'เวลามีวิกฤตเศรษฐกิจต้องล้างพอร์ตหรือไม่'
เวลาเกิดวิกฤต ถ้าครั้งใหญ่ๆ เช่นปี 1997 หรืออย่างปี 2008 นั่นเรียกว่าตลาดลง เกินครึ่ง ..'ถ้าตลาดลง 50% ย่อมหมายถึงหุ้นรายตัวอาจลงถึง 70%'
พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ถ้าตลาดมีวิกฤตรอบใหญ่ พอร์ตของนักลงทุนรายย่อยน่าจะลงอย่างน้อย 50-70% ...ซึ่งแน่นอน มันรวมถึงพอร์ตรายใหญ่ หรือ เจ้าของหุ้นอย่าง คุณทองมา , ตระกูลจิราธิวัฒน์ , เจ้าสัวต่างๆ ก็ต้องพอร์ตลดตามตลาดที่ลง
คำถามที่ข้องใจ ?
1. ทำไมทุกครั้งที่ตลาดเกิดวิกฤตใหญ่ๆ คนรวยถึงรวยขึ้น (เทียบปี 2008 ถึงปัจจุบัน คนทั่วไปไม่ได้รวยขึ้นเท่าไหร่ แต่คนรวย รวยขึ้นแบบก้าวกระโดด)
2. พวกรายใหญ่เขาขายหุ้นทันไหมเวลาเกิดวิกฤต
3. เอาตรงๆ เขารับมือกับวิกฤตอย่างไร ?
คำตอบคือ 'ส่วนใหญ่ไม่มีใครขายทัน ซึ่งไม่แปลกที่พอร์ตหุ้นของทั้งรายใหญ่และรายย่อยย่อมลงเละไม่ต่างกัน'
แต่ทำไม พอผ่านวิกฤต รายย่อยยังคงซวย แต่หุ้นของรายใหญ่เริ่มขึ้น ...ก็เพราะ รายย่อยติดหุ้นปั่น แต่รายใหญ่เขาติดหุ้นพื้นฐานและโดยมากมักมีปันผลแถมด้วย
ก็เทียบเหมือนคนนึง ถือทอง อีกคน ถือขยะ ..สุดท้ายทองก็คือทอง มีมูลค่า และในที่สุดก็จะมีมูลค่า ...พวกขยะหรือหุ้นปั่น พอจบรอบ ก็ขยะดีๆนี่เอง
คำตอบสุดท้าย 'ในวิกฤตเศรษฐีเขาทำอะไร' ..ครับ 'เขาลงทุนเพิ่ม ซื้อเพิ่มครับ ..'
คนส่วนใหญ่มักบอกไม่มีเงินเวลาตลาดวิกฤต
จริงๆ มันแค่ข้ออ้าง ..ที่ไม่มีคือ ความรู้และความมั่นใจในการลงทุนแค่นั้นเอง
..การสร้างธุรกิจและการลงทุนมีจุดร่วมที่เดียวกันคือ ความรู้และความมั่นใจ เพราะเมื่อเรามั่นใจในสิ่งที่ทำมากพอ เราจะมีวิธีในการหาเงินมาเอง
'ถ้าเรารู้สึกอึดอัดเวลาซื้อ มันจะสบายเวลาถือครับ' ..เคล็ดลับ ..555
ลองศึกษากันดู
#ภาววิทย์กลิ่นประทุม #ออมในหุ้น #TheStockBlueprint
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น