"สัปดาห์นี้เราพา The Stock Master ทั้ง 28 ชีวิต มาเปลี่ยนบรรยากาศที่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย" ...วันนี้เราเปิดให้บุคคลทั่วไปมาเป็นสักขีพยาน ในการอบรม
เนื้อหา จัดหนักสัปดาห์นี้ของ The Stock Master เราพุ่งไปที่ 2 ประเด็น คือ หนึ่ง Asset Allocation และ สอง Portfolio Management
"ต่างกันยังไงฟระ!! ...เป็นคำถามที่โดน ยิงขึ้นมา" -- ต่างครับ ต่างมากมาย ...ดังนี้ จ๊า!!
Asset Allocation เป็นเรื่องของการ จัดสรรค์วางเงินของเราในภาพใหญ่ ว่า "เงินทั้งเนื้อทั้งตัวที่เรามี ควรจะวางอยู่ที่ใด" ...ในอดีต สมัยโบราณ เงินฝากให้ดอกเบี้ยสูง ..เราก็ไม่ต้องคิดมากว่าจะวางเงินไว้ที่ไหน -- ก็ออมไว้ในเงินฝาก ก็จบประเด็น ...แต่ปัจจุบัน มันไม่ง่ายอย่างนั้น เมื่อเงินเฟ้อและ ค่าครองชีพจี้ตูด ..และตลาดการเงินพัฒนาไป เรื่องของความาเข้าใจใน "การออม" ต้อง Advance ขึ้น ... คือ จะมาหวังว่า จะได้เงินฝากสูงๆ แบบในอดีต คงต้องไปหาใน ประเทศด้อยพัฒนา ที่เงินเฟ้อสูงๆ แต่ปัญหาก็คือ เราอาจจะได้ดอกเบี้ยสูงจริง แต่สุดท้ายเงินอาจจะหายไปเลย ..จริงป่ะ!!
"การออม ต้องเปลี่ยนไป" ...ใช่!! หากต้องการเก็บเงินแล้วรวยขึ้น ไม่ใช่ยิ่งเก็บยิ่งจน ... เรื่องนี้น่ากลัวมาก จริงๆ
เอาล่ะ Asset Allocation หรือ การ "วางเงินให้เพิ่มมูลค่า" ต้องเริ่มจากความเข้าใจก่อนว่า Asset น่ะมีอะไรบ้าง
"คุณรู้ไหม วันนี้เราคุยเรื่อง Asset ..บางคนยังพูดถึง รถยนต์ หรือ กระเป๋า Louis Vuitton อยู่เลย ...ไม่ใช่นะ!! -- Asset คือ สิ่งที่ถือครองแล้วมูลค่าของมันต้องเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา ...สิ่งที่เราต้องคำนึงมากขึ้นคือ วันนี้ผมเริ่มลำบากใจที่จะจัดว่า "เงินฝาก" เป็น Asset เพราะ มันแพ้เงินเฟ้อกระจุยกระจาย ..."
มีผู้เข้าสัมมนา ยกมือขึ้นถาม "คุณแพ้ทบอกมาเลยดีกว่า ว่า แล้วคุณแพ้ทเองน่ะ วางเงินยังไง ...ไม่ใช่มานั่งพูดๆ ทฤษฎี ..เอาของจริงมาเล่าเลยว่า -- คุณเองน่ะ วางเงินยังไง!!"
