'งานเราคือของขวัญแด่ผู้คน'
นั่นคือเคล็ดลับของความร่ำรวย คือ ทำงานของเราให้เป็นของขวัญแด่ผู้คน
จะสังเกตว่าคนส่วนใหญ่ 'ทำงานแบบขอไปที ขอให้เสร็จสักที จะได้รีบไปเที่ยวให้รางวัลชีวิต ..งานคือ กรรม ..งาน คือ ความทุกข์ความกดดัน และความทรมาน' ..เออ!! ถ้าใครมองงานที่ทำอยู่แบบนี้ ผมแนะนำให้รีบเปลี่ยนงาน เพราะมันการันตีความไร้อนาคตแน่นอน
ผมมาศึกษาประวัติของคนที่ประสบความสำเร็จโดยส่วนใหญ่ เขาชอบทำงานมากกว่าการพักผ่อน มองงานเป็นเรื่องสนุก ...ก็ไม่น่าแปลกอยู่แล้วที่คนเหล่านี้จะรวยกว่าคนทั่วไป เพราะ เขาสนุกกับการหาเงิน ไม่เหมือนคนส่วนใหญ่ที่ความสนุกผูกกับการใช้เงิน
หลักของการทำงานให้เป็นของขวัญ มีดังนี้
1. สร้างสินค้าและบริการที่เราอยากใช้ แต่มันยังไม่มี หรือ มันยังไม่ดี ...เราต้องทำสินค้าหรือบริการนี้เป็นสิ่งที่เราเองอยากใช้ (ใช้สิ่งที่เราขาย ถ้าเราเองยังไม่ใช้ ใครจะซื้อฟระ!!)
2. ลูกค้าไม่รู้ว่าเขาต้องการ ก็เหมือนที่ Steve Jobs สร้าง iPhone คือ ไม่ต้องไปถามหรอกว่าลูกค้าต้องการอะไร เพราะถ้าเขารู้ มันมีคนทำไปแล้ว ไม่ใช่เรา
3. ใส่ใจรายละเอียด ..ของ Brandname กับตัวก๊อบ ดูเผินๆ ไม่ต่างกัน แต่ต่างที่การใส่ใจในรายละเอียด นั่นแหละ คำว่า 'คุณภาพ' ..โรงแรมห้าดาว ไม่ได้วัดที่สร้างใหญ่แค่ไหน แต่วัดที่การใส่ใจรายละเอียด นั่นคือคุณภาพบริการ
4. ลูกค้าดีใจเมื่อได้ใช้สินค้าของเรา ...ถ้าลูกค้าไม่รู้สึกขอบคุณเราเมื่อได้ซื้อสินค้า แปลว่า ของขวัญยังไม่ดีพอ ...ทำให้มันถึงใจ !!
5. ลูกค้าอยากบอกต่อ หรือ อยากให้เพื่อนได้ใช้บ้าง
งานที่สร้างสินค้าและบริการที่เข้าข่าย 5 ข้อนี้ เป็นงานที่ คนทำมีความสุข ทำแล้วภูมิใจ
...ต่างจากงานในโรงงานนรกมากๆ ที่ร้านค้ากดราคาโรงงาน โรงงานก็ใช้แรงงานเด็ก กดค่าแรง ส่วนลูกค้าซื้อแล้วก็ทิ้งๆ กว้างๆ พวกเทรนด์ Fast Retailer ที่กำลังฮิตนั่นเอง
'เพื่อให้ได้ของห่วยๆ ที่ซื้อแล้วทิ้ง ก็ต้องจ้างแรงงานถูกๆ ..ตกลง ห่วงโซ่นี้ ส่งผลโดยตรงแก่ผู้บริโภค ซึ่งเป็นทั้งคนบริโภค และก็คือแรงงานด้วย'
ทางแก้ คือ แก้ที่ตัวเรา
1. มองการบริโภคที่ยั่งยืน อย่าซื้อของแล้วทิ้ง ให้ซื้อของดีที่เราใช้จริง 'น้อยชิ้นแต่มีคุณภาพ'
2. ใส่ใจคุณภาพและรายละเอียดในงานที่ตัวเองทำ ..ตรงนี้จะยกระดับรายได้ของเราให้สูงขึ้น
3. การันตีคุณภาพด้วยชื่อของเรา นี่คือการสร้าง Brand นั่นเอง ..การสร้าง Brand คือ สิ่งที่จะพาเราออกจากวัฏจักรของราคาต่ำ สามารถสร้าง Value Added เพิ่มมูลค่าในงานที่ทำ 'ใช้แรงน้อยลง แต่ใส่ใจมากขึ้น'
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น