แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน

แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน
SE-ED Bestseller Series หนังสือ "แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน" โดย ผมเอง (ที่ SE-ED ทุกสาขาทั่วประเทศ!!)

แนะนำ Facebook ของผมครับ

แนะนำ Facebook ของผมครับ
คลิ๊กเข้ามาเป็นเพื่อนกันใน Facebook ครับ!!

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

ความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับ Trader


The Stock Master พาคู่หู "Friend & Business Partner ของผม" -- ป๋าหยง ..มาแก้ผ้า ...ฮึม!! คือ แก้ผ้า ทางความคิด ว่า การเป็น Trader หรือ บางคนอาจจะเรียกว่า การเป็น Hedge Fund มันเท่ห์อย่างนั้น อย่างนี้ ...จริงๆ แล้ว มันไม่มีอะไรเท่ห์ แต่มันเป็น อาชีพหนึ่งที่ทำงานเพื่อเงิน และ มุ่งมั่นที่จะเดินทาง ในแนวที่ตัวเองถนัด แล้วเดินทางไปสู่เป้าหมายของชีวิต และ การเงินที่หวังไว้ ก็เท่านั้นเอง

โอเค ผมมีเรื่องจะแชร์ให้ฟัง ...

ตัวผมเองขอแชร์ในเรื่องนี้ ในฐานะที่ผมคนนึงในปัจจุบัน ก็แบ่งเงิน 30% ของตัวเอง มาเป็น Trader เหมือนกัน ... ประเด็นคือ คนส่วนใหญ่ นึกว่าการเป็น Trader คือ การรวยเร็วๆ หาเงินง่าย แล้วก็ “ชิว”

ไม่ใช่เลยครับ ...จริงๆ แล้ว การเป็น Trader มันคือ การทำงานประเภทหนึ่ง ...ก็ทำงานเพื่อเงิน หรือ Work for Money นั่นแหละ ...สิ่งสำคัญที่สุดของการเป็น Trader ที่จะประสบความสำเร็จ และ อยู่รอดได้ในระยะยาว ก็คือ “รู้จัก Control Risk (คือ การรู้จักจำกัดความเสี่ยงเป็น)

แปลว่าอะไร ...ก็แปลว่า คนส่วนใหญ่ที่หวังเข้ามากินส่วนต่าง ทำกำไรระยะสั้น ...คุณกำลังสู้กับ Trader เหล่านี้อยู่ ...

จริงๆ แล้ว การหาเงินในแบบ Trader ผมยอมรับว่า ได้เงินเร็วโคตรๆ และ ก็ไม่เสียภาษี ...อันนี้เท่าที่ทราบมีตลาดหลักทรัพย์ แค่ไม่กี่ประเทศในโลก ที่ไม่เสียภาษีจาก Capital Gain ..และหนึ่งในนั้นก็คือ ประเทศไทย -- ผมกำลังจะเปิดใจบอกคุณว่า ประเทศไทยคือ สวรรค์ของ Trader แต่ปัญหาคือ อะไรรู้ไหมครับ

ปัญหาก็คือ Success Rate ของ Trader มันแย่กว่า นักลงทุนปกติอีก ...ที่ผมเล่าว่านักลงทุนปกติ 80/10 คือ 80% เจ๊ง อีก 20% รวย ...ส่วน Trader มัน 95/5 คือ 95% เจ๊ง อีก 5% มหาโคตร..ร ..รวย!! -- ใช่ !! สัดส่วนเหมือนไม่สมดุลย์เท่าไหร่ ถ้ามองให้ดี ผมว่า อาชีพ Trader มันเป็นกระจกสะท้อน ระบบทุนนิยม ที่เราอาศัยอยู่นี่แหละ ที่ The Winner Take All !!