โอ๊ว!! พี่ครับ ...ถามยังงี้ -- ก็ถูกใจผม ..."ได้เลย ถามมาจัดไป" -- โอเค เริ่มจากผมเองก่อน ตัวผม อายุไม่เยอะ ...ผมรับความเสี่ยงสูง ...และ ต้องการสร้างความมั่งคั่งเป็นเป้าหมายหลัก ...ดังนั้น อย่างกรณีผม ผมเลือก 2 Asset เท่านั้น คือ "หุ้น" กับ "ตราสารหนี้ Money Market Fund" (ยกตัวอย่าง Money Market Fund ที่ผมใช้ ก็อย่าง กองทุน ธนทวี ...ผมวางเงินในธนทวี แทนบัญชีเงินฝาก เพราะ หนึ่ง ความเสี่ยงพอๆ กับเงินฝาก และ สอง มันให้ผลตอบแทนดีกว่าเงินฝาก และไม่เสียภาษี ...แปลว่า ทัพหน้าของเงินผม ผม "จัดเต็ม" กับหุ้น ...ส่วนทัพหลัง ผมก็วางในที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าเงินฝาก ...ข้อเสียของกองทุนอย่าง ธนทวี คือ T+1 แปลว่า สภาพคล่องมันช้ากว่าเงินฝาก 1 วัน ...แค่นั้นเอง!! -- แต่ในมุมของผม มันโอเค เพราะหุ้น ผมจ่ายเงิน T+3 ดังนั้น ผมสามารถโยกเงิน ระหว่าง หุ้น กับ ธนทวี ..ได้อย่างสบาย "เรียกได้ว่า ทัพหน้า และ ทัพหลัง พร้อม!!") ....ครับ!! อันนี้เป็นตัวอย่าง ของคนอย่างผม ที่เอาความได้เปรียบของการมีความรู้ในเรื่องของ Asset ต่างๆ ก็สามารถสร้างผลตอบแทนได้เพิ่มโดยที่ความเสี่ยงเท่าเดิม
เอาล่ะ..แล้วคนทั่วไป ที่อาจจะรับความเสี่ยงได้น้อยกว่าผม จะแบ่งเงินใน Asset อย่างไร
"เป็นคำถามที่ดีครับ" ..แต่คุณรู้ไหมว่า คนที่จะตอบได้ดีที่สุด ไม่ใช่ ที่ปรึกษาทางการเงิน แต่เป็น "คุณเอง" ต้องเข้าใจว่า คุณเข้าใจ Asset ไหนๆ ได้ดี ...เพราะ ขอฟันธง เลยว่า Asset ที่แตกต่างกัน มันต่างกันที่ความผันผวน ...เท่านั้นเอง ...ส่วนความเสี่ยง "เราเอง" คือ ผู้กำหนด
คุณรู้ไหมว่า "คนอย่างผม ที่หลายคนมองว่า โคตรเสี่ยง เพราะ เงินทั้งหมดอยู่ใน "หุ้น" กับ "Money Market Fund" ...จริงๆ ไม่ได้เสี่ยงกว่าคนทั่วไป" ...เพราะผมเข้าใจ และ จำกัดความเสี่ยงในการลงทุนของผมอย่างชัดเจน
ผมว่าคำถามที่เราต้องตอบ คือ "ถ้าพรุ่งนี้ตลาด Crash แบบปี 2008 หรือ 1997 ...Port ของคุณจะโอเคหรือไม่ ...ถ้าคุณตอบว่าไม่โอเค ...ผมบอกเลยว่า ตอนนี้คุณวาง Asset Allocation ได้ไม่ดีพอ.. คำถามต่อไป ถ้าพรุ่งนี้ตลาดจะวิ่งไป Boom สุดๆ ..คุณจะรวยขึ้นหรือไม่ ...ถ้าคุณตอบว่าไม่ ...ก็แปลว่า ตอนนี้คุณวางเงินไม่โอเคเช่นกัน"
ถูกต้อง!! การวาง Asset Allocation ไม่ใช่ว่าคุณต้องวางใน ทอง/หุ้น/เงินฝาก/น้ำมัน/ตราสารหนี้/หุ้นกู้/Property Fund เท่าไหร่ ...แต่ การตอบโจทย์ของการบริหารความมั่งคั่งที่ถูกต้อง คุณต้องตอบคำถาม ให้ได้ว่า ถ้าตลาดไม่เป็นอย่างที่คุณคิด คุณจะต้องโอเค ...นั่นแหละ ถึงจะเป็น การวางเงินที่ถูกต้อง!!
โอ๊ว!! โคตรยาก!!
