ช่วงนี้มีคนพูดถึง เรื่องค่าเงินของ เวเนซุเอลาเยอะ ...หลายคนแปลกใจว่า ทำไมอยู่ดีๆ เงินเฟ้อก็พุ่งสูง จนควบคุมไม่ได้ ? ...ทำไมล่ะ ?
- คนรวยกลายเป็นคนจน เพราะ ข้าวของ สินค้าจำเป็น ราคาเพิ่มขึ้นจนน่าตกใจ
- วันนี้คนเวเนซุเอลา พากันอพยพ หนีออกจากประเทศกันแล้ว
น่าแปลกใจไหมที่ประเทศ ที่มี น้ำมัน เยอะที่สุด ในอเมริกาใต้ ...วันนี้ก็ยังมีน้ำมันเยอะอยู่ (ไม่ใช่น้ำมันหมดนะ) ...แต่อยู่ดีๆ ล้มละลายกันทั้งประเทศ
เรามาดูสาเหตุกัน
1. ค่าเงินพัง ...อันนี้จริงๆ เป็นปลายเหตุ ...เนื่องจาก ‘เงิน’ จริงๆ ก็คือ สินค้าชนิดนึง ที่ซื้อขายกันระหว่างประเทศ ...ตัวกำหนด ค่าเงิน ก็คือ Demand (ความต้องการเงิน) และ Supply (ปริมาณเงินที่มีอยู่)
ประเทศที่มีวินัยการเงินที่ดี ก็จะบริหาร ปริมาณเงินกับความต้องการได้สมดุลย์ ...แต่อย่าง เวเนซุเอลา ...รัฐบาลไม่ได้รักษานโยบายการคลังที่ดี มีการพิมพ์เงินเพิ่มอย่างไร้วินัย ...ผลก็คือ ต่างชาติที่ค้าขายด้วย ก็ไม่เชื่อถือ ไม่อยากได้เงินของ เวเนซุเอลา ...พอทุกคนไม่อยากถือเงิน เวเนซุเอลา ค่าเงินก็อ่อน
2. น้ำมันราคาลง ...เดิมทีน้ำมันราคาแพง ...รัฐบาลได้เงินต่างประเทศ มาจากการขายน้ำมัน ...พอเกิดวิกฤตราคาน้ำมัน ประเทศเวเนซุเอลาก็เริ่มขาดเงิน ไม่มีเงินต่างชาติมาใช้บริหารประเทศ ...(ที่ต้องใช้เงินต่างชาติบริหารประเทศ เพราะ การผลิตในประเทศไม่มีประสิทธิภาพ จึงต้องซื้อสินค้าและนำเข้าจำนวนมาก) ...พอเงินเริ่มฝืด การจ้างงานก็ลดลง ...ที่หนักกว่านั้น ธุรกิจส่วนใหญ่ในประเทศ (ก็เป็นของรัฐบาล) พอขาดเงินบริหาร ก็เกิดปัญหา ขาดเงินเป็นลูกโซ่ ...ผลก็คือ การผลิตสินค้า ตั้งแต่น้ำมัน จนสินค้าอุปโภค บริโภค ก็เริ่มขาดแคลน
3. รัฐบาลเน้นนโยบายประชานิยม ...นโยบายประชานิยม หลักๆ ก็คือ การแจกเกิดให้ประชาชนในรูปแบบต่างๆ ....จริงๆ ประชานิยม ก็มีข้อดี คือ คนจนได้การช่วยเหลือจากรัฐบาล แต่ปัญหาจะเกิด เมื่อทำประชานิยมมากเกินไป ....อย่างเวเนซุเอลา รัฐบาลเป็น กึ่งๆ เผด็จการ ...มีการยึดบริษัทมาจากคนรวย เช่น เอาสัมปทานน้ำมัน มาเป็นของรัฐบาล
เหมือนจะดีนะ ...ยึดจากคนรวย มาแจกคนจน ...แต่เวลาปฏิบัติจริง เราก็รู้ว่า เวลารัฐบาลทำอะไร จะมีปัญหา 2 อย่าง คือ หนึ่ง บริหารไม่มีประสิทธิภาพแล้วขาดทุน สอง มีการรั่วไหลเยอะ ....สิ่งที่เวเนซุเอลาทำ ส่งผลให้ เศรษฐกิจทั้งระบบ อ่อนแอ
คนเก่ง และคนรวยที่มีทางเลือก ก็ออกนอกประเทศ ไปทำธุรกิจที่อื่น เหลือแต่ คนที่อยากพึ่งความช่วยเหลือจากรัฐบาล ....เศรษฐกิจจึงค่อยๆ อ่อนแอ แล้วก็ขาดทุน ลามไปทุกธุรกิจ
(นึกภาพ ว่า ทุกบริษัท ในประเทศ เป็นของรัฐบาล ...ทุกคนก็จะไม่แข่งกัน ความสามารถในการแข่งขันก็จะลดลง ทุกธุรกิจจะไม่เน้นกำไร แต่เน้นเส้นสาย ขี้เกียจ แล้ว คอรัปชั่นก็จะยิ่งเยอะ แล้วสุดท้ายขาดทุนกันทุกธุรกิจ)
4. สินค้าอุปโภคบริโภคขาดแคลน ...พอมีปัญหาเรื่องเงินเฟ้อ เริ่มต้นก็คือ สินค้าเริ่มขาดตลาด ...แต่คนมีเงิน เพราะ รัฐบาลพิมพ์เงินแจก ...ส่วนของอุปโภค บริโภค ไม่มี ...คนที่อยากได้ ต้องจ่ายในราคาสูง แอบซื้อในตลาดมืด หรือ ต้องใช้เงินสกุลอื่นซื้อ (เพราะไม่มีใคร อยากจะถือเงินสกุลของเวเนซุเอลา ..ทุกคนก็อยากจะทิ้งเงินตัวเอง แล้วแลกเงินต่างชาติ) ....สุดท้าย พอไม่มีใครอยากได้เงินเวเนซุเอลา เงินก็เริ่มไร้ค่า ...ค่าเงินที่อ่อนค่าก็ยิ่งอ่อน ไปเรื่อยๆ
จะเห็นได้ว่า วิกฤตของเวเนซุเอลา มันคือ นโยบายการบริหารประเทศที่ผิดพลาด อย่างต่อเนื่อง
คำถามคือ แล้วมีวิธีแก้ไขไหม ?