ผมไม่รู้ว่า แต่ละคนถูกสอนมาอย่างไร แต่ผมขอแชร์ในฐานะที่ผม ก็เป็นคนนึง ที่รักษาตัวรอดในฐานะ Trader ได้ และคิดว่า สิ่งที่ผมทำ มันโอเค ...ผมมีหลักอย่างนี้

หนึ่ง ทุกครั้งที่ผมเข้า Trade ผมต้อง จำกัดความเสี่ยง ...ดังนั้น ผมจะรู้แน่นอนว่า โอกาสเสียหายสูงสุดในแต่ละครั้งที่เข้าซื้อขาย มันคือ เท่าไหร่ ..จุดนี้แปลง่ายๆ ว่า ผมไม่มีทางเจ๊ง เพราะ ผมเป็นคนกำหนดจุดที่ผมเสียหายเอง ไม่ใช่ให้ตลาดกำหนด ...คิดดีๆ นะครับ Trader ส่วนใหญ่ ที่เล่นแล้วลุ้น เล่นสวนตลาด ..คุณกำลังให้ตลาดกำหนดความเสี่ยงของคุณ ซึ่งบ้า!! ...จะบอกว่า สิ่งที่เราควรให้ตลาดกำหนดคือ ผลตอบแทน ไม่ใช่ ความเสี่ยง ...ถ้าให้ตลาดกำหนดความเสี่ยงก็แปลว่า คุณพร้อมจะเสียไม่จำกัดในขาลง ซึ่งย้อนดูสถิติตลาดเลยว่า การลงแบบไม่มีขีดจำกัดของตลาดมัน โหดเพียงใด ...ในทางกลับกัน การให้ตลาดกำหนดผลตอบแทน มันแจ๋วโคตรๆ เพราะ ถ้าคุณย้อนกลับไปดูสถิติย้อนหลังของตลาด เวลาขาขึ้น ก็ขึ้นแบบบ้าคลั้ง เรียกว่ารวยกันเละ --- แล้วถามจริงๆ เถอะ ถ้ารู้แบบนี้ อะไรสำคัญที่สุด ...ก็ถูกต้อง!! Limit Loss -- ถ้าทำได้ คุณจะอยู่รอดได้ในระยะยาว ...แม้ว่าระยะสั้น คุณอาจจะรวยช้า กว่าพวกบ้าๆ ก็ตาม แต่ท้ายที่สุด ระยะยาว จะเห็นผล!!

สอง ผมทำการบ้านเยอะ ..ผมเชื่อในหลักของ อิทธิบาท 4 ข้อ วิมังสา คือ คนที่จะประสบความสำเร็จ ผมเชื่อว่า ไม่มีฟลุ๊ค ไม่มีเทวดาลงมาแล้วประทานดาบเทพให้คุณ Trade เก่งกว่าคนอื่น ...แต่ สิ่งที่เรามีได้ คือ ความพยายาม และ การทำงานหนัก เพื่อศึกษาในสิ่งที่เราทำให้ทะลุ รู้ให้จริง รู้ให้ลึกซึ้ง (ซึ่งในที่นี้เราพูดถึง ศาสตร์ของ Technical นั่นเอง) ...ดังนั้น Trader ที่ดี ต้องทำการบ้านเยอะ เพื่อศึกษา แล้ว พัฒนาตัวเอง ให้เรามี Winning Ratio หรือ โอกาสในการชนะที่สูง ทุกครั้งที่ออกรบ!! ...บอกตรงๆ ผมเอง ไม่เคยจะแคร์ว่าแต่ละครั้งผมจะได้ผลตอบแทนเท่าไหร่ (ผลตอบในแต่ละรอบของการเข้า Trade ผมให้ตลาดเป็นผู้กำหนด ส่วนผม ผมกำหนดความเสี่ยง และ Limit Loss แค่นั้นแหละ) ...สิ่งที่ผมแคร์มากที่สุด คือ ผมต้องชนะให้มากที่สุด แต่การชนะแต่ละครั้งจะเล็กจะใหญ่ ก็ไม่เป็นไร ..ก็ Keep Wining มันไปเรื่อยๆ เหมือน น้ำซึมบ่อทราย