ถูกครับ ...โคตรยาก ...เพราะ ถ้าง่าย ทุกคนคงรวยกันทั้งประเทศแล้วจริงไหม ....กลับมาที่ตัวผม การที่ผมสามารถจะโอเค ไม่ว่า ตลาดหรือเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร ก็เพราะ ผมแบ่งการบริหารเงินออกเป็น 2 ส่วน คือ "ระยะสั้น" และ "ระยะยาว" ...ใน "ระยะยาว" ผมวางเงินให้ทำงาน Money work for me ในหุ้นปันผล ที่ผมจะซื้อเมื่อราคามัน โอเคเท่านั้น ตรงนี้ผมเอา Fundamental เข้ามาดู เช่น ถ้าผมเจอหุ้นปันผล 10% สม่ำเสมอ และ P/E , P/BV ต่ำ ...ผมไม่สนเลยว่า ตลาดจะมองอย่างไร เพราะ หุ้นแบบนี้ผมโหลดเข้า Port ระยะยาว แล้วถือเฉยๆ ไม่ต้องขาย ..ผมจะได้ปันผลสูงทุกปี (ห่วยสุด 10 ปี ผมก็ได้เงินต้นคืน) ..ดังนั้น ความเสี่ยงผมคือ "ความเข้าใจ และ ความเย็นของเงิน" -- ถูกต้อง ผมแค่ใช้หลักคิดของการ โยกเงิน จากเงินฝากประจำ มาฝากในหุ้นแทน ..."เห็นไหมครับ ว่า วันนี้คนส่วนใหญ่พูดเรื่องการออม เขาจะมองแต่ การฝากเงินธนาคาร ..แต่ผม ออมในหุ้นพื้นฐานและปันผลสูง ในเวลาที่ดี ...นี่คือ ความแตกต่าง ที่วางเงินเฉยๆ แต่ให้ผลตอบแทนต่างกันมหาศาล" -- ความต่างก็คือ "ความเข้าใจนั่นเอง"
"ระยะสั้น" ผมแบ่งเงินประมาณ 30% มา Trade ...อันนี้เป็นเรื่องของการ Work For Money ...หลายคน งง ว่า ...ทำไมต้องมี "ระยะสั้น" ...ตรงนี้เนื่องจากเมื่อผมศึกษาหาความรู้การลงทุนมากขึ้น ผมก็เข้าใจเรื่องการใช้ Technical Analysis มาช่วยในการ Trade & Leverage -- ซึ่งจุดนี้ ผมใช้เงินเพียง 30% ของเงินที่มี ผมก็สามารถ Leverage ความเสี่ยงได้ Cover ทั้ง Port ...แปลว่า ในวิกฤต "รุนแรง" ผมก็ไม่จำเป็นต้องขายหุ้นใน Port "ระยะยาว" เพราะ ใน Port ระยะสั้น สามารถสร้างผลตอบแทนในขาลง ที่ครอบคลุมความเสี่ยงทั้งหมดได้แล้ว (ยกตัวอย่างผม Trade TFEX ที่สามารถ Leverage ได้มากถึง 20 เท่าของเงินวาง ...แต่ผมเองไม่เคย Leverage เกิน 2 เท่าของความเสี่ยงเลย ...นี่เป็นเรื่อง ที่หลายคนสงสัยเช่นกัน) ...