1. ในระดับบุคคล ...ใครมีเงินต่างชาติ เช่น ถือเงินดอลลาร์ หรือ ถือทองคำ ก็ไม่จนลง (หลายๆ ประเทศ ตอนนี้ก็เริ่มเกิดภาวะแบบเวเนซุเอลา แต่ไม่รุนแรงเท่า อย่าง เพื่อนบ้านเรา เวียดนาม ก็เคยเจอปัญหาแบบเดียวกันนี้ ...คนเวียดนามเลย นิยม ดอลลาร์ และ ทองคำ ไง)
2. ในระดับประเทศ ...อันนี้ไม่ง่าย ต้องสร้างเสถียรภาพทางการเงินให้ได้ก่อน ...ประเทศไทย ก็เคยประสบปัญหาเหมือนเวเนซุเอลา ในปี 1997 เพียงแต่ เราแก้ปัญหาได้ทัน ไม่ปล่อยให้ลามเป็นเงินเฟ้อสุดโต่ง (Hyper-inflation) แบบเวเนซุเอลา ....ในเวลานั้น จากกู้เงินต่างประเทศ จาก IMF มาช่วย ...แล้วขายทรัพย์สิน ให้ต่างชาติมาถือ แล้วก็ค่อยๆ เพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมส่งออก
- จนวันนี้รายได้หลักของเรากว่า 60% คือ การส่งออก ผลิตของขายต่างชาติ ได้เงินมากกว่านำเข้า แล้วเก็บเป็นเงินสำรอง เงินตรา ..ไทยเรามีเงินสำรอง เทียบกับ GDP อันดับต้นๆ ของโลก
- เรามีรายได้จากการท่องเที่ยว เป็นอันดับต้นๆ ของโลก (ปีล่าสุด เรามีรายได้การท่องเที่ยว $50 Billion ถือเป็นอันดับ 3 ของโลก เป็นรองแค่ อเมริกา และ สเปนเท่านั้น) ....ทั้งการค้า และ การท่องเที่ยว ช่วยกันทำให้ต่างชาติ มีความต้องการเงินบาท ทั้งเพื่อการค้า และ การลงทุน
เดี๋ยว !! ...ที่เล่าเรื่องนี้ให้ฟัง ไม่ได้จะให้หลงระเริงว่าประเทศไทยดี แต่อยากให้เห็นว่า ความจริงคืออะไร ...วันนี้เราดี เพราะเราเกิดวิกฤตรุนแรงมาตอนปี 1997 ...ทำให้วันนี้เรามีภูมิคุ้มกัน
แต่ต้องไม่ลืมตัว และเหลิง เพราะ เศรษฐกิจและการค้า รวมทั้งการท่องเที่ยว เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไว ....ถ้าไม่ระวัง วันนึงเราอาจเกิดวิกฤตขึ้นมาอีกครั้งก็เป็นได้
จุดที่ควรระวัง และ ควรที่จะเริ่มจากตัวเรา ไปจนถึง คนบริหารประเทศ ก็คือ
1. ‘ต้องมีรายรับ มากกว่า รายจ่ายเสมอ’
2. ‘ถ้าสร้างหนี้ ต้องแน่ใจว่า เป็นการสร้างหนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้ในอนาคต’
3. ‘ถ้าต้องการความมั่งคั่ง ต้องใส่ใจในการเพิ่มผลผลิต’
4. ‘การเพิ่มผลผลิตที่ดี คือ การใช้เทคโนโลยี และ ความรู้ ที่เพิ่มขึ้น เข้ามาลดต้นทุน แล้วเพิ่มผลผลิต’ (ใส่ใจการพัฒนาคุณภาพ)
5. ‘ต้องมีความรู้ในการลงทุน แล้วลงทุนในสินทรัพย์ ทุกครั้งที่มีโอกาส’
#ภาววิทย์กลิ่นประทุม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น