...ดังนั้น Performance การ Trade ของผมจะมี Wining Ratio ที่สูง มีความเสี่ยงที่ต่ำ แต่แน่นอน ผมย่อมมี Risk to Reward Ratio ที่ไม่สูง ...คือ พูดง่ายๆ ว่า ผมอาจจะกินคำเล็กกว่าคนอื่น แต่สิ่งที่ผมได้ คือ Port ที่โต แบบ Steady Growth ค่อยๆ โตช้าๆ แต่โตไปเรื่อยๆ และ ที่อยากจะแชร์คือ ใครก็ตามที่สร้าง Port แบบนี้ จะมีการ Draw Down ที่ต่ำ ..นั่นแปลว่า ไม่ว่าวิกฤต หรือ ตลาดหุ้นจะซวยแค่ไหน การลงของ Port ก็จะน้อยมากๆ หรือ แทบไม่มีเลย

ที่ผมเล่ามา ก็อยากจะบอกว่า Trader ใน Style ที่ผมแชร์ มันควรจะเรียกว่า Hedge Fund มากกว่า เพราะ ผม Hedge ทุกความเสี่ยง และ ไม่เคยเล่นสวน Trend ของตลาด ...แต่ก็อยากจะแชร์อีกว่าไอ้ Hedge Fund ที่เสี่ยงโคตรๆ อยู่ทั่วโลก มันมีอยู่หลายวิธี แล้วก็เห็นมัน แย่งกัน เจ๊ง ..ผมว่า หลักการง่ายๆ มันต้องย้อนกลับมาที่ Mindset และ “แก่น” ของเจ้าของ Fund ว่า คุณใช้วิธีอย่างไรในการลงทุน ...ถ้าคุณตอบผมได้ ว่า ความเสี่ยงคุณจำกัด และ ผลตอบแทนคุณไม่จำกัด -- ผมว่า นั่นแหละ เป็นวิธีคิดของ Trader ที่ประสบความสำเร็จ

ฟันธงครับ!!

6 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณคะ^^สำหรับความรู้ดีๆและคำแนะนำที่มีประโยชน์ต่างๆ นำมาแชร์ให้เสมอ ชื่นชมพี่ๆมากคะ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ27 กันยายน 2555 เวลา 13:14

    จะหาหนังสือเกี่ยวกับ technical ได้ที่ไหนบ้างครับ
    เช่น กำลัง แท่งเทียน ลักษณะ อะไรพวกนี้

    หนังสือภาษาอังกฤษก็ได้ครับ

    ผมอ่าน monkeytrade blog และ pawawit blog ผมรู้สึกว่ามันจะต้องมีอะไรมากกว่านี้เยอะมากครับ

    พอจะแนะนำหน่อยได้ไหมครับ

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณมากเลยครับ ป๋าแพท

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ30 กันยายน 2555 เวลา 09:14

    ชอบอ่านหนังสือที่คุณแพทเขียนมากเลยค่ะได้ความคิดดีๆภาษาโดนสุดๆเท่มากเลยค่ะตอนนี้พยามศึกษาตามแนวทางที่สอนอยู่คร้าคิดว่าคงจะเก่งสักเสี้ยวของคุณแพทก็คงดี หุหุ(คุณแพทใช้บ่อยมาก). ขอบคุณสำหรับความคิดที่ดีสุดๆค่ะ

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ3 ตุลาคม 2555 เวลา 15:45

    เฮดจ์ฟันด์ (HF) คืออะไร?
    เฮดจ์ฟันด์ Hedge Fund (HF) คือ กองทุนประเภทหนึ่ง ที่มีจุดมุ่งหมายในการบริหารเพื่อให้ได้ผลตอบแทนหรือกำไรให้มากที่สุด โดยใช้เครื่องมือทางการเงินที่หลากหลายและซับซ้อน เช่น ตราสารอนุพันธ์ต่างๆ (ตัวอย่างเช่น Options Futures หรือ Forward) การทำ Short Sell การทำ Arbitrage หรือแม้แต่การกู้ยืมเงินมาเพื่อลงทุนเพื่อเพิ่มผลตอบแทน