"ทำไมผมถึง ไม่ Leverage สูง" (เพราะผม เข้าใจว่า เราทุกคนผิดพลาดได้นั่นเอง) ..คุณรู้ไหมที่ Lehman Brother องค์กรที่ตุนยอดมนุษย์ ที่จบ Harvard ไว้มากมาย ..ที่เขา เจ๊ง ก็เพราะ Leverage สูงเกือบ 30 เท่า -- และ นั่นคือ "กับดักของคนเก่ง" ...เพราะ เขาคิดว่า เราสามารถอุดช่องโหว่ ในทุกความเสี่ยง และ ความผันผวน ...แต่ในความเป็นจริง ..โลก มันสอนให้เรารู้ว่า ...ไม่ว่าคุณจะเก่งเท่าไหร่ ก็ตาม คุณจะต้องเผื่อ Room of ERROR !! ไว้เสมอ
ท่องไปเลยครับ ...เราต้องเผื่อ ช่องว่างสำหรับ ความผิดพลาด และ ความโง่ของเราเอง -- ผมเองท่องเรื่องนี้ขึ้นใจ เพราะ ชีวิตผมในครั้งนึง เคยผ่านความล้มเหลวแบบนั้นมาแล้ว ..และผมสาบานกลับตัวเองว่า ผมจะต้อง เผื่อช่องว่างให้กับตัวเอง สำหรับการล้มเหลว เพื่อที่ว่า "การผิดพลาดของผม" จะสามารถลุกขึ้นมาได้ใหม่เสมอ
ยกตัวอย่างของ TFEX หากใครเริ่มเล่น ผมขอแนะนำเป็นการส่วนตัวเลยว่า ให้วางเงินอย่างน้อย 50% ของมูลค่าสัญญา ...ยกตัวอย่าง ตอนนี้ตลาด 800 จุด ก็เทียบเท่ามูลค่าสัญญาประมาณ 800,000 บาท ..."มือใหม่ ไม่ควรวางเงินน้อยกว่า 400,000 บาท" ดังนั้น ถ้าคุณมีเงิน 1 ล้าน -- คุณไม่ควรเล่น TFEX มากกว่า 2 สัญญา ในเบื้องต้น ... "ครับ!! หลายคน อาจ งง ว่า ทำไมผม เผื่อความเสี่ยงไว้สูง ...แต่เชื่อผมเถอะ ...ผมหวังดี ...แล้วเมื่อเจอเหตุการณ์จริง คุณจะเข้าใจครับ" ...แต่พอคุณเก่งและชำนาญแล้ว ผมเชื่อว่า คุณจะสามารถวางเงิน และ Control Leverage ของคุณได้อย่างถูกต้อง
ฮึม!! อย่าเพิ่งท้อ ...หลายคนอ่านมาถึงจุดนี้ อาจจะเริ่มท้อว่า ทำไมการลงทุนมันซับซ้อนและน่าปวดหัวขนาดนี้ ...แต่ผมขอบอกตรงๆ นะ มันโคตรท้าทายเลย ...ผมเคยคิดว่าผมเก่งในโลกของธุรกิจ และ การตลาด ...แต่พอมาศึกษาโลกการเงิน ผมพบว่า มันมีเรื่องที่มากมาย ที่ผมต้องศึกษา ...เป็นที่มาของการเดินทางศึกษาหาความรู้ในทุกวันของผม ...และ รู้มาก็ถ่ายทอดไป ...ยิ่งให้ ก็ยิ่งได้ -- วันนี้ผมรู้เท่านี้แหละ ...เรื่อง Asset อื่นๆ ผมก็พอรู้บ้าง ...ใครถามมาก็พอจะแนะนำได้ ..เอาไว้เดี๋ยวจะเอา Asset อื่นๆ มาเล่าให้ฟังถึงข้อดี ข้อเสี่ยในบทความต่อๆไป ... แต่สิ่งสำคัญ ที่ผมอยากจะย้ำอีกครั้งคือ "ความเสี่ยง ไม่ได้อยู่ที่ Asset (มันผันผวนแตกต่างกันเท่านั้น)"
-- ความเสี่ยงจริงๆ อยู่ที่ "ตัวเรา ผู้บริหารความเสี่ยงต่างหาก ...ยิ่งเข้าใจความผันผวนของแต่ละ Asset แล้วจัดการความเสี่ยงได้ ก็แปลว่า เข้าใจความเสี่ยง!!" (ฝากไปคิดกันครับเพื่อนๆ นักลงทุน)
เป็นหัวข้อที่น่าสนใจมากเลยครับพี่แพท
ตอบลบ