิจเล็ก ที่จะสามารถสร้างทั้งยอดขาย และกำไร เติบโตต่อเนื่องหลายๆ ปีนั่นเอง
ใช่!! ไม่ง่ายเลย ...เพราะ หุ้นตัวเล็กผันผวนกว่า ตัวใหญ่ ....ดังนั้น การกระจายความเสี่ยง และ คุมความเสี่ยงของเราให้ดี จึงเป็นหัวใจในการเติบโตกับ Super Stock ในรอบนี้ครับ
#ภาววิทย์กลิ่นประทุม
ใครสนใจเรียนรู้เพิ่มเติมในการลงทุนในหุ้น ...แนะนำ ให้เข้ามาเรียนในโครงการ The Stock Master 9 ...สอนมือใหม่ ตั้งแต่ อ่านงบ เลือกหุ้น ..สอนกราฟ ดูจังหวะ ..สอนเครื่องมือ Trade Master ช่วยให้การซื้อขายหุ้นง่ายขึ้น
ค่าเรียน 999 บาท ตลอดโครงการ
เรียนออนไลน์ทั้งหมด พร้อมฝึกปฏิบัติ เป็นเวลา 1 เดือน (สามารถดูย้อนหลังได้ตลอด)
สนใจสมัครหรืออ่านรายละเอียดหลักสูตรนี้เพิ่มเติม คลิกที่ www.bualuang.co.th/thestockmaster
รับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึง 12 สิงหาคมนี้เท่านั้น
มาเรียนรู้ด้วยกันนะครับ ..จัดไป !!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น