    เฮดจ์ฟันด์กับกองทุนรวม ทั่วไปมีความคล้ายคลึงกันในแง่ที่เป็นการรวบรวมเงินที่ได้จากผู้ลงทุนมาลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทน แต่ข้อแตกต่างที่สำคัญของเฮดจ์ฟันด์กับกองทุนรวมทั่วไป คือ จุดมุ่งหมายในการแสวงหาผลตอบแทน

    ทั้งนี้กองทุนรวมทั่วไปมีเป้าหมายในการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าดัชนีเปรียบเทียบ (Benchmark) ตัวอย่างเช่น กองทุนรวมตราสารทุนในไทยมีเป้าหมายที่จะทำผลตอบแทนให้ดีกว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวคือ ถ้าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนเป็นบวก กองทุนที่มีการบริหารเงินลงทุนที่ดีและมีประสิทธิภาพย่อมต้องได้ผลตอบแทนที่เป็นบวกมากกว่า

    ถ้าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนติดลบและกองทุนติดลบน้อยกว่าก็ถือว่ากองทุนสามารถบริหารจัดการเงินลงทุนได้ดีกว่า ในขณะที่กองทุนประเภทเฮดจ์ฟันด์ไม่สนใจ Benchmark แต่สนใจที่ตัวกำไร หรือผลตอบแทนที่เป็นบวกเท่านั้น (Positive Absolute Returns) ดังนั้นถ้ากองทุนให้ผลตอบแทนติดลบก็จะถือว่าบริหารกองทุนล้มเหลว

    การลงทุนในเฮดจ์ฟันด์มีความเสี่ยงมากกว่าการลงทุนในกองทุนรวมทั่วไปที่เสนอขายต่อประชาชนรายย่อย เนื่องจาก ไม่ต้องดำรงสัดส่วนการลงทุนตามประกาศของหน่วยงานที่ควบคุม เช่น สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่มักคุ้มครองผู้ลงทุนรายย่อย โดยกำหนดให้มีการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน และกำหนดประเภทหลักทรัพย์ที่จะลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ

    ดังนั้น เฮดจ์ฟันด์ส่วนใหญ่จึงจำกัดผู้ลงทุนไว้ที่นักลงทุนสถาบัน (Institutional Investors) หรือนักลงทุนที่เป็นบุคคลฐานะดีและมีความเข้าใจในการลงทุนประเภทนี้อย่างเพียงพอ (Sophisticated and Wealthy Investors) และสามารถรับความเสี่ยงสูงได้ ส่วนใหญ่แล้วจำนวนผู้ลงทุนในกองทุนเฮดจ์ฟันด์หนึ่งๆ จะมีอยู่ไม่เกิน 100 รายเท่านั้น

    เฮดจ์ฟันด์เริ่มมีการพัฒนาและมีบทบาทอย่างมากในตลาดการเงินการลงทุนของโลก ตั้งแต่ช่วงปีทศวรรษที่ 90 โดยจำนวนกองทุนเพิ่มขึ้นจาก 1,373 กองทุนในปี 1988 มาเป็น 7,000 กองทุน ในปลายปี 2001 มีจำนวนเงินภายใต้การบริหารเพิ่มจาก 42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐมาเป็น 600 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลจาก Van Hedge Fund Advisors International)

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ3 ตุลาคม 2555 เวลา 15:46

    พระ ไม่เท่ากับวัด
    trader ก็ไม่เท่ากับ Hedgefund

    ตอบลบ

บทความที่ได้รับความนิยมสัปดาห์ที่ผ่านมา

"จัดให้" บทความที่ได้รับความนิยมใน Blog แห่งนี้ครับ